อาลีบาบา คลาวด์ เร่งลงทุนดาต้า เซ็นเตอร์ในประเทศไทย รองรับเศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตก้าวกระโดด ปักธง 3 อุตสาหกรรมหลัก ค้าปลีก การเงิน และดิจิทัล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ชูความพร้อมการเป็นกระดูกสันหลังของอาลีบาบา กรุ๊ป พร้อมนำโซลูชันตอบทุกไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค พร้อมตั้งเป้าพัฒนาบุคลากร 2 หมื่นคนใน 2 ปี
Tyler Qiu ผู้จัดการประจำประเทศไทย อาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า อาลีบาบา คลาวด์ มีแผนตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทย เพราะเล็งเห็นถึงความต้องการของธุรกิจไทยในการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น
จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) คาดว่าในปี 2570 เศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย จะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 25 ของจีดีพี โดยมีธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและการขยายตัวของโทรศัพท์มือถือ รวมถึงระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีขึ้น เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก
“เราเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลสำคัญต่อประเทศมากเพียงใด และประเทศจะได้ประโยชน์อะไรบ้างในระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงนี้ อาลีบาบา คลาวด์ได้ทุ่มเทเพื่อให้โซลูชันต่างๆ ของเราพร้อมใช้สำหรับทุกคน รวมถึงการทำงานร่วมกับพันธมิตรไทย เพื่อสร้างระบบนิเวศที่รองรับอนาคตทางดิจิทัล” Tyler กล่าวเน้นเจาะ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก
Tyler กล่าวว่า ธุรกิจคลาวด์ของเรามีแผนที่จะลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถระบุเม็ดเงินได้ว่าจะเป็นเท่าไร แต่เป็นเงินลงทุนที่สูงพอสมควร เพื่อให้สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่ชีวิตของผู้คนวันนี้ไปอยู่บนโลกออนไลน์ ดังนั้นเราจึงต้องลงทุนเพื่อสร้างระบบนิเวศด้านดิจิทัลให้สอดรับกับความต้องการของผู้คน ลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อนำประสบการณ์ของเราช่วยให้ลูกค้า คู่ค้าก้าวข้ามความท้าทายด้านดิจิทัลนี้ไปให้ได้ โดยพร้อมวางแผนจะเปิดดาต้าเซ็นเตอร์แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งในขณะนี้ตั้งเป้าหมายจะเปิดตัวในปี 2565 เพื่อรองรับการเติบโตด้านคลาวด์ของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้น และความต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีผลพวงมาจากการระบาดของโควิด-19 ดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใหม่ในประเทศไทยจะนำเสนอผลิตภัณฑ์ และโซลูชันที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจไทยและธุรกิจจากต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้สนับสนุนการดำเนินงานในระดับสากลของอาลีบาบา กรุ๊ป เอง ในด้านค้าปลีก โลจิสติกส์ Fintech สื่อและความบันเทิง และการตลาดดิจิทัล “เราต้องการเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทย ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ของ อาลีบาบา คลาวด์ ซึ่งมีประสบการณ์ระดับโลกในอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ค้าปลีก ไฟแนนซ์ และ ดิจิทัล เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ด้วยเครือข่ายของอาลีบาบา กรุ๊ป ที่มีธุรกิจหลากหลาย จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและพันธมิตรในประเทศไทยได้อย่างแน่นอน” Tyler Qiu กล่าว ตัวอย่างผู้ค้าปลีกไทย จะได้ประโยชน์จากโซลูชันของอาลีบาบา คลาวด์ ที่รองรับการใช้งานกับลาซาด้า (Lazada) ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอาลีบาบา กรุ๊ป และจะสามารถเข้าใช้งานชุดโซลูชันต่างๆ ตั้งแต่โซลูชันในการผสานการทำงานระหว่าง ออนไลน์กับออฟไลน์ และเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ บนเส้นทางการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภค ไปจนถึงบริการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และการตลาดที่เจาะลูกค้าเป็นรายบุคคล ซึ่งเป็นประสบการณ์จากมหกรรมช้อปปิ้งระดับโลกอย่าง 11.11 ซึ่งถือเป็นกิจกรรมค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก มูลค่าธุรกรรมสูงกว่า 7.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองรับคำสั่งซื้อได้ 583,000 รายการต่อวินาที เป็นต้น สำหรับแผนงานในปีนี้ มีแผนจะเปิดตัว Tailand Partner Alliance 100 ซึ่งจะเป็นโปรแกรมเกี่ยวกับระบบนิเวศที่ให้บริการด้านการตลาด สนับสนุนการขยายและเทคนิคให้กับพันธมิตรชาวไทย เพื่อพัฒนาโซลูชันที่ช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ซึ่งนอกจากพันธมิตรจะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบแล้ว ยังเสนออัตรากำไรในระดับสูงให้กับผู้จัดจำหน่าย และสนับสนุนเงินกองทุนให้ผู้ให้บริการด้านเทคนิคและการควบรวมเทคโนโลยีในท้องถิ่น เป็นต้นหนุนสร้างบุคลากร 2 หมื่นคน
การเข้ามาขยายธุรกิจในประเทศไทย ไม่ใช่เพียงแค่การนำเทคโนโลยีระดับโลกเข้ามาเท่านั้น แต่ยังมีแผนในการพัฒนาบุคลากรภายในประเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างอีโคซิสเต็มส์ด้านดิจิทัลให้กับประเทศไทย โดยอาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัว Academic Empowerment Program ซึ่งเป็นโครงการเสริมศักยภาพทางวิชาการให้กับนักศึกษา นักวิชาการ และนักวิจัย เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลของประเทศไทยในอนาคต ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับทรัพยากรด้านคลาวด์คอมพิวติ้งฟรี รวมถึงโอกาสในการฝึกอบรม และความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งเป็น โดยปีแรก ตั้งเป้าหมายพัฒนาบุคลากรให้ได้ 5,000 คน โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล และจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในปีต่อไป โดยมีเป้าหมายพัฒนาบุคลากรให้ได้ 20,000 คน ในปี 2566 และขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ตามกลยุทธ์ 20 ปีของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมนวัตกรรมด้านดิจิทัลและการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน อาลีบาบา คลาวด์ มีดาต้าเซ็นเตอร์อยู่ใน 80 โซนใน 25 ภูมิภาคทั่วโลก ทั้งในประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง ยุโรป (เยอรมนี และสหราชอาณาจักร) และสหรัฐอเมริกา (แถบชายฝั่งตะวันออกและตะวันตก) ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์กว่า 200 รายการ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับคลาวด์ ระบบความปลอดภัย ข้อมูลอัจฉริยะ และแอปพลิเคชันที่กำกับการทำงานด้วย AI เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม: “แรบบิท แคช” เปิดกลยุทธ์ปฏิวัติสินเชื่อ Digital Lendingไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine