วิชัย แสงหิรัญวัฒนา ชูชุดข้อมูลภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์เกมธุรกิจ - Forbes Thailand

วิชัย แสงหิรัญวัฒนา ชูชุดข้อมูลภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์เกมธุรกิจ

PR / PR NEWS
18 Jun 2020 | 06:26 PM
READ 4746

วิชัย แสงหิรัญวัฒนา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โกลบเทค จำกัด เผยมูลค่าตลาด Data Analytics ในประเทศไทยเติบโตเฉลี่ย 18.3% ต่อปี ชี้ภาคธุรกิจต้องมี “ดาต้า” ตัวแปรสำคัญของความสำเร็จในโลกยุคใหม่ ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล แก้เกมธุรกิจ

วิชัย แสงหิรัญวัฒนา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โกลบเทค จำกัด เปิดเผยตามรายงานของ ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน ที่คาดการณ์มูลค่าตลาด Data Analytics ในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 2.8 หมื่นล้านบาทในปี 2561 เป็น 9.2 หมื่นล้านบาทในปี 2568 โตเฉลี่ย 18.3% ต่อปี ซึ่งเชื่อว่า “ดาต้า” หรือข้อมูลต่างๆ จะเป็นตัวแก้เกมให้ธุรกิจพลิกฟื้นกลับมาเป็นปรกติได้ดีที่สุด โดยข้อมูลธุรกิจต่างๆ ที่หน่วยงานเก็บรวบรวมไว้ หากเสริมด้วยข้อมูลปัจจัยภายนอกจะให้ผลลัพธ์เป็นประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจได้มากกว่าหลายเท่าตัว จากแนวโน้มการเติบโตดังกล่าว บริษัทฯ ได้พัฒนา NOSTRA GeoData ชุดข้อมูลภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ให้มีศักยภาพ สำหรับช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในยุคความปกติใหม่ (New normal) ด้วยการบริหารต้นทุนธุรกิจที่คุ้มค่าและมีประสิทธิผลสูงสุด ล่าสุดพัฒนา NOSTRA GeoData ชุดข้อมูลภูมิศาสตร์พร้อมใช้งาน ให้ข้อมูลตำแหน่งที่หลากหลายและแม่นยำ จากการเก็บ Location Data กว่า 2.2 ล้านตำแหน่ง นำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนที่เชิงตำแหน่ง และข้อมูลทางสถิติศาสตร์ (Statistics) หนุน 3 ธุรกิจ อสังหาฯ ค้าปลีก และลิสซิ่ง-สินเชื่อ วิเคราะห์จุดยุทธศาสตร์หาทำเลศักยภาพ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ตรงเป้าหมายมากขึ้น สร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในยุคความปกติใหม่ (New normal) เปิดสถิติธุรกิจที่นำ Location Data ไปใช้และเกิดประโยชน์มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ขนส่งนำทาง หน่วยงานภาครัฐ ค้าปลีก การเงิน และอสังหาฯ “จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลภาคธุรกิจหยุดชะงัก หลังจากมาตรการคลายล็อกดาวน์เฟส 4 หลายธุรกิจเร่งเครื่องฟื้นธุรกิจเข้าสู่สภาวะปรกติ NOSTRA GeoData ชุดข้อมูลภูมิศาสตร์จึงพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นตัวช่วยหนุนธุรกิจฟื้นตัวในการวางกลยุทธ์ด้านทำเลที่ตั้ง สามารถระบุพิกัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ โดยข้อมูลจาก NOSTRA GeoData จะวิเคราะห์เจาะลึกหาพื้นที่ศักยภาพในการทำธุรกิจ ที่ไม่ใช่แค่ทำเลที่ตั้ง แต่รวมถึงค้นหากลุ่มเป้าหมายในการทำการตลาด การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งของคู่แข่งขัน ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ และความสำเร็จในแต่ละพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ ด้วยการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ร่วมกับซอฟต์แวร์ประมวลผล Business Intelligence ต่างๆ นำผลลัพธ์ไปประกอบการวางแผนเชิงพื้นที่ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร เพิ่มมิติในการวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” วิชัยกล่าว วิชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า NOSTRA GeoData ชุดข้อมูลภูมิศาสตร์สามารถแบ่งประเภทของข้อมูลได้เป็น 4 รูปแบบ คือข้อมูลเชิงตำแหน่ง (Point) เช่น ตำแหน่งของสถานที่สำคัญต่าง ๆ ปัจจุบันมีมากกว่า 2.2 ล้านตำแหน่งในประเทศไทย สามารถแบ่งกลุ่มตามประเภทของสถานที่ได้มากกว่า 48 กลุ่ม เพื่อความสะดวกในการนำไปต่อยอด เช่น สถานที่ราชการ บริษัท ห้างสรรพสินค้า  สถาบันการเงิน สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น ข้อมูลเชิงเส้น (Line) เช่น ถนน เส้นทางระบบขนส่งมวลชน เส้นทางรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟฟ้าใต้ดิน ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Polygon) เช่น ขอบเขตการปกครองในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ขอบเขตเทศบาล ขอบเขตแหล่งน้ำ ขอบเขตของตำแหน่งสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น สถานที่ราชการ ท่าอากาศยาน สวนสาธารณะ เป็นต้น รวมไปถึงข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ผังเมือง) และข้อมูลทางสถิติศาสตร์ (Statistics) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข เช่น ข้อมูลประชากรศาสตร์ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ได้แก่ ข้อมูลจำนวนประชากร ข้อมูลจำนวนครัวเรือน ข้อมูลประชากรจำแนกรายอายุ ข้อมูลรายได้และรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือน ทั้งนี้ 3 ธุรกิจ หลักที่อยากแนะนำ NOSTRA GeoData ชุดข้อมูลภูมิศาสตร์ไปใช้เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ คือ 1.อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) ที่นอกเหนือจากการใช้ดาต้าและข้อมูลโลเคชันคอนเท้นต์ ในการช่วยวิเคราะห์เพื่อหาพื้นที่ที่มีศักยภาพขยายโครงการ วิเคราะห์หาจุดยุทธศาสตร์ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ หลังสถานการณ์วิกฤต เข้าสู่ยุคความปรกติใหม่ ข้อมูลโลเคชันคอนเท้นต์ยังช่วยในการวิเคราะห์หาจุดยุทธศาสตร์เพื่อขายห้องที่หลุดจอง หลุดดาวน์ หรือค้างสต๊อกในย่านที่มีกลุ่มเป้าหมาย เป็นการเพิ่มโอกาสในการทำการตลาดให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น 2.ลิสซิ่ง-สินเชื่อ (Leasing) ในภาวะที่ผู้คนลำบาก รายได้ลด รายจ่ายยังเท่าเดิม ธุรกิจสินเชื่อรถจักรยานยนต์และธุรกิจบริษัทสินเชื่อส่วนบุคคลจัดเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสวนกระแส อาจเป็นโอกาสในการขยายพาร์ทเนอร์ธุรกิจ หรือขยายสาขาบริการเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ โดยการวิเคราะห์รอบด้านเพื่อให้มีโอกาสเติบโตจริง จากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์แฟคเตอร์ปัจจัยความสำเร็จต่างๆ รวมถึงข้อมูลโลเคชันคอนเท้นต์ ช่วยวิเคราะห์และช่วยตัดสินใจในการขยายสาขาไปยังทำเลที่ถูกต้องได้ภายในเวลาอันรวดเร็วได้บนพื้นฐานข้อมูล 3.ค้าปลีก (Retails) สามารถนำการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์การตั้งสาขาที่เหมาะสม หรือการปรับใช้ในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพ ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ในการช้อปปิ้งและบริการการขายที่ไม่ติดขัดเนื่องจากมีสินค้าพร้อมส่งเพื่อให้บริการตามความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ โดยไม่เกิดการ Stock ของที่ไม่มี Demand จนเกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตามจากสถิติข้อมูลพบว่า ธุรกิจที่ได้นำข้อมูลเชิงพื้นที่ไปใช้ประโยชน์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจขนส่ง/การนำทาง หน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจค้าปลีก (รีเทล) ธุรกิจการเงิน และอสังหาริมทรัพย์ และแม้ว่า Data Analytics จะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี แต่ในประเทศไทยยังพบว่าบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ยังคงขาดแคลน บริษัทจึงมีบริการ Geospatial Data Analytics เพื่อช่วยธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็ก อย่าง สตาร์ทอัพหรือเอสเอ็มอี และรัฐวิสาหกิจวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลต่างๆ ร่วมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยมีทีม Data Scientists ที่มีประสบการณ์ในงานด้านการวิเคราะห์และข้อมูลโลเคชันคอนเท้นต์จากนอสตร้าแมพ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ในด้านการอธิบายปัญหา หาสาเหตุ วิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อทำนายหาความเป็นไปได้ถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา และวิเคราะห์หาข้อแนะนำ เพื่อหาแนวทางการรับมือกับอนาคตในแต่ละ Scenarios ได้อย่างเหมาะสม อ่านเพิ่มเติม: 5 บริษัทเด่นจากทำเนียบ “FORBES BLOCKCHAIN 50” 2020