ร้านชา 1823 Tea Lounge by Ronnefeldt วางกลยุทธ์รุกตลาดไทยในฐานะแหล่งความรู้ด้านชา - Forbes Thailand

ร้านชา 1823 Tea Lounge by Ronnefeldt วางกลยุทธ์รุกตลาดไทยในฐานะแหล่งความรู้ด้านชา

ร้านชาพรีเมียมจากเยอรมนี 1823 Tea Lounge by Ronnefeldt เตรียมแผนขึ้นสู่ปีที่ 3 ในตลาดเมืองไทย วางกลยุทธ์สร้างแบรนด์เป็นแหล่งความรู้-เปิดประสบการณ์ด้าน ‘ชา’ ในราคาเข้าถึงได้ ชูจุดขายร้านชาแห่งเดียวที่มี Tea Master ประจำร้าน เน้นดึงดูดชาวไทยเพิ่มโอกาสซื้อซ้ำ

Rami Sambath ผู้จัดการทั่วไป ร้านชา 1823 Tea Lounge by Ronnefeldt บนศูนย์การค้าเกษร เปิดเผย Forbes Thailand ว่า ปีนี้ร้าน 1823 Tea Lounge by Ronnefeldt จะครบรอบ 2 ปีในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยเตรียมกลยุทธ์ต่อยอดทางธุรกิจ วางตำแหน่งแบรนด์เป็นแหล่งความรู้ด้านชาและเปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากแบรนด์อื่นในตลาด บรรยากาศภายในร้าน 1823 Tea Lounge by Ronnefeldt เริ่มจากในเดือนพฤษภาคมนี้ ร้าน 1823 Tea Lounge by Ronnefeldt จะจัดมีตติ้ง แนะนำการจับคู่ชากับอาหาร (Tea & Food Pairing) รับสมัครไม่เกิน 15 คน และจะจัดมีตติ้งรูปแบบดังกล่าวเป็นประจำทุกเดือนตลอดปีนี้ โดยบางครั้งอาจปรับเปลี่ยนเป็นมีตติ้งการชิมชา (Tea Tasting) รวมทั้ง Rami Sambath ยังเป็น Tea Master ผู้เดียวที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยขณะนี้ ช่วยเสริมความน่าเชื่อถือให้กับร้าน นอกจากนี้ จะมีการคิดค้นเมนูใหม่เพิ่มเติมจากฝีมือพ่อครัวระดับ 3 มิชลินสตาร์ของร้าน เน้นเป็นอาหารหรือขนมที่มีชาเป็นส่วนประกอบ อาทิ โซบะชาเขียว หมุนเวียนออกจำหน่ายประจำฤดูกาลเพิ่มเติมจากเมนูหลักที่มีของร้าน ซึ่งทั้งหมดนี้คาดหวังว่าจะช่วยสร้างสรรค์ประสบการณ์ด้านชาให้กับลูกค้าชาวไทย ตัวอย่างเมนูจากชาของร้าน - ไอศกรีมชา Earl Grey Rami กล่าวต่อว่า ปัจจุบันร้าน 1823 Tea Lounge by Ronnefeldt วางตำแหน่งในตลาดร้านชาเป็นร้านระดับพรีเมียม แต่ระดับราคาอาหารและชายังเข้าถึงได้ง่าย เช่น ใบชาขนาด 50 กรัม จำหน่ายในราคา 450-1,500 บาท หรือขนมมาการอง จำหน่ายชิ้นละ 50-55 บาท โดยมีจำนวนลูกค้าใช้บริการ (traffic) ประมาณ 150-200 คนต่อวัน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 600 บาทต่อคน แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าชาวไทย 50% และชาวต่างชาติ 50% ซึ่งกลยุทธ์การเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านชานั้น เพื่อดึงดูดลูกค้าชาวไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากลูกค้าชาวไทยมีโอกาสซื้อซ้ำมากกว่านักท่องเที่ยว “รายได้รวมไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ตลอดเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจและเป็นเทรนด์ขาขึ้น เนื่องจากกรุงเทพฯเป็นเมืองที่พร้อมสำหรับร้านชาคุณภาพอยู่แล้ว จึงไล่ตามแบรนด์อื่นที่เข้าสู่ตลาดก่อนได้ไม่ยาก หลังจากนี้จะเน้นการสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็งขึ้น” Rami กล่าว ทั้งนี้ ร้านชา 1823 Tea Lounge by Ronnefeldt ก่อตั้งในปีค.ศ.1823 ที่เมือง Frankfurt ประเทศเยอรมนี และเป็นร้านชาพรีเมียมของแบรนด์นี้ร้านแรกและร้านเดียวในโลก ซึ่ง กรกฎ ศรีวิกรม์ กรรมการบริหาร ศูนย์การค้าเกษร วางตำแหน่งร้านนี้ให้เป็นแฟลกชิปผลักดันความเป็นลักเซอรี่ ไลฟ์สไตล์ของเกษร พลาซ่า และย่านการค้า เกษร วิลเลจ ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา   Forbes in Details Rami Sambath ผู้จัดการทั่วไป ร้านชา 1823 Tea Lounge by Ronnefeldt ยังเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับชาอีกหลายประการ ดังนี้ - Tea Master คือผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์ ในทำนองเดียวกับซอมเมอลิเยร์ของเครื่องดื่มไวน์ ซึ่งมีสถาบันให้การรับรอง แต่จะได้รับการยอมรับต้องมาจากการสั่งสมประสบการณ์ตลอดชีวิต - ชาขายดีของร้านคือ Gaysorn Blend, Bangkok Blend และ Milky Oolong ส่วนอาหารขายดีคือ มิโซะแซลมอนย่างไฟ - ในไทยมีแหล่งปลูกชาคุณภาพยอดเยี่ยมเป็นชาชนิดชาอู่หลง อยู่ในจังหวัดเชียงราย รองลงมาคือชาดำซึ่งมีคุณภาพดี