เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ เปิดตัวกลุยทธ์ "น่านน้ำสีม่วง" เตรียมความพร้อมสร้างความต่าง - Forbes Thailand

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ เปิดตัวกลุยทธ์ "น่านน้ำสีม่วง" เตรียมความพร้อมสร้างความต่าง

บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ “FPIT” จัดงานแถลงข่าว The New Inspiring Seamless Business Solution Experiences 2021 เปิดตัว แผนกลยุทธ์ใหม่ ‘น่านน้ำสีม่วง หรือ Purple Ocean Strategy’

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ฯ หรือ FPIT นำโดย โสภณ ราชรักษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้เผยทิศทางผลประกอบการธุรกิจปี 2564 พร้อมกลยุทธ์และเป้าหมายการดำเนินงานในอีก 5 ปีข้างหน้านำความชำนาญในธุรกิจกว่า 30 ปี มาพัฒนาเป็นโซลูชั่นครบวงจรที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการลูกค้าได้อย่างไร้รอยต่อ พร้อมการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ใหม่ ‘น่านน้ำสีม่วง หรือ Purple Ocean Strategy’ ที่เสริมสร้างความพร้อมและความแตกต่างให้แก่บริษัทฯในการขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเผชิญกับการแข่งขันสูงในน่านน้ำสีแดง หรือการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่กำลังเกิดขึ้นในน่านน้ำสีน้ำเงิน หรือหากต้องเผชิญกับทั้งสองน่านน้ำในคราวเดียวกันใน "น่านน้ำสีม่วง"

โสภณ ราชรักษา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมา FPIT ได้มุ่งพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงได้สร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจผ่านกระบวนการ Business Transformation ตั้งแต่ปี 2017 เพื่อปรับรูปแบบการทำงานให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เรามีทั้งความพร้อมและความสามารถที่จะแข่งขันในทุกโอกาส

และส่งผลให้ FPIT ยังคงรักษาความเป็นผู้นำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยปัจจุบันมีพื้นที่ภายใต้การบริหารจัดการทั้งสิ้นรวมกว่า 3 ล้าน ตารางเมตร ทั้งยังมีอัตราการเช่าที่สูงถึงกว่าร้อยละ 82 ในปี 2564”

โสภณ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ FPIT ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า “เราพร้อม” (We are ready) และ “เราต่าง” (We are different) เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์น่านน้ำสีม่วง โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานการต่อไปนี้

การสร้างความพร้อม:

-เพิ่มทำเลศักยภาพเชิงอุตสาหกรรมเข้ามาในพอร์ตโฟลิโอ -จับมือพันธมิตรทั้งในไทยและต่างประเทศเพื่อต่อยอดด้านการให้บริการลูกค้าในรอบด้าน อาทิ การเสริมบริการระบบออโตเมชั่น การบริหารทรัพย์สิน และการพัฒนาธุรกิจใหม่ -การปรับปรุงอาคารโรงงานและคลังสินค้าปัจจุบันให้มีความทันสมัยและพร้อมตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของลูกค้าในปัจจุบัน ภายใต้โครงการ Asset Enhancement Initiative (AEI) -ขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ตามปัจจุบันได้ลงทุนแล้วที่ประเทศอินโดนีเซีย ใกล้กรุงจาการ์ตาที่มีสัดส่วนการลงทุน 25 เปอร์เซ็นต์ และในประเทศเวียดนาม ที่เมืองบินห์เยือง เวียดนามตอนใต้ ซึ่งเป็นการลงทุนเต็มร้อยของบริษัท -พัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับการดำเนินงานที่มีมาตรฐานระดับสากล โดยเน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้สมัยใหม่ อาทิ Design Thinking, Customer Centric และ Human Centric เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างครอบคลุม และมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ Big Data และ เทคนิคกำรทำ Asset Management -สร้าง PropTech Platform โดยนำการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอาคาร เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการด้วยแนวคิดอาคารอัจฉริยะ (Smart Building)

การสร้างความแตกต่าง:

-เดินหน้าพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทางด้านอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย อาทิ โครงการ In-Property Logistics และโครงการ In-City Logistics เพื่อย่อขนาดพื้นที่โลจิสติกส์เข้าสู่ในเมือง และในขณะเดียวกัน ก็เตรียมการออกแบบเพื่อขยายการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่  อาทิ โครงการเมืองอุตสาหกรรม (Industrial Township) ที่เป็นการรวมอสังหาริมทรัพย์หลายประเภทเข้าไว้ในพื้นที่พัฒนาเดียวกัน -มุ่งพัฒนาการดำเนินงานตามแนวทาง ESG (Environmental, Social, Governance) โดยได้จัดทำนโยบาย Green Development Policy เพื่อให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนโดยรอบ และมีความยั่งยืนในด้านการบริหารจัดการ รวมถึงการขยายการลงทุนในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อรองรับดีมานด์ของลูกค้าองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามแนวทางความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น -พัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ในการให้บริการพื้นที่อาคารอุตสาหกรรม อาทิ รูปแบบ Co-Warehousing หรือ Flexible Space เพื่อรองรับความต้องการพื้นที่จัดเก็บที่มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการรายย่อย ตลอดจนการพัฒนาการให้บริการที่รองรับระบบ Smart Storage ด้วยการใช้ IoT มาเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ โสภณ​ ราชรักษา ประเจ้าหน้าที่บริหาร FPIT กล่าวต่อด้วยว่าจากยุทธศาสตร์ 5 ปี บริษัทจะมีการลงทุนราว 3-3.5 พันล้านบาทต่อปีเพื่อไปให้ตั้งเป้าขยายพอร์ตฯ บริหารรวม 4 ล้าน ตร.. ภายในอีก 5 ปี ที่วางไว้  ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทำเลยุทธศาสตร์ที่ปัจจุบัน FPIT  มีที่ดินใน 15 จังหวัดทั่วประเทศ นอกจากนี้ ด้วยสินทรัพย์บริษัทในกลุ่มเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ จากโกลเด้นแลนด์ และ TCC เองก็จะช่วยให้เกิดพื้นที่ใหม่ๆ ในเมืองจากเดิมที่ FPIT มีแต่พื้นที่ขนาดใหญ่นอกกรุงเทพฯ หรือชานเมือง เพื่อนำพื้นที่เหล่านั้นมาสร้างเป็นพื้นที่คลังสินค้าขนาดเล็ก จุดส่งต่อสินค้าต่างๆ ในอนาคต โดยในกลุ่มอาเซียนด้วยกันเอง ประเทศไทยถือว่าเป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมนี้ ที่ได้รับการยอมรับในแง่ผู้นำอุตสาหกรรม และสามารถตอบโจทย์จัดเก็บและบริหารสินค้า "warehouse กลายเป็นศูนย์กลางในการจัดการและการทำงานงานต่างๆ เป็นศูนย์กลางของคนงาน การออกแบบบริหารจัดการคลังที่ดีต้องใช้หลัก human centric เป็นหลัก เพื่อส่งมอบการทำงานที่ดีให้กับคนทำงานภายใน" โสภณ กล่าวและเสริมว่า 

“แม้ว่าที่ผ่านมาเราจะได้รับอานิสงส์จากสงครามการค้าและสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทำให้เราเติบโตอย่างน่าพึงพอใจ แต่ด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ประกอบกับการประยุกต์ใช้กลยุทธ์และยุทธศาสตร์ใหม่ของ FPIT นี้ เรามั่นใจว่าบริษัทฯ จะสามารถสร้างการเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง

ซึ่งจะทำให้เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) มีรายได้เติบโตร้อยละ 10-15 ต่อปี และสามารถขยายพื้นที่ภายใต้การบริหารจัดการเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านตารางเมตร ภายในปี 2568 โดย FPIT จะยังเดินหน้าพัฒนาโครงการที่รองรับทุกความต้องการของลูกค้า ตามแนวคิด การสร้างสรรค์พื้นที่แห่งแรงบันดาลใจที่เอื้อให้ธุรกิจของลูกค้าดำเนินไปได้อย่างไร้รอยต่อ หรือ Inspiring Seamless Business Solution Experience ในทุกสภาวการณ์” โสภณ กล่าวเสริม

อ่านเพิ่มเติม: ดุสิตธานี เปิดร้าน ‘คาวาอิ’ ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มรักสุขภาพ
ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine