ข้อควรจำ 5 ประการ หากลงทุนในธุรกิจขนาดเล็ก - Forbes Thailand

ข้อควรจำ 5 ประการ หากลงทุนในธุรกิจขนาดเล็ก

FORBES THAILAND / ADMIN
02 Sep 2014 | 10:15 AM
READ 2273
คำถามสำคัญหนึ่งสำหรับนักลงทุนในธุรกิจขนาดเล็กควรจะต้องสนใจ นั่นคือ ด้วยเหตุผลกลใดทำให้บริษัทแห่งหนึ่งน่าสนใจมากกว่าอีกบริษัท? 
 
ท่ามกลางธุรกิจขนาดเล็กมากกว่า 28 ล้านบริษัทในสหรัฐฯ แต่กลับมีการศึกษาในประเด็นปัญหาข้างต้นนี้น้อยเหลือเกิน บทความชิ้นนี้มิได้เพียงแค่ช่วยชี้ให้เห็นโอกาสในการทำกำไรเหนือกว่าการตอบแทนของตลาด จากการลงทุนในกิจการขนาดเล็ก แต่ยังเป็นเครื่องมือสำหรับนักลงทุนในการพินิจพิจารณาบริษัทแต่ละแห่งอีกด้วย 
 
ด้วยประสบการณ์หลายปีในการลงทุนกับบริษัทเอกชนหลายแห่ง ผู้เขียนพัฒนากรอบวิธีคิดเบื้องต้นรวมทั้งหมด 5 ข้อ  สำหรับใช้ในยามสนใจจะเข้าไปลงทุนในกิจการใหม่ๆ
 
ข้อเสนอแนะต่อไปนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการประเมินกิจการเท่านั้น มิได้ตั้งใจจะให้ครอบคลุมทั่วทุกประเด็น เนื่องจากยังมีหัวข้อสำคัญอื่นๆ อีก เช่น การประเมินมูลค่าหรือโครงสร้างของการลงทุน เป็นต้น  นอกจากนี้ ยังสามารถประยุกต์หลักการทั้งห้าข้อให้เข้ากันได้กับทุกอุตสาหกรรม  แต่อาจจะเหมาะเจาะกับสินค้าที่ใกล้ชิดกับผู้บริโภคและธุรกิจค้าปลีกเสียมาก ซึ่งชนิดธุรกิจที่ผู้เขียนมีประสบการณ์มากที่สุด
 
1. Gross Magin - ผลกำไรขั้นต้นนั้นคืออัตรามูลค่าของราคาขายอิงตามราคาตลาดของสินค้า หักลบด้วยต้นทุนการผลิต อัตราส่วนนี้สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมันจะเป็นตัวบ่งบอกให้บริษัทควรลงทุนเพิ่มเติมในผลิตภัณฑ์ประเภทในสาขาอื่นๆ อีกหรือไม่  เพื่อให้สินค้าไดผลิตภัณฑ์กระจายเข้าสู่ตลาด
 
Gross Magin ผันแปรไปไปตามแต่ละอุตสาหกรรม รวมทั้งชนิดสินค้าภายในแต่ละอุตสาหกรรมด้วย หากำไรส่วนนี้น้อยมากๆ ก็จะเสี่ยงมากตามไปด้วย  จากการลงทุนที่ผ่านมา ผู้เขียนเน้นลงทุนในกิจการที่มี gross magin สูง  เพื่อให้การรักษาเงินลงทุนในสินค้านั้นๆ เป็นไปโดยง่าย สินค้าเหล่านี้อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ อาหารสัตว์ระดับพรีเมี่ยม หรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและปลอดสารพิษ เป็นต้น
 
สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักตลอดเวลาคือ การขยายรายได้จาก gross magin เป็นเรื่องที่ยากมาก ความพยายามที่จะใช้เครื่องจักร หรือลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบอาจช่วยได้บ้าง แต่โดยรวมแล้ว การจะใช้ gross magin เพื่อผลักดันให้เกิดผลตอบแทนในการลงทุนเป็นเรื่องที่เหลือบ่ากว่าแรงจริงๆ
 
2.ความเข้มแข็งของแบรนด์ - ประเด็นนี้อาจเป็นเรื่องยากที่สุดที่จะใช้ประเมินธุรกิจขนาดเล็ก แต่ในฐานะนักลงทุนแล้วต้องถามตัวเองเสมอว่า "แบรนด์นี้โด่ดเด่นตรงไหน?" ตัวอย่างที่ดีคือสินค้าของบริษัทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Method โลกใบนี้มีสินค้าสีเขียวประเภทนี้มากมายพอแล้ว แต่ทำไมเราต้องซื้อสินค้าแบรนด์นี้อีกด้วย  Method สามารถสร้างแบรนด์สินค้าตัวเองให้มีความพิเศษ ด้วยการบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพพร้อมกับการออกแบบที่สวยงาม และหีบห่อที่ดึงดูดสายตาผู้บริโภค  
 
จากการสำรวจลูกค้า/ผู้บริโภค การปรากฎในสื่อ และข้อมูลจากบริษัทสำรวจตลาดแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ในโลกของสินค้าที่ต้องอาศัยบรรจุภัณฑ์มีเครื่องดื่มชูกำลัง หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมากมายนับไม่ถ้วน แต่เพราะเหตุผลใดถึงต้องซื้อ Red Bull หรือ Method ขณะที่สินค้ายี่ห้ออื่นก็มีส่วนผสมหรือองค์ประกอบไม่แตกต่างกันเลย ก็เพราะว่าสูตรการผลิตลอกเลียนกันได้ แต่แบรนด์นั้นลอกเลียนไม่ได้นั่นเอง 
 
3.ตำแหน่งซีอีโอ - สำหรับธุรกิจขนาดเล็กแล้ว คุณต้องลงทุนกับตัวผู้นำพอๆ กับลงทุนในผลิตภัณฑ์หรือบริษัท คุณต้องลงทุนในตัวซีอีโอที่คุณเชื่อมั่น โดยต้องตรวจสอบข้อมูลหรือสอบถามจากบุคคลที่สามเกี่ยวกับตัวเขาตั้งแต่เริ่มต้น 
 
แม้จะไม่มีสูตรสำเร็จรูปในการประเมินความสามารถในการเป็นผู้นำ แต่คุณจะต้องทำในแบบที่นักลงทุนเกือบทุกคนทำกัน นั่นคือยอมเสียเวลาที่จะพูดคุยหรือตั้งคำถามเอาจากเขา นัดประชุมหรือให้ชี้แจงในกรณีที่คุณคิดว่าสำคัญ เพื่อให้เข้าใจว่าเขาคนนี้รู้จักธุรกิจของตัวเองดีพอไหม มีเวลาทุ่มเทกับโปรดักส์มากแค่ไหน และมีความมุมามะพยายามขนาดไหน?
 
4.ประเมินความจริงของกิจการ - คนทั่วไปมักคิดว่าหากคุณสร้างบริษัทให้ยิ่งใหญ่แล้ว มันจะกลายเป็นบ้านอยู่อาศัยไปชั่วชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ หากคุณกำลังต้องการขายบริษัทให้กับบริษัทนักลงทุนอื่นๆ ที่คาดหวังกำไร (strategic acquirer) จากดีลนี้ ควรจะต้อง 1) พยายามอธิบายให้ได้ว่าผู้ที่จะมาลงทุนนั้นเป็นใครได้บ้าง 2)  ระบุให้ได้ว่าอะไรคือยุทธศาสตร์ของการเข้าซื้่อกิจการ และ 3) ต้องอธิบายให้ได้ว่าทำไมธุรกิจถึงดึงดูดใจให้นักลงทุนเชิงกลยุทธ (strategic acquirer) ต้องมาซื้อกิจการ 
 
5.โอกาสการสร้างรายได้ - รายได้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ในอนาคตด้วย เพราะเป็นฐานของรายได้หลัก ที่ผู้บริหารควรจะต้องใส่ใจไปพร้อมๆ กับการขยายธุรกิจให้เติบโต เนื่องจากมูลค่าที่ใช้ในการแสวงหาลูกค้าหน้าใหม่นั้นสูงถึง 6 เท่า ของค่าใช้จ่ายในการรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ 
 
สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว รายได้ที่เกิดขึ้นมาจากการซื้อซ้ำ อาจเป็นไปได้ที่บางรายจะซื้อสินค้าเพราะบรรจุภัณฑ์ แต่เขาจะกลับมาซื้ออีกครั้งก็ด้วยคุณภาพของสินค้า แน่นอนว่าเพียงเท่านี้ยังไม่พอ คำถามตามมาก็คือความถี่ของการเกิดรายได้จากการซื้อซ้ำนั้น มากน้อยอย่างไรบ้าง จากประสบการณ์ที่เคยลงทุนในบริษัทผลิตแชมพูแห่งหนึ่ง ซึ่งออกแบบขวดแชมพูอย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลมากมาย และยังสามารถควบคุมปริมาณแชมพูที่เทออกมาทุกครั้ง ให้ได้เท่าๆ กันตามค่าเฉลี่ยที่ต้องการในการสระผม ทว่าปัญหาก็คือคนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้แชมพูมากเกินจำเป็น ลูกค้าต้องใช้เวลา 12-18 เดือน กว่าจะเข้าใจแล้วกลับมาใช้อีกครั้ง ฟังดูก็เหมือนดี แต่สำหรับบริษัทผู้ผลิตแล้วเป็นปัญหาใหญ่มาก เพราะมันทำให้วงจรของการกลับมาซื้อซ้ำต้องยืดยาวออกไป
 
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ผู้เขียนมิได้เจตนาจะว่าการประเมินกิจการขนาดเล็กนั้นมีประเด็นเพียงเท่านั้น เพราะแต่ละธุรกิจต่างก็ต้องมีขั้นตอนในการพิจารณาเฉพาะของตัวเองต่างกันไป



เรียบเรียงจาก 5 Essentials of Small Business Investing โดย Ryan Caldbeck


TAGGED ON