LINE ประเทศไทย เผยกลยุทธ์ 2560 สร้างแอพฯ LINE สู่ “Mobile Portal” เสิร์ฟบริการ ดึงพันธมิตร ครอบคลุมทุกมิติการใช้ชีวิต - Forbes Thailand

LINE ประเทศไทย เผยกลยุทธ์ 2560 สร้างแอพฯ LINE สู่ “Mobile Portal” เสิร์ฟบริการ ดึงพันธมิตร ครอบคลุมทุกมิติการใช้ชีวิต

อริยะ พนมยงค์ เผยวิสัยทัศน์ประจำปี 2560 หวังสร้าง LINE ประเทศไทย เป็นมากกว่าแอพสนทนา ชู 4 ปัจจัย สนับสนุน Communication, Content, Services และ Commerce

“ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองของ LINE ด้วยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือที่สูงถึง 94% โดยในปี 2016 LINE ประเทศไทยตั้งเป้าในการเป็นมากกว่าแชท” อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ LINE ประเทศไทย กล่าว พร้อมเผยตัวเลขสำคัญในปีที่ผ่านมา
  • LINE TV ยอดวิวโตเพิ่มขึ้น 136% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเกิดจากซีรี่ส์ที่เป็นทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ อย่าง ไดอารี่ตุ๊ดซี่ส์
  • LINE MAN บริการใหม่ซึ่งประกอบไปด้วยแมสเซนเจอร์ สั่งซื้ออาหารและของสะดวกซื้อ ที่เพิ่งเปิดตัวไปในเดือนพฤษภาคม 2559 ด้วยจำนวนผู้ใช้งานสูงถึง 400,000 คน ทำให้ LINE MAN ขึ้นสู่อันดับ 1 บริการส่งอาหาร ภายในระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
  • LINE GAME ครองอันดับ 1 ตลาดเกมมือถือในประเทศไทย
  • LINE STICKERS ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องด้วยจำนวนสติกเกอร์ดาวน์โหลดที่สูงกว่า 500 ล้านเซ็ต แสดงให้เห็นว่า สติกเกอร์ยังคงเป็นเครื่องมือสื่อสารที่คนไทยนิยมใช้ในการแสดงความรู้สึก
อริยะ เปิดเผยอีกว่าจากตัวความสำเร็จที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงการมาของยุค Mobile-first จึงเป็นที่มาของกลยุทธ์หลักของปี 2560 สู่ Mobile Portal ที่ตอบโจทย์ในการใช้ชีวิตประจำวันที่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือที่สูงถึง 44 ล้านคน หรือประมาณ 2 ใน 3 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ คนไทยเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตครั้งแรกผ่านทางสมาร์ทโฟนมากกว่าคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุนี้ LINE จึงตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางของสมาร์ทโฟนหรือที่เรียกว่า “Mobile Portal” เพื่อช่วยให้ชีวิตคนไทยง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ด้วย 4 ปัจจัยหลักในการใช้ชีวิต Communication จากผลสำรวจของ Nielsen พบว่า คนไทยใช้เวลาเฉลี่ยบนสมาร์ทโฟนสูงถึง 234 นาทีต่อวัน โดย 1 ใน 3 ของเวลาการใช้งานสมาร์ทโฟน หรือประมาณ 70 นาทีต่อวัน ถูกใช้บนแพลตฟอร์ม LINE Content เนื้อหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ เพลง และสิ่งพิมพ์ ต่างถูกย้ายมาอยู่บนโลกออนไลน์ LINE TV โดยคนไทยใช้เวลาดูวิดีโอออนไลน์สูงถึง 133 นาทีต่อวัน หรือคิดเป็น 2 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 65 นาทีต่อวัน ในปีนี้ ในปีนี้เราได้เปิดตัวคอนเทนต์กลุ่มใหม่คือ “กีฬาและความงาม” พร้อมขยายพันธมิตรรายใหญ่ต่างๆ จากผู้ผลิตเนื้อหา พร้อมสร้างฟีเจอร์ “News Tab” ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารง่ายขึ้น พร้อมตั้งเป้าขึ้นสู่อันดับ 1 แพลตฟอร์มข้อมูลข่าวสารบนมือถือ โดยจะเริ่มสร้างรายได้ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ Services ด้านการบริการ ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันจำนวนมากที่ถูกสร้างขึ้นรวมทั้งสิ้นประมาณ 2.2 – 2.6 ล้าน แอปพลิเคชัน ในขณะที่จำนวนแอปพลิเคชันเฉลี่ยที่คนส่วนใหญ่ดาวน์โหลดมีเพียง 32 แอปพลิเคชันต่อหนึ่งอุปกรณ์เท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นมีเพียง 3 – 5 แอปพลิเคชันที่ถูกใช้งานในแต่ละวัน Commerce  ด้านการขายสินค้าและบริการ ปัจจุบันการขายสินค้าออนไลน์หรือ e-commerce ยังคงมีสัดส่วนที่เล็กมากเพียง 3.8% ของมูลค่าการค้าปลีกทั้งหมด LINE จึงมองเห็นโอกาสในการเชื่อมต่อโลกออฟไลน์ และออนไลน์ หรือที่เรียกว่า บริการในรูปแบบ O2O (Offline to Online) เราจึงมีการเปิดตัว Beacon ซึ่งร้านค้าต่างๆ สามารถติดตั้ง Beacon เพื่อให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์และมอบคูปองโปรโมชั่นต่างๆ เมื่อลูกค้า มาใช้บริการที่ร้านค้า “นอกจาก 4 ปัจจัยสำคัญแล้ว LINE ยังได้พัฒนา Chat BOT ขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนแอปพลิเคชันด้วยการเข้าถึงบริการต่างๆ ได้จาก LINE เพียงที่เดียว โดยไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น Chat BOT ของ LINE เอง เช่น LINE FINANCE หรือจากพาร์ทเนอร์ เช่น Uber และ Wongnai รวมถึงแบรนด์ต่างๆ” ทั้งนี้ อริยะ กล่าวทิ้งท้ายถึงเป้าสำคัญในปี 2560 ในฐานะผู้นำด้านแพลตฟอร์มบนมือถือพัฒนาบริการต่างๆ และสร้างโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระบบ Digital Economy ในประเทศไทย