SEAC แนะกลยุทธ์สำคัญนำองค์กรฝ่าวิกฤตโควิด-19 - Forbes Thailand

SEAC แนะกลยุทธ์สำคัญนำองค์กรฝ่าวิกฤตโควิด-19

SEAC ชี้ช่องเสริมแกร่งกลยุทธ์องค์กร ยกระดับBusiness – People – Culture” จัดสัมมนาออนไลน์ ดึง 3 สถาบันชั้นนำระดับโลก Michigan's Ross School of Business, The Ken Blanchard Companies และ The Arbinger Institute ร่วมให้ความรู้

จากการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง จนทำให้เศรษฐกิจประเทศทั่วโลกหดตัวและอัตราการจ้างงานแบบเต็มเวลาลดลงเป็นจำนวนมาก ากรายงานของ IMF บ่งชี้ว่า ภาพรวมของตลาดเศรษฐกิจโลก GDP ขยับตัวอยู่ที่ร้อยละ 6 โดยในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ที่กำลังเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเฉลี่ยเพียงร้อยละ 4.3 เท่านั้น

ขณะที่ รายงานของ UNTAD ปัจจัยนี้นับเป็นตัวแปรที่สำคัญ เพราะตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจหรือ GDP ของโลกกำลังดีดตัวเพิ่มขึ้น บางประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ กำลังส่งสัญญาณไปในทิศทางบวก การติดสปีด “องค์กร” จึงจำเป็นเร่งด่วนต่อการวางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ (Business) เสริมศักยภาพคน (People) ตลอดจนวัฒนธรรมองค์กร (Culture) ที่ขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างทรงพลัง

ภายใต้บริบทการสร้าง NEW Perspective ที่ผสานการยกระดับทั้งด้าน ธุรกิจ คน และ วัฒนธรรมองค์กร SEAC โดย อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียนได้เชื้อเชิญองค์กรระดับโลก อย่าง Michigan's Ross School of Business มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา, The Arbinger Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา และ The Ken Blanchard Companies สถาบันพัฒนาศักยภาพผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

เปิดวทีสัมมนาออนไลน์ Global LIVE Conference ภายใต้หัวข้อ “From Crisis to Opportunity: Igniting Your Business, People, and Culture” ที่สรุปเทรนด์และแนวทางใหม่ของโมเดลธุรกิจเพื่อให้องค์กรทั่วโลกได้เข้าใจมิติของเศรษฐกิจโลกที่กำลังหมุนบนแกนใหม่ และสามารถนำมุมมองต่างๆ ของตัวอย่างธุรกิจที่ “รุ่ง” และ “รอด” มาปรับใช้

3 สถาบันชั้นนำชูแนวทางสำคัญ

Melanie Weaver Barnett ตำแหน่ง Chief Executive Education Officer, the University of Michigan's Ross School of Business กล่าวระหว่างการสัมมนาออนไลน์ไว้ว่า ที่ผ่านมา เราได้ร่วมวางแผนและสร้างกลยุทธ์รูปแบบต่างๆ พร้อมทั้งวางแนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับองค์กรชั้นนำทั่วโลก ภายใต้กลยุทธ์ 4 ขั้นได้แก่ Discover ศึกษาและวิเคราะห์, Design ออกแบบกลยุทธ์หรือโมเดลทางธุรกิจ, Deliver ส่งมอบโซลูชั่นที่ตรงตามความต้องการ, และ Deploy เพื่อสามารถปรับใช้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย

โดยล่าสุดเราได้ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลธุรกิจในช่วงวิกฤตโควิด-19 ขององค์กรชั้นนำระดับโลก พร้อมตกผลึกมุมมองภายใต้แนวคิด OUTSIDE-IN THINKING” ที่เปรียบเสมือนการคิดนอกกรอบเพื่อทำลายความคิดแบบวงกลมเดิมๆ (Circular Thinking) และกระตุ้นความคิดและผลลัพธ์เชิงสร้างสรรค์ใหม่ โดยเฉพาะช่วงวิกฤตโควิดที่จะง่ายต่อการตกอยู่ในวงความคิดแบบเดิมๆ

ด้าน Dobie Houson ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท The Employee Work Passion Company และ Former Director of Marketing Research, The Ken Blanchard Companies กล่าวว่า จากการทำวิจัยอย่างเจาะลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ที่ส่งผลบวกต่อการทำงานที่ลื่นไหล ทำให้ทราบถึงความจริงที่ว่า ต้นตอของปัญหาที่หลากหลายองค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญคือ การมุ่งใช้เกณฑ์การวัดความมีส่วนร่วมของพนักงานต่อองค์กร (Employee Engagement) ที่ทำให้องค์กรขาดพลังความทุ่มเท แรงใจและความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน อันเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและผลักดันองค์กรให้ไปต่อได้ "แท้จริงแล้ว องค์กรมองหาทรัพยากรคนที่มีลักษณะเป็น PassionateEmployee ที่มีความรู้สึกรักและหลงใหลในงานที่ทำ มีความมุ่งมั่นกระตือรือร้นให้งานนั้นประสบความสำเร็จ ความมั่นใจที่จะอยู่กับองค์กร พร้อมรับฟังและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ" นอกจากนี้ สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างแรงบันดาลในการทำงานของคนในบริษัทหรือพนักงานคือหัวหน้างานที่ต้องแสดงออกถึงความหลงใหลและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ด้าน Mike Rener ผู้ดำรงตำแหน่ง Director of Client Solutions, The Arbinger Institute กล่าวว่า อุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลง คือ การจำกัดกรอบความคิด Mindset – มายด์เซ็ต” หรือ “วิธีการมองโลกและสภาพแวดล้อมรอบข้าง” โดยมีดัชนีตัวเลขบ่งชี้ว่า องค์กรที่ตั้งต้นนการทรานส์ฟอร์มด้วยการปรับเปลี่ยน Mindset ก่อน มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จกว่าผู้ที่ไม่ทำถึง 4 เท่า เพราะ Mindset ที่ถูกต้องและเหมาะสมคือฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนทุกพฤติกรรมของมนุษย์ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Inward Mindsetหรือ การมองที่เป้าหมายของตนเองเป็นใหญ่ และเห็นคนอื่นแค่เป็นวัตถุสิ่งของ เป็นพาหนะสู่เป้าหมายของตนเอง เป็นอุปสรรคและสิ่งกีดกั้นการมีความสุขของตนเอง หรือแม้แต่เป็นแค่สิ่งไร้ค่า ไร้ตัวตน ไร้ซึ่งความสำคัญ ตรงกันข้ามกับ Outward Mindset ที่เป็นการมองคนรอบข้างเป็น “เห็นคนเป็นคน” และให้ความสำคัญกับผู้อื่นไม่น้อยไปกว่าความสำคัญต่อตัวเราเอง "ปัจจุบัน ปฎิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีกำลังถูกพัฒนาก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แต่วิธีคิดหรือ Mindset คือสิ่งที่ AI ยังไม่สามารถทำแทนหรือเลียนแบบมนุษย์ได้ การมีวิธีคิดที่ถูกต้องนอกจากจะช่วยให้องค์กรสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงแล้ว ยังเพิ่มคุณค่าให้กับตัวพนักงานให้เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอีกด้วย อ่านเพิ่มเติม: เทรนด์การเติบโต พฤติกรรมผู้บริโภค ในทศวรรษหน้า
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine