อุกฤษ อุณหเลขกะ จากทีม Ricult ชนะเลิศ Chivas Venture ปี 4 ตัวแทนทีมไทยป้องกันแชมป์เวทีนักธุรกิจเพื่อสังคมระดับโลก - Forbes Thailand

อุกฤษ อุณหเลขกะ จากทีม Ricult ชนะเลิศ Chivas Venture ปี 4 ตัวแทนทีมไทยป้องกันแชมป์เวทีนักธุรกิจเพื่อสังคมระดับโลก

FORBES THAILAND / ADMIN
25 Jan 2018 | 04:50 PM
READ 4896

Chivas Venture ปี 4 ประกาศให้ทีม Ricult (รีคัลท์) ได้รับเงินทุนสนับสนุน 350,000 บาท จากชีวาส รีกัล ประเทศไทย

ทีม Ricult โชว์ผลงานนำเทคโนโลยีมาวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลอากาศ สร้างโมเดลช่วยเหลือเกษตรในการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนในการทำเกษตรกรผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ให้กับเกษตรกร เพื่อให้ได้ข้อมูลสภาพอากาศที่แม่นยำ นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มาช่วยสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อให้เกษตรกรได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น จะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตในการเพาะปลูกได้มากกว่า 30% และลดต้นทุนในการเพาะปลูกได้มากกว่า 20% เท่ากับเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรมากกว่า 50% ซึ่งมีเป้าหมายว่าภายในระยะ 5 ปี รีคัลท์จะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจทุกประเภทของประเทศไทยได้ เควนติน จ็อบ กรรมการผู้จัดการบริษัท เพอร์นอต ริคาร์ด (ประเทศไทย) กล่าว “เมื่อปีที่แล้วผู้ชนะในรอบสุดท้ายของประเทศไทยได้รับรางวัลชนะเลิศระดับโลก เป็นประเทศแรกในเอเชียที่ชนะการประกวด Chivas Venture Global โดย Siam Organic และยังได้มีโอกาสเข้าพบกับนายกฯ ไทยที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการ The Chivas Venture และ Siam Organic ได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบอย่างสำหรับ สตาร์ทอัพ ประเทศไทย ในปีนี้มี 29 ประเทศ 6 ทวีปที่เข้าร่วมโครงการ Chivas Venture ผมขอแสดงความยินดีกับทีม Ricult ที่ชนะเลิศในระดับประเทศ และขอให้โชคดีในการแข่งขันระดับโลกด้วย” อุกฤษ อุณหเลขกะ เล่าถึงความรู้สึกว่า “ก่อนจะขึ้นไปนำเสนอโมเดลบนเวทีตื่นเต้นมากๆ ครับ อยากขอบคุณทาง ชีวาส รีกัล ประเทศไทยที่ให้โอกาสนี้จะทำอย่างเต็มที่ครับ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ไปแข่งในเวทีระดับโลก จะได้เรียนรู้ในการทำธุรกิจเพื่อสังคมเพิ่มขึ้นกับสุดยอดนักธุรกิจจากทั่วโลก และผมเองก็ต้องการขยายเทคโนโลยีและอยากให้เกษตรกรมีรายได้ที่มากขึ้นกว่านี้ครับ” ทั้งนี้ รางวัลรองชนะเลิศอับดับ 1 ได้แก่ รวิกานต์ ภู่หลำ จากทีม Sweet Seeds (สวีท ซีดส์)ได้รับเงินทุนสนับสนุน 250,000 บาท โดยได้ทำการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพด ช่วยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดขาดแคลนพันธุ์สินค้าที่สามารถปลูกในปริมาณน้อยลงแต่ยังได้รายได้สูงอยู่ และลดปัญหาการเอาเปรียบจากกลุ่มพ่อค้าคนกลางซึ่งผูกขาดช่องทางออกสู่ตลาดของสินค้า และกดราคารับซื้อสินค้าจากเกษตรกร และยังได้รับรางวัลพิเศษ AIS The StartUp Award  สนับสนุนโดย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ซึ่งประกอบไปด้วยสิทธิ์การเข้าร่วมโปรแกรม AIS The StartUp Executive Leadership อีกด้วย รางวัลรองชนะเลิศอับดับ 2 ได้แก่ ชัยวัฒน์ เดชเกิด จากทีม Ethnica (เอธนิกา) ถ่ายทอดและนำเสนอเรื่องราวผ่านวิถีชีวิตของชุมชนผ่านงานหัตถกรรม ช่วยรักษาเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชน และ Emmanuelle Bourgois จากทีม Fairagora (แฟร์อโกรา) พัฒนาVerifik8 ซอฟต์แวร์ยกระดับการจัดการวัตถุดิบอาหารทะเล ช่วยยกระดับการดำเนินงานทางสังคม และสิ่งแวดล้อมให้กับระบบจัดการวัตถุดิบอาหารทะเล เพื่อสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้น เชื่อมั่นในการตรวจสอบและรับรองอาหารทะเลอย่างยั่งยืน โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนทีมละ 200,000 บาท สำหรับการค้นหาสุดยอดนักธุรกิจตัวแทนประเทศไทยในปีนี้ ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการทรงคุณวุฒิ 5 ท่านได้แก่ มร.เควนติน จ็อบ กรรมการผู้จัดการบริษัท เพอร์นอต ริคาร์ด (ประเทศไทย), ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.), กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล กรรมการหุ้นส่วนผู้จัดการบริษัท 500 Tuk Tuks, มร.อเล็กซ์ มาฟโร ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการความยั่งยืนแห่งศศินทร์ และดร.ศรีหทัย พราหมณี หัวหน้าฝ่าย เอไอเอส เดอะสตาร์ทอัพ