“6 เทรนด์แม่ GEN M” แม่ยุคใหม่ใจกว้าง ไม่ติดกรอบ บริหารจัดการชีวิตได้สมดุล - Forbes Thailand

“6 เทรนด์แม่ GEN M” แม่ยุคใหม่ใจกว้าง ไม่ติดกรอบ บริหารจัดการชีวิตได้สมดุล

จากงาน "Trend of Thai Millennial Moms เข้าถึงเข้าใจ ไทยมิลเลนเนียลมัม" ได้มีการสรุปผลวิจัยทัศนคติและพฤติกรรมเรื่องการเลี้ยงลูกจากแม่ทั่ว ประเทศจำนวนกว่า 2,000 ราย ที่มีอายุอยู่ในช่วง 21–35 ปี โดยเป็นกลุ่มที่เรียกว่า Millennial Generation (Gen M) เพื่อรู้จักตัวตนของแม่ GEN M อย่างเข้าใจ และพูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มและทิศทางของพฤติกรรมการบริโภค การใช้สื่อ รวมไปถึงวิธีการเลี้ยงลูก เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจและสามารถตอบสนองความต้องการของแม่ยุค ใหม่ได้อย่างตรงใจ “การนำเสนอผล วิจัย 6 เทรนด์แม่ไทยในครั้งนี้ เพื่อทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะลึก เพราะแม่ไทยยุคนี้กับเมื่อ 10 ปีที่แล้วย่อมไม่เหมือนกัน เนื่องด้วยบริบทของสังคมและเทคโนโลยีที่แตกต่าง พร้อมทั้งนำเสนอภาพอนาคตของสังคมและครอบครัวไทยเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้ง นักการตลาด สื่อมวลชน และผู้สนใจเรื่องการพัฒนาครอบครัว ได้เข้าใจทัศนคติและมุมมองของแม่ Gen M  ที่มีต่อเรื่องต่างๆ  ซึ่งเราเชื่อว่าเทรนด์ต่างๆ เหล่านี้จะเป็นข้อมูลให้ทุกคนมองเห็นทิศทางของครอบครัวไทย และเป็นเครื่องมือทางการตลาดชั้นดีในการเตรียมความพร้อมและนำเสนอสิ่งที่แม่ ยุคมิลเลนเนียลต้องการได้อย่างตรงจุด” ชนิดา อินทรวิสูตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัด ในกลุ่มบริษัท อาร์แอลจี ผู้จัดงาน งาน Trend of Thai Millennial Moms เข้าถึง เข้าใจ ไทยมิลเลนเนียลมัม กล่าว
ชนิดา อินทรวิสูตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท รักลูกกรุ๊ป จำกัด
ภายในงานได้มีการนำเสนอผลการวิจัยแม่ GEN M หรือ Millennial MOM ที่มีอายุระหว่าง 21 -35 ปี โดย พิมพ์ฐณัช ภฐณวาณิชกุล ผู้จัดการศูนย์วิจัย สถาบันอาร์แอลจี ได้นำเสนอ 6 เทรนด์ต้องห้ามพลาด ของแม่ GEN M  ที่สรุปได้จากการทำวิจัยแม่ไทยทั่วประเทศ จำนวนกว่า 2,000 คน 6 เรื่องดังนี้ 1. WOMOM Phenomenon จะเป็น”ผู้หญิง” หรือเป็น “แม่” ฉันก็ยังคงเป็นตัวเองนี่แหละ แม่ ยุคใหม่ คือผู้หญิงที่มีลูก โดยที่เธอยังไม่สูญเสียจุดยืนของตนเอง เธอยังมีความคิด ความต้องการ และใช้ชีวิตอย่างที่ผู้หญิงทั่วไปต้องการเหมือนสมัยก่อนจะมีลูก เจาะลึก WOMOM Phenomenon แม่ยุคปัจจุบัน ไม่ได้มองว่า คนท้องคือคนป่วย แค่มีลูกและยังสามารถทำอะไรต่ออะไรที่เคยทำได้ 77% ของ WOMOM Phenomenon นิยมการออกกำลังกายถ้าหากมีท่าทางที่เหมาะสมและได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 72% ของ WOMOM Phenomenon ดูแลตนเองอาทิ การดูแลน้ำหนัก รูปร่าง 91% ของ WOMOM Phenomenonแต่งตัวสวยงามตามแฟชั่นและไม่ใช่เรื่องผิดเพราะหากแม่มีความสุขลูกในครรภ์ก็จะมีความสุขด้วย สินค้าออร์แกนิก - แม่ 69% บอกว่ายอมจ่ายเพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของตนองและลูก แม้ว่าส่วนใหญ่สินค้าจะราคาสูง - นอกจากนี้เมื่อพูดถึงสินค้าออร์แกนิก แม่ 98% ตอบว่าคำนึงถึง “สุขภาพ” เป็นเรื่องหลัก - ในขณะที่อีก 58% คำนึงถึงทั้งเรื่อง สุขภาพ และ สิ่งแวดล้อม - แม่ 82% มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ออร์แกนิกคือ ต้องมีส่วนประกอบทุกอย่างจากธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีใดๆเลย และไม่ก่อให้เกิดมลพิษในกระบวนการผลิต 2. 7 to 7 GRAN(nan) NY Hours  เรื่องเลี้ยงลูกไว้ใจ ปู่ย่าตายายที่สุด กลุ่ม แม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้หญิงทำงาน ดังนั้นชีวิตของเธอจะพัวพันระหว่างเวลาทำงาน (Office Hours)  และเวลาของความเป็นแม่ ( Mother Hours)  โดยเธอจะได้เลี้ยงลูกด้วยตัวเองก่อนเวลาเข้างานและเวลากลับบ้านเท่านั้น โดยคุณแม่กลุ่มนี้จะฝากลูกให้คนที่ไว้เนื้อเชื่อใจเป็นผู้เลี้ยงดู โดยเฉพาะปู่ย่าตายาย ซึ่งใกล้ชิดสนิทสนมที่สุด รองลงมาจึงเป็น ญาติมิตร สถานรับเลี้ยงเด็ก ไปจนถึง พี่เลี้ยงเด็ก  จนอาจเรียกได้ว่า 7 โมงเช้า ถึง หนึ่งทุ่ม เป็น 7 to 7 GRAN(nan) NY Hours เวลาของปู่ย่าตายายเช่นเดียวกัน เจาะลึก 7 to 7 GRAN(nan)NY Hours - แม่ส่วนใหญ่จะเลี้ยงลูกด้วยตนเอง (45.23%) หรือมีคนช่วยเลี้ยงบ้าง (20.93%) - แม่ไทยไม่ใช้พี่เลี้ยงเด็ก (85.47%) สาเหตุหลักเพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย 69.79% รองลงมาคือ เรื่องของการสิ้นเปลืองค่าใช่จ่าย 35.83% แต่หากต้องหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกแล้ว - แม่จะพิจารณาเรื่องของความไว้ใจเชื่อใจมาเป็นอันดับแรก (33.08%) - รองลงมาคือ มีประสบการณ์ตรงในการเลี้ยงดู (28.52%) - ความเป็นมืออาชีพที่ได้รับการอบรมมาเป็นอย่างดีเรื่องการเลี้ยงเด็ก (23.31%) 3.  No Rule is New Rule. แม่ไม่ได้แหกกฎ แค่เปลี่ยนบริบทของคำว่า “ดีที่สุด” ความ เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่วิถีแห่งศรัทธา พิธีกรรม หรือ กุศโลบายทางคติชุมชนต่าง  จึงทำให้ผู้หญิงยุคนี้ อาจมีวิธีปฏิบัติต่อตัวเองในฐานะแม่และลูกๆ ของเธอต่างจากยุคคุณแม่ คุณยาย คุณทวด ของเธอมาก เจาะลึก No Rule is New Rule. - แม่ GEN M มีความรู้สึกเฉยๆไม่เห็นเป็นเรื่องแปลกเมื่อเห็นเด็กผู้ชายเล่นตุ๊กตา และเด็กผู้หญิงเล่นหุ่นยนต์ (77.11%) - หากลูกต้องเรียนร่วมกับเด็กพิเศษแม่ร้อยละ 71.80 จะอธิบายให้ลูกเข้าใจเรื่องความแตกต่าง รองลงมาร้อยละ 69.52 ตอบว่าสนับสนุนให้ลุกช่วยเหลือเพื่อนเท่าที่ทำได้ - แม่จะรอให้ลูกโตถึงวัยอนุบาลก่อนจึงจะหาโรงเรียนให้ลูก (69.31%) - แม่จะเลือกโรงเรียนคุณภาพดีปานกลาง ชื่อเสียงไม่ต้องมาก แต่ใกล้บ้านให้ลูก (51.84%) ใกล้เคียงกับคนที่ให้ความสำคัญทั้งชื่อเสียงของโรงเรียนกับการเดินทางไปกลับ ของลูก 42.84% - แม่ส่วนใหญ่ (90.13%) คิดว่าการคลอดลูกไม่ว่าจะคลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด คนเป็นแม่ก็รักและผูกพันกับลูกมากเท่าๆ กัน  และไม่ได้มีผลกับความภูมิใจในความเป็นแม่ - แม่ Gen M มากกว่าครึ่ง (52.60%) ไม่ได้คิดกังวลมากนักว่าเธอต้องเป็นแม่ที่สมบูรณ์แบบเสมอไป แต่ในขณะที่แม่อีกเกือบครึ่ง (47 %) คิดว่าคนเป็นแม่ต้องทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบเสมอ สำหรับการให้นมลูกในที่สาธารณะ - แม่เกือบทั้งหมด 98% เห็นว่าถ้ามีผ้าคลุมให้นมลูก ก็ไม่น่าเกลียดหรือน่าอาย เพราะเป็นการเลี้ยงดูลูก และหากถามถึงความคิดเห็นของผู้อื่นในการมองเรื่องนี้ - แม่ 54% คิดว่าคนส่วนใหญ่มองเป็นเรื่องธรรมดาของการเลี้ยงลูก - ขณะที่แม่อีก 24% ตอบว่าคนส่วนใหญ่มองว่ายังน่าอาย ต้องทำในที่ส่วนตัว - ใกล้เคียงกับแม่อีก 23% ที่ยังลังเลไม่แน่ใจว่าคนส่วนใหญ่คิดอย่างไรกันแน่ 4. TAKE IT EASY theory แม่สายชิลล์ สบาย...สบาย เพราะได้ตัวช่วยเพียบ คุณ แม่กลุ่มนี้เติบโตมาในยุคที่มีวิวัฒนาการของอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำ วันที่สะดวกสบาย และลดปัญหาต่างๆ ในชีวิตลงจากแม่รุ่นก่อนนี้มาก...ลูกล้มไม่โอ๋/ ลงโทษลูกแบบ Time-out ไม่ต้องตี/ เก้าอี้หัดเดินไม่ต้องใช้ ซื้อคอกเด็กให้แทน/ ลูกกับหมาอยู่ด้วยกันได้/ จับลูกแบเบาะโยนลงสระน้ำ… TAKE IT EASY theory - แม่สมัยใหม่ ใช้วิธีเลี้ยงลูกแบบที่ลูกไม่รู้สึกว่าถูกจับผิด หรือควบคุมจนลูกอึดอัด(77%) - แนวทางการเลี้ยงลูกของแม่ยุคนี้ เน้นการให้อิสระตามความเหมาะสมกับวัยและสภาพแวดล้อม ไม่ควบคุมเข้มงวดมากเกินไป 65% และยังเปิดโอกาสให้ลูกตัดสินใจด้วยตัวเองถึง 60% - นอกจากนี้แม่ยังหมั่นติดตามข่าวสารและหาความรู้ต่างๆเพื่อนำมาปรับใช้ในการเลี้ยงลูก (61%) 5. INTERNET OF “mother” THINGS แม่ 4G เอาอยู่ทุกสถานการณ์ ชั่วโมง นี้เป็นยุคของ Internet of things (IOT) ที่สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ มีสมองกล สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันและพูดจาคุยกันเองรู้เรื่องได้ จนของทุกอย่างในบ้านต้องมีคำว่า SMART กันเต็มไปหมด มี APP เตือนทุกวันของอายุครรภ์ ว่าวันนี้ควรทำอะไร /  ไลน์ถามคุณหมอทันทีเมื่อมีปัญหาสุขภาพเจ้าตัวเล็ก/ Facetime กับคุณยายก่อนนอน/ จับสัญญาณ GPS จากนาฬิกาของลูกรักว่ารถโรงเรียนไปส่งหรือยัง... INTERNET OF “mother” THINGS  แม่ ยุค 4G สร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับตัวเองผ่านเทคโนโลยี เพื่อช่วยลดภาระบางอย่าง และเพิ่มความสะดวกสบายรวมไปถึงเวลาให้กับตัวเองและครอบครัว - 1 ใน 4 ของแม่บอกว่าอยากจะลองซื้อของใช้ทางอินเทอร์เน็ต เพราะประหยัดเวลาเดินทางไปร้าน (62%) - แม่อีกจำนวนหนึ่ง (41%) บอกว่าการมีค่าใช้จ่ายบ้างไม่เป็นปัญหา ถ้าทำให้มีเวลาดูแลพูดคุยกับลูกมากขึ้น พอๆ กับแม่ 40% ที่ยอมจ้างคนมาช่วยทำความสะอาดบางโอกาสเพื่อให้มีเวลาพักผ่อนบ้าง ยุคนี้เป็นยุคของ แอปพลิเคชั่น โดยเฉพาะประเภทผู้ช่วยมืออาชีพในด้านต่างๆ - แม่ 63% ยินดีที่จะใช้บริการถ้าคุ้มค่ากับคุณภาพในการบริการ ส่วนอีก 24% มองในแง่ความสะดวกสบายถ้าหากจะเลือกใช้ แต่ก็ยังมีแม่ที่ไม่เลือกใช้เพราะไม่ไว้วางใจในความปลอดภัย 25% - แม่ ถึง 73% ยินดีจ่ายเงินซื้ออุปกรณ์และศึกษาการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการดูแลลูกให้ปลอดภัย  แต่ก็ยังมีแม่อีกจำนวนหนึ่ง (27%)ที่มองว่าเรื่องเหล่านี้ไม่จำเป็นและสิ้นเปลือง “ไลน์”(Line) แอปพลิเคชั่นยอดนิยมของแม่และครูไทย - แม่มากกว่าครึ่งที่ใช้ไลน์เพื่อคุยกับครูที่โรงเรียนลูก (58%)และคุยกับลูก(50%) - นอกจากนี้แม่ยังมีไลน์ของพ่อแม่เพื่อนๆลูก และของเพื่อนๆลูกอีกด้วย (41%และ22%ตามลำดับ) เฟซบุ๊ก (Facebook) อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสารของลูกและสังคมของลูกได้ดี - แม่ 39% เลือกเป็นเพื่อนกับลูกทาง FB และยังเป็นเพื่อนกับครูของลูกอีกด้วย (36%) - รองลงมาพ่อแม่เลือกการเพิ่มช่องทาง FB ในการเป็นเพื่อนกับพ่อแม่เพื่อนลูก 32%  และเป็นเพื่อน FB กับเพื่อนลูก 22% Gadget ชิคๆหรืออุปกรณ์บางอย่างก็ช่วยได้ - มีแม่ 21% ที่เลือกใช้แอปพลิเคชันอื่นๆเพื่อติดตามดูแลลูก - กล้องวงจรปิด(20%)หรือเบบี้มอนิเตอร์(11%) ยังเป็นสิ่งที่พ่อแม่เลือกใช้ในการดูแลลูกอยู่ - เด็กสมัยนี้ใส่นาฬิกาติดตามตัวกันหายไม่ใช่น้อย (14%) 6. TRANS-PARENT Culture สังคมแม่ยุคใหม่ไร้พรมแดน กำแพง กั้นขวางระหว่าง ‘คนรู้จัก’ และ ‘คนไม่รู้จัก’ ของคุณแม่ Gen M หายไป  เรื่องนอกบ้านและในบ้านนั้นห่างกันเพียงแค่นิ้วคลิก  แม่ๆ ยินดีรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นยิ่งกว่ายุคไหนๆ  การเรียนรู้จากการได้ลงมือทำหรือการได้ฟังผู้เชี่ยวชาญตัวจริง เป็นสิ่งสำคัญพอๆกับการเชื่อมต่อประสบการณ์จากพ่อแม่ออนไลน์คนอื่นๆ  โลกของแม่เกิดการ seamless ง่ายขึ้นเพราะ SOCIAL NETWORKหรือ SOCIAL MEDIA กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของแม่ไปแล้ว TRANS-PARENT Culture    - แม่ 86% ชื่นชอบที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และปรึกษาปัญหากับแม่คนอื่นๆ - 80% ของแม่ Gen M อ่านรีวิวความคิดเห็นจากแม่คนอื่นๆก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าสำหรับลูก ถ้าหากไม่เคยใช้มาก่อน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเมื่อปี 2015 โดย momypedia  ที่พบว่าแม่มักหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตในเรื่องของใช้สำหรับแม่ตั้งครรภ์และ หลังคลอด (41%) รวมไปถึงของเล่นเสริมพัฒนาการ (47%)และ Car Seat(45%) อย่างไรก็ตามหากเป็นสินค้าประเภท นม อาหารเสริม ยาหรือสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพ แม่จะยังปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือให้แพทย์แนะนำเป็นลำดับแรก (38%) การวิจัย Thai Millennial Mom ในครั้งนี้ ทำการสำรวจในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา  โดยกลุ่มตัวอย่างคือแม่ที่มีอายุ 21-35 ปี จำนวนมากกว่า 2,000 ราย ทั้งผู้ที่ตั้งครรภ์และเป็นแม่ที่มีลูกวัย 0-9 ปี   84% ของกลุ่มตัวอย่างจบการศึกษาระดับปริญญาตรี  เป็นแม่ทำงานมากถึง 74% และอีก 26%เป็นแม่บ้านเลี้ยงลูกเต็มเวลา  ในจำนวนนี้ 42% เป็นผู้มีรายได้ในระดับ Upper Class และ 46% อยู่ในระดับ Middle Class โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพและต่างจังหวัดในเขตเมือง
พิมพ์ฐณัช ภฐณวาณิชกุล ผู้จัดการศูนย์วิจัย สถาบันอาร์แอลจี
ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่มีสถานะแม่อยู่จำนวน 28.5 ล้านคน ในจำนวนนี้มีแม่ Gen M อยู่จำนวน 8 ล้านคน  ในปี 2016 มีเด็กเกิดใหม่จำนวน 5แสนคน  ครึ่งหนึ่งของเด็กที่เกิดใหม่มาจากแม่ Gen M ** หมายเหตุ : ** ข้อมูลจาก 1.Sources: National Statistics Office (NSO) 2.  Thailandometers, Mahidol University 3.Stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php