คัดสารพัดกลยุทธ์ลงทุน จับตาค่าเงินเหวี่ยง - Forbes Thailand

คัดสารพัดกลยุทธ์ลงทุน จับตาค่าเงินเหวี่ยง

FORBES THAILAND / ADMIN
27 Jul 2015 | 06:13 PM
READ 3681
เรียบเรียง: สีตลา กนกศิลป์ ภาพ: AFP


เมื่อวงจรกิจกรรมทางเศรษฐกิจและทรัพย์สินทางการเงินที่เกิดขึ้นจากการที่ราคาน้ำมันตกลงอย่างมาก ในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งการที่รัฐบาลทั่วโลกยกเว้นสหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจะเห็นว่าราคาน้ำมันดิบได้ร่วงลงอย่างมากเนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มการผลิตน้ำมัน การส่งออกของประเทศลิเบียที่ยังมีความไม่แน่นอนและการที่ ประเทศซาอุดิอาระเบีย และเหล่า ประเทศสมาชิกองค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) รวมทั้งประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่นๆ นอกจากต้องจัดสรรเงินลงทุนด้วยสารพัดกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ที่ซับซ้อนขึ้นแล้ว ยังต้องจับตามองอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนจากนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน


ดังที่นักวิเคราะห์จาก private bank เชื่อว่า ซื้อหุ้นยูโรย่อมอนาคตสดใสกว่าสหรัฐฯ ที่ผลจากดอลลาร์แข็งกดรายได้ไม่พุ่งนักไม่ยอมลดกำลังการผลิตลง ผู้ส่งออกน้ำมันเหล่านี้ สามารถลดกำลังการผลิตเพื่อพยุงราคาได้ แต่ในทางปฏิบัติไม่มีใครต้องการลดการผลิตจริงๆ เนื่องจากต่างก็จำเป็นต้องมีรายได้จากการขายน้ำมันเพื่อจ่ายคืนหนี้


นอกจากนี้ หากมองในแง่กลยุทธ์ทางการตลาดการลดกำลังการผลิตของผู้ส่งออกรายใดรายหนึ่งจะกลายเป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตอื่นที่เป็นคู่แข่งนั่นเองท้ายที่สุดเราเชื่อว่าผู้ผลิตน้ำมันทั้งหลายคงต้องทยอยลดกำลังการผลิตลงแม้พวกเขาจะทำแบบค่อนข้างจะอิดเอื้อนและเลือกทำเป็นบางส่วนเท่านั้นขณะที่สินค้าคงคลังของสหรัฐฯ ยังคงมีปริมาณสูงเป็นประวัติการณ์และอิหร่านน่าจะกลับมาส่งออกได้อีกครั้งหลังการเจรจาด้านนิวเคลียร์สิ้นสุดลง


แนวโน้มดังกล่าวเป็นไปได้ว่าราคาน้ำมันจะยังมีความผันผวนมากต่อไปอีกในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ถึงกลางปีนี้ หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ลดลงสู่จุดต่ำสุดอย่างช้าๆ ก่อนจะปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง และราคาน้ำมันจะกลับมามีเสถียรภาพเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี ในระดับที่ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา


 

ดังนั้น จึงปรากฏภาพกราฟราคาน้ำมันปรับตัวเป็นแนวราบ (กราฟ 1) กระทั่งบรรดานักคาดการณ์ทางเศรษฐกิจต้องปรับประมาณการแนวโน้มราคาน้ำมันต่อไป สถานการณ์ดังกล่าวจะช่วยถ่ายเทความมั่งคั่ง จากผู้ผลิตน้ำมันมายังผู้บริโภคได้ แม้ว่าผลบวกต่อภาคการบริโภคดังกล่าวจะยังไม่เด่นชัดในช่วงแรกรวมถึงราคาน้ำมันที่ตกลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิตเท่านั้น ซึ่งเห็นได้จากส่วนต่างด้านเครดิตและรายรับของอุตสาหกรรมพลังงานได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง


ด้านฝั่งนโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ ดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด โดยให้เหตุผลต่อตลาดอย่างระมัดระวัง และเป็นนโยบายที่ไปกันคนละทางกับนโยบายผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป จากการออกมาตรการ QE เต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตลาดรอคอยมาเป็นเวลานานสถานการณ์ดังกล่าวนี้ ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐต่อเงินยูโรถีบตัวขึ้นไปสูงสุดในรอบ 12 ปี (กราฟ 2)


ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ที่ค่าเงินเหรียญพุ่งขึ้นดังกล่าวไม่เพียงแต่ส่งผลต่อทั้งสอง ภูมิภาคซึ่งเกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่ยังทำให้เศรษฐกิจอื่นที่ค้าขายและมีระบบค่าเงินที่ผูกกับเงินทั้งสองสกุล กระทบกระเทือนไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธนาคารกลางสวิสตัดสินใจยกเลิกการผูกค่าเงินสวิสฟรังก์กับยูโร

 

นอกจากนี้ ธนาคารกลางของเดนมาร์กและสวีเดนยังได้ลดดอกเบี้ยไปสู่อัตราติดลบ ประเทศเหล่านี้ล้วนแต่ติดกับอยู่ในสถานการณ์ “euro-squeeze” เพราะนโยบายผูกติดค่าเงินตนเองกับยูโร (ไม่ว่าจะประกาศแบบเป็นทางการหรือไม่) ย้อนศรมากดดันเศรษฐกิจ หลังจากธนาคารกลางยุโรปประกาศใช้มาตรการ QE ส่วนประเทศอื่นที่ผูกติดค่าเงินตนเองกับค่าเงินเหรียญสหรัฐ ล้วนแต่กำลังประสบความผันผวนจากความไม่สมดุลระหว่างค่าเงิน (ที่แข็งขึ้น) กับภาวะเศรษฐกิจ (ที่กำลังอ่อนแอ) ตัวอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ คือ ประเทศจีน ค่าเงินหยวนแข็งขึ้น (+14% ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2557) เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าที่ไม่ใช่สหรัฐฯ เป็นสาเหตุทำให้เศรษฐกิจจีนซบเซาแนวโน้มค่าเงินจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนจากทั่วโลกใช้ในการตัดสินใจ เพื่อจัดสรรน้ำหนักของการลงทุน


ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจึงควรป้องกันความเสี่ยงเงินตราต่างประเทศทุกสกุลสำหรับพอร์ตการลงทุนที่มีทรัพย์สินเป็นเงินเหรียญสหรัฐส่วนนักลงทุนในทรัพย์สินเงินสวิสฟรังก์ที่มีการลงทุนในทรัพย์สินบางส่วนเป็นเงินยูโร ควรพิจารณา

ป้องกันความเสี่ยงเต็มรูปแบบหากค่าเงินยูโรแตะ 1.10 EUR/CHF และถ้าหากมีการลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นเหรียญสหรัฐ ควรป้องกันความเสี่ยงบางส่วนทุกครั้งที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐ ปรับตัวถึง 1.0 USD/CHF สำหรับนักลงทุนที่มีทรัพย์สินเป็นเงินยูโรนั้นมีความได้เปรียบในสถานการณ์ ปัจจุบัน เนื่องจากค่าเงินยูโรน่าจะยังคงอ่อนตัวเมื่อเทียบกับทุกสกุลในช่วงหลายเดือนหลังจากนี้

 

ทรัพย์สินในตลาดพัฒนาแล้ว

 

ปัจจัยสำคัญในการเลือกจัดสรรน้ำหนักการลงทุนที่เหมาะสม คือค่าเงินหลักของทรัพย์สินในพอร์ตซึ่งจะกำหนดต้นทุนในด้านการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินของพอร์ตนั้นๆ โดยอาจกล่าวได้ว่า ความน่าดึงดูดของหุ้นในพอร์ตที่มีทรัพย์สินอยู่หลายชนิดจะแปรผันตามสถานที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งนักลงทุนอาศัยอยู่ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นต่างๆ ในประเทศที่ใช้เงินยูโรปรับตัวสูงขึ้นกว่าตลาดหุ้นในสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยประมาณ 15% เมื่อคิดมูลค่าตามค่าเงินท้องถิ่น ในอนาคตจึงเป็นไปได้ที่หุ้นในกลุ่มเศรษฐกิจที่ใช้เงินยูโรจะยังคงมีความโดดเด่นท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ตลาดเฝ้ารอมานาน รวมถึงการอ่อนค่าของเงินยูโรที่ช่วยผลักดันภาคการส่งออก นอกจากนี้ ผลของการขยายตัวจากมาตรการ QE ของธนาคารกลางยุโรป ยังส่งผลบวกต่อหุ้นในภูมิภาคอีกด้วย

 

สำหรับตลาดหุ้นในสหรัฐฯ และสวิตเซอร์แลนด์มีแนวโน้มขาขึ้นที่ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากราคาที่ได้ปรับตัวไปก่อนหน้านี้ รวมถึงการแข็งค่าของเงินทั้งสองสกุลยังเป็นอุปสรรคกดดันรายได้ของบริษัทในตลาด หนำซ้ำยังอาจโดนกระหน่ำจากความผันผวนเป็นช่วงๆ หากธนาคารกลางสหรัฐตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย

 

ดังนั้น นักลงทุนควรป้องกันความเสี่ยงทางด้านเทคนิคและการหารายได้จากแหล่งทางเลือกอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ นักลงทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นเงินสวิสฟรังก์แล้ว กองทุนให้เช่าอสังหาริมทรัพย์สัญชาติสวิสถือเป็นทางออกที่น่าสนใจกว่าตลาดหุ้น ส่วนนักลงทุนที่ลงทุนในทรัพย์สินที่เป็นเงินเหรียญสหรัฐ อาจจะพิจารณาลงทุนในกองทุนป้องกันความเสี่ยง หรือ Hedge Fund เช่น Equity Long/Short and Global Macro ในด้านตลาดพันธบัตร นักลงทุนกำลังเผชิญกับปัญหาหลายๆ ด้าน เช่น การบริหารการลงทุนท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยติดลบสำหรับเงินสด (ในพื้นที่ที่ใช้เงินยูโร สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก และ สวีเดน) และจะจัดสรรพันธบัตรยุโรปที่มีปริมาณมากขึ้นแต่กลับมีผลตอบแทนติดลบได้อย่างไร


ในขณะที่บรรดาธนาคารกลางชาติต่างๆ พากันสนับสนุนให้นักลงทุนนำเงินสดไปลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น กระนั้นจากประสบการณ์ของประเทศเดนมาร์กซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยติดลบยาวนานที่สุด แต่ว่ากลุ่มครัวเรือน บริษัทประกัน และกองทุนบำเหน็จบำนาญ มักจะจัดสรรน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ในแบบที่จะไม่เป็นผลดีกับตลาดหุ้น เพราะนักลงทุนเหล่านี้จะซื้อพันธบัตรเพิ่มขึ้นอีก และพวกเขาต้องการที่จะลงทุนในตราสารหนี้ของบริษัทยุโรปเป็นพิเศษ เพื่อหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น เพราะตราสารหนี้เหล่านี้มีความเสี่ยงด้านเครดิตที่ดีขึ้น


นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ที่จะมีการย้ายเงินลงทุนไปสู่ตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีผลตอบแทนที่สูงขึ้นโดยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ถือเป็นทางเลือกใหม่ที่ชัดเจนที่สุด (กราฟ 3) ถึงแม้ว่าต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และความผันผวนของค่าเงินจะทำให้นักลงทุนในประเทศที่ใช้เงินยูโรบางส่วนไม่ อยากเสี่ยงย้ายเงินลงทุน


กระนั้นเชื่อว่า ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จะไม่เพิ่มสูงมากเกินไป เนื่องจากว่าพันธบัตรในฝั่งยุโรปยังให้ผลตอบแทนที่มีความน่าสนใจเช่นกันรวม ถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพคล่องในตลาดโลกซึ่งล้นเหลือเป็นประวัติการณ์ การลดลงของแนวโน้มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ตลอดจนความเห็นของประธานธนาคารกลางสหรัฐ ดังนั้นเราคิดว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มีความน่าสนใจพอควร

 

ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์จาก private bank ยังให้น้ำหนักต่อเงินสดและพันธบัตรรัฐบาลอื่นๆ ทั่วโลกแค่ “Underweight” ซึ่งหมายความว่าหากธนาคารกลางสหรัฐ เร่งมือทำตามนโยบายมากขึ้น นักลงทุนที่ถือครองทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์ควรจะหันมาถือเงินสด

 

ความน่าสนใจของตลาดเกิดใหม่

 

ในการพิจารณาเพื่อลงทุนในตลาดพันธบัตรของประเทศเกิดใหม่ มีความแตกต่างกันไปตามค่าเงินอ้างอิงของทรัพย์สินหลัก ดังเช่นที่นักวิเคราะห์จาก private bank เชื่อว่าการถือตราสารหนี้ท้องถิ่นในตลาดเกิดใหม่มีความเพียงพอสำหรับการสร้างสถานะ (Exposure) ในพอร์ตการลงทุนที่มีทรัพย์สินเป็นเงินยูโร หรือสวิสฟรังก์ทว่า พันธบัตรของตลาดเกิดใหม่ อาจดูไม่น่าสนใจมากนักสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในทรัพย์สิน ซึ่งเป็นเงินสกุลเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เนื่องจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของตลาดเกิดใหม่และของสหรัฐฯ เริ่มลดลงแล้ว อีกทั้งมีแนวโน้มที่ผลตอบแทนจะถูกกดดันจากการแข็งค่าของเงินเหรียญสหรัฐอีกด้วย

 

ดังนั้น นักลงทุนควรย้ายเงินลงทุนมาที่ตลาดเครดิตของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีผลตอบแทนที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง

อย่างไรก็ดี ในการเลือกลงทุนควรเน้นที่ทรัพย์สินซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับกลุ่มที่ลงทุนได้ (Investment Grade) เนื่องจากทรัพย์สินที่สร้างผลตอบแทนที่สูงในสหรัฐฯ เริ่มมีความเสี่ยงทั้งจากการปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนไปที่ภาคพลังงานมากเกินไป และความผันผวนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ อาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในอนาคต ทั้งนี้เมื่อนักลงทุนต้องการที่จะมองหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น อาจต้องหันไปหาตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำลง

 

นอกจากนี้ ด้วยราคาน้ำมันที่ลดต่ำลงกำลังกดดันรายได้ในอนาคต เห็นได้จากดัชนีต่างๆ ในตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ สะท้อนถึงการลงทุนจำนวนมากในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ การเลือกทรัพย์สินที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และยังคงมีความน่าสนใจลงทุนในประเทศ และ/หรืออุตสาหกรรมที่บริโภคน้ำมันในตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากแรงส่งด้านการบริโภคไม่น่าจะลดลงในเร็วๆ นี้

 

ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันที่ตกต่ำยาวนานกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ อาจส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การคลังของประเทศเกิดใหม่ในบางประเทศได้ ผู้ลงทุนควรจะระมัดระวังการลงทุนในรัสเซีย เวเนซุเอลา และบราซิล โดยต้องคอยจับตาสถานการณ์ต่างๆ อย่างใกล้ชิด


สรุป


- การจัดสรรน้ำหนักการลงทุนของแต่ละพอร์ต จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่แตกต่างกันมากกว่าเดิม ตามชนิดของค่าเงินอ้างอิงในทรัพย์สินที่จะลงทุน เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบในปัจจุบัน เช่น นโยบายการเงินของแต่ละประเทศมีความหลากหลายมากขึ้น และค่าเงินเหรียญสหรัฐ มีความแข็งแกร่งขึ้น ทำให้ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้


- นักลงทุนในประเทศที่ใช้เงินยูโรจะได้รับประโยชน์จากทั้งข่าวดีเรื่องการอัดฉีดสภาพคล่องและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ถือว่าเป็นแนวโน้มเชิงบวกที่สนับสนุนให้ถือทรัพย์สินเสี่ยงแทนที่เงินสด


- แต่หากเป็นพอร์ตลงทุนที่มีทรัพย์สินเป็นเงินเหรียญสหรัฐและฟรังก์สวิส ซึ่งตลาดหุ้นของเงินสองสกุลนี้มีแนวโน้มขาขึ้นที่จำกัดกว่า ในการจัดสรรน้ำหนักการลงทุนจึงต้องมีความสมดุลมากขึ้น




คลิ๊กอ่าน "Forbes Thailand: The Essential Guide for Enrichment" ฉบับพิเศษประจำ JUNE 2015