The Black Tie Service จัดสัมมนาครั้งสำคัญในหัวข้อ Meet the Digital Gurus Talk พร้อมเปิดตัวการบริการอย่างเต็มรูปแบบ
The Black Tie Service จัดสัมมนา “Insights for Thai Corporates in the Digital Thailand 4.0 Era” พร้อมเชิญ 4 กูรูแห่งโลกดิจิทัล ร่วมพูดคุยและให้ข้อมูลในเชิงลึกต่อผู้บริหารระดับสูงเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 โดยได้รับเกียรติจาก นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเชอร์ ประจำประเทศไทย, ดร.นิธินาถ สินธุเดชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบริล8พลัส จํากัด, วัชระ เอมวัฒน์ นายกสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ และ กรรมการบริการ บริษัท คอมพิวเตอร์โลจี จำกัด และ ธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานบริษัทร่วมทุน และ หัวหน้าโครงการ InVent บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเชอร์ ประจำประเทศไทย
นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเชอร์ ประจำประเทศไทย เผยถึงประสบการณ์และมุมมองสำคัญในแง่การแลกเปลี่ยนข้อมูลในยุคดิจิทัล ซึ่งภายในบริษัทสิ่งที่พูดคุยกันเป็นประจำ เกิน 70% คือเรื่อง Digital Transformation เพื่อหาความหมายความและนำมาต่อยอดเป็นเพื่อนำการเรื่องรู้มาเป็นบทเรียน
“เรามีคำพูดหนึ่งที่พูดกันเป็นประจำว่า Every business is a every digital โลกวันนี้ไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่ข้องเกี่ยวกับดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นทั้ง B2B หรือ B2C ทุกอย่างล้วนแล้วแต่ต้องพึ่งเรื่องของดิจิทัล ถ้าเราไม่ตื่นตัวอย่างรวดเร็วและเหมาะสม มีผลกระทบแน่นอน”
ในปัจจุบันหากมองการลงทุนของธุรกิจผ่านเพียงตัวเลขต่างๆ จากอัตราการลงทุน เพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ทุกวันนี้ นักลงทุนหรือผู้บริโภคเอง มองโลกของธุรกิจคำนึงในแง่มุมดิจิทัลเสมอ หาใช่มองเพียงแค่มูลค่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่มูลค่าในอนาคตคือสิ่งสำคัญที่พวกเขามอง อย่าเช่น Uber ในวันนี้ธุรกิจของเขาโดนมองว่าติดลบและหากบรรดานักลงทุนมองแง่มุมการลงทุนแบบเดิม คงไม่มี Uber เกิดขึ้น แต่ทำไม Uber ยังมีกลุ่มทุนลงเงินอย่างต่อเนื่อง นั่นก็เพราะเขามองในมุมของดิจิทัล ในแง่ของความสามารถที่จะดึงนักลงทุนและลูกค้าเข้ามาได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นถ้าวัดเรื่องนี้แล้วมูลค่าของเขาค่อนข้างมหาศาลและประสบความสำเร็จอย่างมาก
“ดังนั้นกลับมามองธุรกิจของเรา ในวันนี้ เราสมบูรณ์พร้อมในมุมมองของโลกปัจจุบัน แต่เราพร้อมหรือเปล่าในจุดที่นักลงทุนและผู้บริโภคเรียกร้อง”
ในแง่ที่เราทำธุรกิจกันโลกปัจจุบันนี้ เราจะแสดงออกอย่างไร มันเต็มไปด้วยความท้าทาย เพราะมันไม่ใช่แค่ในแง่ของเทคโนโลยี แต่มันยังต่อเนื่องไปที่เรื่องของคนด้วย เราต้องไม่ปรับเทคโนโลยีให้เข้ากับเราเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจัยสำคัญคือต้องทำให้เทคโนโลยีมันเข้ากับคนในองค์กรและหลักการทำงานในองค์กร เรียกว่าปรับเทคโนโลยีเข้าหาคน ดั่งเช่นในปัจจุบัน คนสั่งของจาก amazon เรียก Uber ฝากซื้อของกินกับ Machine จนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
“คีย์เวิร์ดวันนี้ คือเรื่องของ Innovation เพราะสิ่งนี้กำลังเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งและเป็นสิ่งสำคัญ แต่เรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือ วัฒนธรรมการทำงานที่ทำอย่างไรมันถึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้” นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กล่าวทิ้งท้าย
นิธินาถ สินธุเดชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบริล8พลัส จํากัด
ด้าน นิธินาถ สินธุเดชะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบริล8พลัส จํากัด ชี้ให้เห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ในองค์กรเพื่อเชื่อมโยง พนักงานเข้าไว้ด้วยกัน
“การนำการบริหารทางกลยุทธ์มาเชื่อมโยงเข้ากับการบริหารทรัพยากรบุคคล เราจะต้องไม่ปรับเทคโนโลยีให้เข้ากับเราเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจัยสำคัญคือเราต้องทำให้เทคโนโลยีเข้ากับคนในองค์กรและหลักการทำงานในองค์กร หรือเรียกว่าปรับเทคโนโลยีเข้าหาคน” นิธินาถ สินธุเดชะ เกริ่นถึงความสำคัญการปรับตัวเข้าหากันระหว่างบุคคลในองค์กรและบริษัท
และอธิบายคำว่า Innovation สำหรับองค์กรนั้นไม่ใช่การเปลี่ยนโลกและไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นสิ่งไม่เคยเกิดขึ้นในองค์กรมาก่อน แต่เกิดขึ้นแล้วบนโลกใบนี้และนำมาปรับเพื่อให้เข้าและสร้างองค์กรให้อยู่ได้ โตได้ และพัฒนาได้ โดยสำคัญที่สุดของการพัฒนาคือ “ความต่อเนื่อง” การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับองค์กร แต่เราต้องทำให้มันผสมผสานกับพนักงาน คู่ค้า และลูกค้าไปด้วยกัน และถ้ายังเป็นปัญหาในองค์กรอยู่ ผู้บริหารควรลุกขึ้นมาบอกกล่าวให้พนักงานฟังถึงความสำคัญในการทำสิ่งที่แตกต่างออกไป
วัชระ เอมวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริการ บริษัท คอมพิวเตอร์โลจี จำกัด
วัชระ เอมวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริการ บริษัท คอมพิวเตอร์โลจี จำกัด, นายกสมาคม Thailand Tech Startup Association (สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่) กล่าวถึงความสำคัญในการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาร่วมงานองค์กร
"เราเลือกคนที่มี Mindset ใกล้เคียงกันและพร้อมที่จะเปลี่ยนไปกับเราสี่ปีที่แล้ว เรามี CEO สองคน พอองค์กรถึงเวลาต่อเปลี่ยนแปลง ผมก็คุยกับ CEO ทีละคน ว่าเรากำลังไป BIG DATA เราไปอย่างไรดี คนแรกบอกขอเวลาสองปี คนที่สองตอบว่า สามเดือนละกัน ลองดูก่อน ผมเลือกคนนี้เลยทันที ส่วนคนที่บอกสองปีให้ไปอยู่ในส่วนของ Support ก่อน” วัชระ เอมวัฒน์ กล่าวและเสริมต่อว่า “เช่นเดียวกันกับการทำงาน เมื่อเราพร้อมลุย และอยากที่จะเปลี่ยน เมื่อถึงจุดที่ผิดพลาด เราจะแก้ไขโดยไม่โยนความผิดให้กับใคร ไม่อย่างนั้นต่อไปจะไม่มีใครกล้าเปลี่ยน” ด้วยแนวคิดเช่นนี้ ส่งผลให้ในวันที่เขาคิดจะเปลี่ยนแนวทางการทำธุรกิจ ทั้งที่ธุรกิจอยู่ในจุดที่ประสบความสำเร็จสูงสุด เขาก็ทำมันออกมาได้อย่างดี “เราเปลี่ยนในวันที่ธุรกิจยังมีน้ำมันหล่อลื่น เรายังมีลูกค้าและรายรับ แต่ถ้าเราเปลี่ยนในวันที่ถึงทางตัน วันนั้นอาจจะแย่กว่านี้”
ธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานบริษัทร่วมทุน และ หัวหน้าโครงการ InVent บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
ในขณะที่ ธนพงษ์ ณ ระนอง ผู้คร่ำหวอดกว่ายี่สิบปีในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเทคโนโลยี ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการส่วนงานบริษัทร่วมทุน, CEO บริษัทคอมพิวเตอร์โลจี และหัวหน้าโครงการ Intouch ผู้อยู่เบื้องหลังการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยมากมาย อาทิ Ookbee, Wongnai ทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง CSLOXINFO ได้แสดงความคิดเห็นจากแง่มุมของฝั่งผู้ลงทุน ที่หลายครั้งมักเกิดคำถามที่ว่าทำไมองค์กรฯ ใหญ่ถึงไม่ลงทุนนวัตกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง เหตุต้องไปพึ่ง Start Up
ก่อนอธิบายล่วงไปถึงด้านอื่นๆ ขอพูดถึง Innovation ซึ่งมีความสำคัญกับองค์กร เพราะสร้างให้วงจรผลิตภัณฑ์สั้นลง การพัฒนาสั้นลง และการไปถึงจุดสูงสุดของสิ้นค้าชิ้นหนึ่งได้อย่างง่ายดาย อย่างในกรณี Air BNB ที่ให้บริการห้องพักทั้งๆ ที่ไม่มีห้องพักเป็นของตัวเอง แต่ภายในระยะเวลาสองปี เขาสามารถเติบโตจนแซงโรงแรมชั้นนำระดับห้าดาว ซึ่งกลุ่มโรงแรมชั้นนำเหล่านั้นคงไม่เคยคิดว่าจะโดนธุรกิจโรงแรมที่ไม่มีโรงแรมอยู่ในมือมาช่วงชิงลูกค้าไปได้ ทั้งหมดนี้ก็เลยเป็นความกดดันให้แต่ละองค์กรพยายามหานวัตกรรมมาทำให้องค์กร แล้วทำไมหลายองค์กรทำไม่ได้ ทั้งที่มีทีมหรือทีมไม่เก่งพอ หรือเราไม่มี Budget
"ผมทำวิจัยและพบว่าเวลาเสนอโปรเจกต์ใหม่ก็จะเจออีกฝั่งที่โต้แย้งว่ากลุ่มลูกค้ามันเล็กไป อย่าทำเลย ไปโฟกัสกับ Core Business ของเราดีกว่า อย่าเสียเวลา เพื่อสร้างรายได้ไม่กี่เปอร์เซ็นต์เลย พอจะทำอะไรที่ใหม่ก็บอกว่าอย่าเลย ไม่ใช่ทาง อีกเหตุผลคือพอจะทำบางคนก็บอกอย่าจ้างเลย เพราะมันเสียเงิน ละเป็นเหตุและผลทำให้ บริษัทใหญ่ๆ ในไทยทำให้พัฒนาต่อไม่ได้"
อีกหนึ่งตัวอย่างก็คือ เวลาสร้างสรรค์นวัตกรรมใดๆ เราต้องคาดการณ์ความคุ้มทุน แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าเราอยู่นิ่งๆ ไม่พัฒนาสิ่งใดมีแต่ถอยลง แต่ถ้าเราลงมือทำอย่างไรก็ต้องมีการพัฒนา เช่นหากเราจะเทียบ A กับ B คือของเดิม เราควรเทียบ A กับ C ด้วย เพราะเมื่อเราทำ มันจะสร้างเสริมสิ่งใหม่ขึ้นมาแน่นอน อาจให้ผลลัพธ์ที่มากกว่าเดิม 2 ถึง 3 เท่า
สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นในองค์กรขนาดใหญ่ของเมืองไทยที่ทำงานผมด้วย คือพอเราพูดถึง Innovation มันไม่ใช่ปัญหาเรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์” แต่มันเป็นปัญหาที่ “การลงมือกระทำ” ว่าทำอย่างไรต่อไปเพื่อให้กระบวนการทำงานเริ่มต้น ดังนั้นเราจะคิดแบบเดิมไม่ได้ มันก็เป็นสิ่งที่เราเห็นกันมาเยอะ
ทั้งนี้ ภายในงานสัมมนา “Insights for Thai Corporates in the Digital Thailand 4.0 Era” ยังได้ยังได้รับเกียรติจากบุคคลในวงการเทคโนโลยีและจากธุรกิจต่างๆ อาทิ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตรัฐมนตรีกระทรวงพลังาน, ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้ง Ookbee, ยอด ชินสุภัคกุล CEO แห่ง Wongnai