Andy Jassy ซีอีโอ Amazon Web Services เผยแนวคิดให้ธุรกิจอยู่รอดในงาน ‘AWS re:Invent’ ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของทาง อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) ที่จะมีการอัปเดตนวัตกรรมใหม่ เมื่อปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ด้าน Paul Chen Head of Solutions Architect, ASEAN at AWS ย้ำความสำคัญของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน
Andy Jassy ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส ได้กล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อธุรกิจในปัจจุบันไว้อย่างน่าสนใจ อ้างอิงไปถึงสถาณการณ์โควิด-19 ที่ทำให้หลายบริษัททำธุรกิจได้ยากขึ้น ถ้าไม่มีการ ‘reinvent’ อะไรใหม่เสริมเทคโนโลยีให้กับระบบที่มีอยู่เดิม จนกลายเป็นเรื่องที่ ‘รอไม่ได้’ ของหลายองค์กร เพื่อการอยู่รอดในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ใช่แค่รูปแบบการทำธุรกิจเท่านั้น แต่รวมไปถึงพฤติกรรมของคนทั่วโลก แอนดี้เล่าว่า เมื่อดูจากจำนวนบริษัทสาย IT ที่อยู่ในการจัด 10 อันดับเรียงตามรายได้เมื่อปี 2010 จะพบว่าไม่มี AWS อยู่ในนั้นเลย และที่น่าเศร้าคือหลายบริษัทตอนนี้ไม่อยู่แล้ว จนเมื่อเวลาผ่านมา 10 ปีตอนนี้ AWS เป็นอันดับที่ 5 ซึ่งถ้าจะดูให้ลึกลงไปอีกถึงเปอร์เซ็นต์การอยู่รอดของบริษัทที่จัดตั้งในปี 1970 พบว่าเหลือถึงปัจจุบันแค่เพียงร้อยละ 17 เท่านั้น ทำให้เป็นการยากในการสร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและอยู่รอด นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้นำองค์กรจะต้อง reinvent ตัวเองในทุกวันไปตลอดการทำธุรกิจ ซึ่งกุญแจในการทำสิ่งนี้คือการสร้างวัฒนธรรมของการทำ reinvent ให้กับองค์กร รวมไปถึงเข้าใจว่าเทคโนโลยีแบบไหนที่จะช่วยให้การพัฒนาต่อยอดเกิดขึ้นได้จริง อย่างแรก คือ คุณต้องเป็นผู้นำต้องมีความใส่ใจในการคิดค้นและพัฒนาต่อยอดสิ่งที่มีอยู่ หรือพัฒนาสิ่งใหม่เพื่อผลักดันองค์กรไปข้างหน้า – เมื่อคนพูดถึง Invention ก็มักจะคิดไปถึงการสร้างนวัตกรรมที่ไม่เคยมีอยู่มาก่อน หรือการ Reinventing ก็คือการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาไปเป็นสิ่งใหม่ซึ่งนั่นก็ถือเป็นนวัตกรรมเช่นกัน ลองดูตัวอย่างได้จากสิ่งที่ลูกค้าของ AWS อย่าง Airbnb ทำกับพื้นที่พักอาศัก หรือดู Peloton ทำกับพื้นที่จอดรถจักรยาน นี่เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมยิ่งใหญ่ที่เกิดจากการ reinveting บริเวณที่มีอยู่เดิมทั้งนั้น การที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้คุณต้องมีข้อมูลมากพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิ่งที่คุณทำ และคุณควรจะตามหาข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง จนกว่าจะรู้ว่าความจริงแล้วกำลังเกิดอะไรขึ้น และกล้าพอที่จะลุกขึ้นมานำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับบริษัทของคุณ และส่วนนึงของการเปลี่ยนแปลง คือการที่บางครั้งต้องยอมรับว่า เราไม่สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าคุณพบว่าการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ให้ประสบการณ์ที่ดีต่อผู้บริโภคมากกว่าสิ่งที่มีอยู่เดิม การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะอยากให้มันเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม ลองดูตัวอย่างจากหนึ่งในลูกค้า AWS ทำเอาไว้หลายปีก่อนกับ Netflix ที่ได้ Reed Hastins ตัดสินใจพาบริษัทเข้าไปยังเทรนด์ของอนาคต ณ ตอนนั้นอย่างสตรีมมิ่งเซอร์วิซ แล้วทิ้งธุรกิจเช่าวีดีโอของตัวเองอย่างไม่มีเยื่อยใย ซึ่งก็เป็นการตัดสินใจที่ดี จนเป็นการเตือนใจว่า คุณควรเปลี่ยนแปลงธุรกิจของคุณก่อนที่จะมีใครมาบังคับให้คุณเปลี่ยนหรือปิดธรกิจของคุณภายหลัง แนวคิดที่สามที่ควรต้องคิดถึงคือ คุณต้องมีทีมงานที่กระหายต่อการพัฒนาคิดค้นอยู่เสมอ คุณเคยสังเกตไหมว่าคนที่มักจะคิดค้นอะไรใหม่ๆ มักจะเป็นคนที่เพิ่มเข้ามาทำงาน เพราะพวกเขาพร้อมที่จะเหนื่อยเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของตัวเองเพิ่มเติมมากกว่า คุณต้องมั่นใจว่า ‘Builder’ ของคุณนั้นรักการเรียนรู้ เพราะการที่คุณมีทีมบริหารที่ไม่ตื่นตัวต่อนวัตกรรมใหม่ ๆ อาจมองไม่เห็นช่องทางในการปรับตัวเพื่อสิ่งที่ดีกว่าในอนาคต เมื่อคุณมีทีมที่สร้างสรรค์แล้ว ข้อต่อมาคือควรทำให้พวกเขา มุ่งเน้นในการแก้ปัญหาของลูกค้าเป็นหลัก บางบริษัทชอบโฟกัสที่คู่แข่งของพวกเขา จับตามองว่ามีอะไรใหม่เพื่อที่จะทำตามหรือทำให้ดีกว่า บางบริษัทโฟกัสไปที่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งคุณต้องระวังอย่างมากเพราะหลายครั้งพวกเขาคิดค้นนวัตกรรมที่พวกเขามองว่าดี แต่ไม่ได้ตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาให้กับลูกค้าของคุณสักเท่าไหร่ ที่ AWS เราโฟกัสที่ลูกค้าเป็นหลัก สิ่งที่เราสร้างนั้นถูกผลักดันมาจากสิ่งที่ลูกค้าของเราบอกกับเราเสมอ ซึ่งถ้าหากเครื่องมือที่เรามีไม่ตรงกับสิ่งที่ลูกค้ามองหา ระบบก็จะหาสิ่งที่ใกล้เคียง โดยสำรวจจากพฤติกรรมของลูกค้าว่าพวกเขากำลังต้องการสร้างอะไร ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา AWS ได้สร้างนวัตกรรมหลายอย่าง Amazon Simple Storage Service (S3), AWS Elastin Computing (EC2), AWS Relational Databases (RDS), AWS Aurora, AWS SageMaker, และ Amazon Redshift ที่ไม่ได้คิดค้นขึ้นมาเพียงเพราะว่าเป็นอะไรที่เท่ แต่เป็นเพราะเรารู้ว่ามันจะช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ และยกระดับธุรกิจของคุณได้ ทำให้คุณต้องมั่นใจได้ว่าทีมงานของคุณนั้นทำงานเพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญของลูกค้าจริง เรื่องต่อมาคือ ความเร็ว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในทุกขั้นตอนของการทำธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ โดยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ทันที คุณต้องเริ่มสร้างวัฒนธรรมของความกระตือรือล้นในองค์กรอยู่เสมอ เพราะมันอาจสายเกินไปเมื่อมันถึงเวลาที่จะต้อง reinvent ธุรกิจของคุณ และเมื่อพูดถึงอุปสรรคของความเร็ว นั่นก็คือความซับซ้อนของการทำงาน คุณต้องแน่ใจได้จะต้อง ไม่เพิ่มความซับซ้อน ให้กับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับธุรกิจ เพราะเมื่อตัดสินใจที่จะปรับปรุงองค์กรครั้งใหญ่ หลายบริษัทมักจะพบว่ามีคู่ค้าหลายเจ้าพยายามที่จะเข้ามานำเสนอบริการของตัวเอง จนทำให้เกิดปัญหากับทีมงานของคุณ ที่ต้องติดต่อเรื่องนึงกับบริษัทนี้ แต่กลับต้องคุยอีกเรื่องกับอีกบริษัทนึง ทั้งๆ ที่ทุกอย่างเป็นโครงการเดียวกัน และในความเป็นจริงแล้วมันจะง่ายกว่ามาก ถ้าคุณละเอียดเพิ่มสักนิดในการเลือกบริษัทที่เหมาะแก่การสร้างความเปลี่ยนแปลงเพียงบริษัทเดียว หัวข้อต่อมาคือการที่คุณต้อง เลือกบริษัทที่มีแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือให้เลือกใช้ที่หลากหลาย เพื่อหลีกเลี่ยงความซับซ้อนที่จะเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน เพราะคุณไม่สามารถใช้เหล็กเบอร์ 5 ไม้เดียวได้ทั่วสนามกอล์ฟแน่นอน และเมื่อคุณคิดถึงระบบคลาวด์ ที่ส่วนใหญ่คุณจะต้องจ่ายค่าเครื่องมือเท่าที่คุณจะเลือกใช้ และถ้าไม่จ่ายคุณก็จะไม่ได้ใช้เครื่องมือนั้นเลย ทำไมถึงไปใช้แพลตฟอร์มที่เป็นผู้นำ และมีเครื่องมือที่หลากหลาย รวมถึงมอบเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้งาน โดยที่ไม่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงและ “จ่ายเท่าที่คุณใช้” เท่านั้น เพื่อการสร้างนวัตกรรมได้ดั่งใจคิด ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีแพลตฟอร์มไหนที่มีเทคโนโลยีครบเครื่องได้เท่ากับระบบคลาวด์ของ AWS ที่พร้อมให้บริการไม่ว่าจะระบบบริการเก็บฐานข้อมูล, ระบบวิเคราะห์ข้อมูล, แมชชีน เลิร์นนิง, ระบบเทคโนโลยีเพื่อรองรับ IoT (Internet of Things) และเทคโนโลยีอื่น หัวข้อสุดท้ายสำหรับผู้นำองค์กรที่ต้องการ reinvent คือการที่ต้องรวมทุกอย่างที่ผมว่ามา พร้อมกับ เป้าหมายที่ท้าทายจากทีมบริหาร เพื่อผลักดันองค์กรไปข้างหน้าได้เร็วขึ้น จะเห็นได้ชัดเลยจากเรื่องเมื่อ 10 ปีก่อนที่ CIO ของบริษัท GE แจ้งกับทีมงานว่าต้องการที่จะย้าย 50 Application มายังคลาวด์ของ AWS ในช่วงเวลาเพียง 30 วัน จนทำให้มีเสียงบ่น รวมไปถึงความคิดเห็นที่คิดว่างานนี้เป็นไปไม่ได้จากทีมงาน แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น CTO คนนี้ก็ยังจะทำตามแผนเดิมอยู่ดี ผลสุดท้ายคือ GE สามารถย้าย 42 Application ได้สำเร็จในช่วงเวลา 30 วัน ซึ่งแม้จะไม่ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ก็ทำให้ทีมงานพบกับปัญหาด้านความปลอดภัยที่ต้องแก้ไข และได้เรียนรู้วิธีการใช้งานคลาวด์อย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการทำงานครั้งนี้ จนทำให้เป้าหมายต่อมาในการย้ายอีก 9,000 Application ที่เหลือไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะ CTO ของ GE คนนี้ได้สร้างวัฒนธรรมของความเป็นไปได้ ให้เกิดขึ้นในองค์กรเรียบร้อยแล้ว จากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า การตั้งเป้าหมายที่ท้าทายจะเป็นการส่งสัญญาณถึงทีมงานของคุณ ว่าบริษัทกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้พวกเขาเข้าใจทิศทางของบริษัท รวมถึงการจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ทันที กลายเป็นบทสรุปของกุญแจสำคัญในการ reinvent นั่นคือ การรวมกันของวัฒนธรรมองค์กรที่ชอบการคิดค้นและพัฒนา กับแพลตฟอร์มเทคโนโลยีพร้อมเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณ พัฒนาได้แบบก้าวกระโดด ทั้งนี้ Forbes Thailand ได้มีโอกาสพูดคุยผ่านอีเมลกับ Paul Chen, Head of Solutions Architect, ASEAN at AWS ถึงการสร้างสรรค์ธุรกิจและมีส่วนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดใหญ่ในประเด็นที่เกี่ยวกับการสร้างความยั่งยืนในธุรกิจและการยกระดับความสามารถของพนักงานเพื่อให้ก้าวทันธุรกิจบริการที่ทันสมัย คลาวด์ของ AWS มีส่วนสนับสนุนการบริหารเป้าหมายการสร้างธุรกิจอย่างยั่งยืน (sustainability goals) ของธุรกิจได้อย่างไร? Amazon Web Services: AWS มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจของเราด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และบรรลุการใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับโครงสร้างพื้นฐานของเราทั่วโลก AWS ยังมีโครงการริเริ่มมากมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำของเรา และลดการใช้น้ำสำหรับระบายความร้อนของศูนย์ข้อมูล เราดำเนินโครงสร้างพื้นฐานของเราด้วยวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุด ซึ่งสามารถช่วยส่งต่อการประหยัดพลังงานให้กับลูกค้า ไม่ว่าลูกค้าของ AWS จะใช้คลาวด์เพื่อจุดประสงค์ใด เช่นเป็นศูนย์ข้อมูลในองค์กร พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลหรือการใช้บริการใหม่อย่าง machine learning ที่องค์กรต่างๆ ทั่วโลกสามารถใช้ AWS Cloud เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนได้มากขึ้น ในขณะที่ยังคงผลักดันภารกิจหลักของตนเองให้ประสบความสำเร็จ เมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา บริษัทวิจัย 451 Research ได้ทำการสำรวจและเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้านไอทีเมื่อมีการย้ายดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรไปยัง AWS ว่า องค์กรต่าง ๆ ในสหรัฐสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้านไอทีของตนได้เฉลี่ยสูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์ และองค์กรที่ถูกจัดอันอับว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในอันดับ 10 เปอร์เซ็นต์ต้นๆ สามารถลดลงได้ถึง 72 เปอร์เซ็นต์ ที่สำรวจ โดยเป็นผลมาจากเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์ล่าสุดและแพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ที่ประหยัดพลังงานที่ใช้ใน AWS Availability Zones and Regions เทคโนโลยีบริหารธุรกิจที่ทันสมัยสามารถยกระดับวัฒนธรรมองค์กรและพนักงาน ให้มีความคิดและสร้างธุรกิจที่สร้างสรรค์ได้อย่างไร? ธุรกิจในปัจจุบันคือการแข่งขันความเร็ว ระบบคลาวด์จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถมุ่งเน้นไปที่ทรัพยากรทางไอทีในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่สร้างความแตกต่างทางธุรกิจและเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของลูกค้า แทนที่จะต้องมาจัดการโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์ข้อมูลต่างๆ ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายจะน่าสนใจมากและมักเป็นสิ่งที่ลูกค้าพูดถึงเป็นอย่างแรกเมื่อจะใช้งานระบบคลาวด์ แต่เหตุผลอันดับหนึ่งที่องค์กรต่างๆ รวมไปถึงรัฐบาลหันมาใช้ระบบคลาวด์ คือความคล่องตัวและความเร็วที่พวกเขาสามารถเปลี่ยนประสบการณ์ของลูกค้าได้ หากคุณดูโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กรของบริษัท ส่วนใหญ่จะพบว่ากว่าจะได้เซิร์ฟเวอร์โดยทั่วไปจะใช้เวลา 10 ถึง 12 สัปดาห์ (บางครั้งนานกว่านั้น) จากนั้นจะต้องสร้างซอฟต์แวร์ของโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่รอบๆ เช่น การประมวลผล พื้นที่จัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการเรียนรู้ของระบบ แต่ในระบบคลาวด์คุณสามารถจัดเตรียมเซิร์ฟเวอร์ได้หลายพันเครื่องในไม่กี่นาที และเข้าถึงบริการที่ครบถ้วนได้กว่า 200 รายการ ตั้งแต่การประมวลผล พื้นที่จัดเก็บข้อมูล ฐานข้อมูล การวิเคราะห์ ไปจนถึงระบบการปฏิบัติงาน และปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถใช้งานได้ตามต้องการ ทำให้จากที่คุณเริ่มมีไอเดียไปจนถึงการนำคำสั่งต่างๆ ไปใช้นั้นเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น SCB Abacus ที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ล้ำสมัยมาใช้เพื่อความเป็นเลิศด้านงานบริการลูกค้าของ SCB โดยเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่บนบริการของ AWS เช่น Amazon EC2, Amazon S3, Amazon EMR, Hadoop และ Amazon Security อ่านเพิ่มเติม: H&M, Nike เผชิญกระแสต่อต้านในจีน หลังแสดงความเห็นประเด็นสิทธิมนุษยชนไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine