SEAC ชี้ช่องเสริมแกร่งกลยุทธ์องค์กร ยกระดับ “Business – People – Culture” จัดสัมมนาออนไลน์ ดึง 3 สถาบันชั้นนำระดับโลก Michigan's Ross School of Business, The Ken Blanchard Companies และ The Arbinger Institute ร่วมให้ความรู้
จากการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง จนทำให้เศรษฐกิจประเทศทั่วโลกหดตัวและอัตราการจ้างงานแบบเต็มเวลาลดลงเป็นจำนวนมาก จากรายงานของ IMF บ่งชี้ว่า ภาพรวมของตลาดเศรษฐกิจโลก GDP ขยับตัวอยู่ที่ร้อยละ 6 โดยในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ที่กำลังเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเฉลี่ยเพียงร้อยละ 4.3 เท่านั้น
ขณะที่ รายงานของ UNTAD ปัจจัยนี้นับเป็นตัวแปรที่สำคัญ เพราะตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจหรือ GDP ของโลกกำลังดีดตัวเพิ่มขึ้น บางประเทศเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ กำลังส่งสัญญาณไปในทิศทางบวก การติดสปีด “องค์กร” จึงจำเป็นเร่งด่วนต่อการวางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ (Business) เสริมศักยภาพคน (People) ตลอดจนวัฒนธรรมองค์กร (Culture) ที่ขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างทรงพลังภายใต้บริบทการสร้าง NEW Perspective ที่ผสานการยกระดับทั้งด้าน ธุรกิจ คน และ วัฒนธรรมองค์กร SEAC โดย อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียนได้เชื้อเชิญองค์กรระดับโลก อย่าง Michigan's Ross School of Business มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา, The Arbinger Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา และ The Ken Blanchard Companies สถาบันพัฒนาศักยภาพผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
เปิดเวทีสัมมนาออนไลน์ Global LIVE Conference ภายใต้หัวข้อ “From Crisis to Opportunity: Igniting Your Business, People, and Culture” ที่สรุปเทรนด์และแนวทางใหม่ของโมเดลธุรกิจเพื่อให้องค์กรทั่วโลกได้เข้าใจมิติของเศรษฐกิจโลกที่กำลังหมุนบนแกนใหม่ และสามารถนำมุมมองต่างๆ ของตัวอย่างธุรกิจที่ “รุ่ง” และ “รอด” มาปรับใช้
3 สถาบันชั้นนำชูแนวทางสำคัญ
Melanie Weaver Barnett ตำแหน่ง Chief Executive Education Officer, the University of Michigan's Ross School of Business กล่าวระหว่างการสัมมนาออนไลน์ไว้ว่า ที่ผ่านมา เราได้ร่วมวางแผนและสร้างกลยุทธ์รูปแบบต่างๆ พร้อมทั้งวางแนวทางการแก้ไขปัญหาให้กับองค์กรชั้นนำทั่วโลก ภายใต้กลยุทธ์ 4 ขั้นได้แก่ Discover ศึกษาและวิเคราะห์, Design ออกแบบกลยุทธ์หรือโมเดลทางธุรกิจ, Deliver ส่งมอบโซลูชั่นที่ตรงตามความต้องการ, และ Deploy เพื่อสามารถปรับใช้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย
โดยล่าสุดเราได้ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลธุรกิจในช่วงวิกฤตโควิด-19 ขององค์กรชั้นนำระดับโลก พร้อมตกผลึกมุมมองภายใต้แนวคิด “OUTSIDE-IN THINKING” ที่เปรียบเสมือนการคิดนอกกรอบเพื่อทำลายความคิดแบบวงกลมเดิมๆ (Circular Thinking) และกระตุ้นความคิดและผลลัพธ์เชิงสร้างสรรค์ใหม่ โดยเฉพาะช่วงวิกฤตโควิดที่จะง่ายต่อการตกอยู่ในวงความคิดแบบเดิมๆ
ด้าน Dobie Houson ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท The Employee Work Passion Company และ Former Director of Marketing Research, The Ken Blanchard Companies กล่าวว่า จากการทำวิจัยอย่างเจาะลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ที่ส่งผลบวกต่อการทำงานที่ลื่นไหล ทำให้ทราบถึงความจริงที่ว่า ต้นตอของปัญหาที่หลากหลายองค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญคือ การมุ่งใช้เกณฑ์การวัดความมีส่วนร่วมของพนักงานต่อองค์กร (Employee Engagement) ที่ทำให้องค์กรขาดพลังความทุ่มเท แรงใจและความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน อันเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและผลักดันองค์กรให้ไปต่อได้ "แท้จริงแล้ว องค์กรมองหาทรัพยากรคนที่มีลักษณะเป็น PassionateEmployee ที่มีความรู้สึกรักและหลงใหลในงานที่ทำ มีความมุ่งมั่นกระตือรือร้นให้งานนั้นประสบความสำเร็จ ความมั่นใจที่จะอยู่กับองค์กร พร้อมรับฟังและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ" นอกจากนี้ สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างแรงบันดาลในการทำงานของคนในบริษัทหรือพนักงานคือหัวหน้างานที่ต้องแสดงออกถึงความหลงใหลและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ด้าน Mike Rener ผู้ดำรงตำแหน่ง Director of Client Solutions, The Arbinger Institute กล่าวว่า “อุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลง คือ การจำกัดกรอบความคิด “Mindset – มายด์เซ็ต” หรือ “วิธีการมองโลกและสภาพแวดล้อมรอบข้าง” โดยมีดัชนีตัวเลขบ่งชี้ว่า องค์กรที่ตั้งต้นนการทรานส์ฟอร์มด้วยการปรับเปลี่ยน Mindset ก่อน มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จกว่าผู้ที่ไม่ทำถึง 4 เท่า เพราะ Mindset ที่ถูกต้องและเหมาะสมคือฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนทุกพฤติกรรมของมนุษย์ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ Inward Mindsetหรือ การมองที่เป้าหมายของตนเองเป็นใหญ่ และเห็นคนอื่นแค่เป็นวัตถุสิ่งของ เป็นพาหนะสู่เป้าหมายของตนเอง เป็นอุปสรรคและสิ่งกีดกั้นการมีความสุขของตนเอง หรือแม้แต่เป็นแค่สิ่งไร้ค่า ไร้ตัวตน ไร้ซึ่งความสำคัญ ตรงกันข้ามกับ Outward Mindset ที่เป็นการมองคนรอบข้างเป็น “เห็นคนเป็นคน” และให้ความสำคัญกับผู้อื่นไม่น้อยไปกว่าความสำคัญต่อตัวเราเอง "ปัจจุบัน ปฎิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีกำลังถูกพัฒนาก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว แต่วิธีคิดหรือ Mindset คือสิ่งที่ AI ยังไม่สามารถทำแทนหรือเลียนแบบมนุษย์ได้ การมีวิธีคิดที่ถูกต้องนอกจากจะช่วยให้องค์กรสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงแล้ว ยังเพิ่มคุณค่าให้กับตัวพนักงานให้เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอีกด้วย” อ่านเพิ่มเติม: เทรนด์การเติบโต พฤติกรรมผู้บริโภค ในทศวรรษหน้าไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine