โครงการริเริ่ม PERPETUAL PLANET INITIATIVE MISSION BLUE: พื้นที่ HOPE SPOT นูซา เปนิด้า - Forbes Thailand

โครงการริเริ่ม PERPETUAL PLANET INITIATIVE MISSION BLUE: พื้นที่ HOPE SPOT นูซา เปนิด้า

FORBES THAILAND / ADMIN
17 Dec 2024 | 03:30 PM
READ 65

พื้นที่อนุรักษ์ HOPE SPOT ในทะเลบาหลี ที่ซึ่งร้อยเรียงความสุขของชุมชน การท่องเที่ยว และการอนุรักษ์ธรรมชาติให้เป็นหนึ่งเดียว

พื้นที่คุ้มครองทางทะเล Nusa Penida (นูซา เปนิด้า) คือดินแดนใต้ทะเลที่งดงามและเป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของ Hope Spot จาก Mission Blue ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายแสนคนต่อปีเพื่อชมทิวทัศน์และดำน้ำเคียงข้างกับปลากระเบน ปลาแสงอาทิตย์ และเต่าทะเล

ด้วยการสนับสนุนจาก Rolex Perpetual Planet Initiative และ Mission Blue แชมเปี้ยนอย่าง Rili Djohani และ Wira Sanjaya ช่วยชาวบ้านในพื้นที่สร้างสมดุลระหว่างระบบนิเวศ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ผลงานของพวกเขาแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการอนุรักษ์มหาสมุทรที่ทำร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและการท่องเที่ยวได้อย่างกลมกลืน

ฝูงปลาและปะการังที่อุดมสมบูรณ์ตามชายฝั่งของเกาะ Nusa Lembongan การดำน้ำลึกทำให้เห็นถึงความหลากหลาย
ทางชีวภาพทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ในพื้นที่คุ้มครองทางทะเล Nusa Lembongan ของอินโดนีเซีย

ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 ตามคำสั่งกระทรวง พื้นที่คุ้มครองทางทะเล Nusa Penida ซึ่ง Riji Djohani นักนิเวศวิทยาทางทะเล มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 20,057 เฮกตาร์ รอบเกาะ Nusa Penida, Nusa Lembongan และ Nusa Ceningan ในทะเลบาหลี Rili Djohani ได้ทำงานร่วมกับรัฐบาลอินโดนีเซียและชุมชนท้องถิ่นผ่านมูลนิธิที่ไม่แสวงหาผลกำไร Coral Triangle Center หรือ CTC ของเธอ ในการแบ่งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลออกเป็นโซนต่างๆ เพื่อการท่องเที่ยว การทำฟาร์มสาหร่าย การประมง และพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องเคารพสักการะและให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมตามวัฒนธรรมท้องถิ่น

พื้นที่คุ้มครองทางทะเล Nusa Penida ตั้งอยู่ในสามเหลี่ยมปะการัง (Coral Triangle) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลของโลก ครอบคลุมทะเลรอบประเทศฟิลิปปินส์ ติมอร์-เลสเต หมู่เกาะโซโลมอน และอินโดนีเซีย แค่พื้นที่คุ้มครองทางทะเล Nusa Penida เพียงแห่งเดียวมีปลาที่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังราว 570 สายพันธุ์ รวมถึงปลากระเบนและปลาแสงอาทิตย์ขนาดยักษ์ที่สง่างาม และปะการังเกือบ 300 สายพันธุ์ ซึ่งคิดเป็นกว่า 76 เปอร์เซ็นต์ของสายพันธุ์ปะการังทั้งหมดที่เคยค้นพบ ชาวบ้านราว 48,000 คนต้องพึ่งพาระบบนิเวศทางทะเลในการดารงชีวิต ในทุกปี ทิวทัศน์ที่แสนงดงามของ Nusa Penida สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนได้หลายพันคน นำมาซึ่งความท้าทายและโอกาสใหม่ๆ สำหรับเกาะแห่งนี้

Rili Djohani รู้ดีว่าหากต้องการให้มาตรการป้องกันพื้นที่คุ้มครองทางทะเลแห่งนี้ประสบความสำเร็จ ประชากรที่อาศัยอยู่บนเกาะทั้งสามแห่งต้องสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืนและต้องเป็นผู้พิทักษ์ทะเลเองด้วย ดังนั้นมูลนิธิ CTC จึงสนับสนุนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนและความมั่นคงด้านอาหารแก่ชาวบ้าน รวมถึงจัดกิจกรรมเผยแพร่และฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ จนกระทั่งปี 2020 การบริหารจัดการพื้นที่ของ CTC จึงได้รับการยกย่องจาก Mission Blue พันธมิตรของโครงการ Rolex Perpetual Planet Initiative โดยประกาศให้พื้นที่คุ้มครองทางทะเล Nusa Penida เป็น Hope Spot พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลที่สำคัญ โดยมี Rili Djohani และ Wira Sanjaya เป็นแชมเปี้ยนหรือผู้นำของพื้นที่ Hope Spot แห่งนี้


"เป็นสิ่งสำคัญมากที่ชาวบ้านต้องมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

และได้ประโยชน์จากพื้นที่ Hope Spot แห่งนี้ เพื่อที่จะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง" 

Rili Djohani นักนิเวศวิทยาทางทะเล และแชมเปี้ยน Hope Spot


ทุกวันนี้ Rili Djohani และ Wira Sanjaya ยังคงเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้พื้นที่คุ้มครองทางทะเลแห่งนี้ประสบความสำเร็จ โครงการสำคัญหลักอันหนึ่งคือการฟื้นฟูป่าชายเลน ซึ่งถูกตัดทำลายเพื่อทำไม้ มูลนิธิ CTC ได้แบ่งปันความรู้เกี่ยวกับป่าชายเลน ประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างเช่น ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น การป้องกันการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนช่วยกันดูแลให้ป่าชายเลนกลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง ด้วยความพยายามฟื้นฟูป่าขนาดใหญ่ พวกเขาได้ปลูกต้นกล้าไปแล้วกว่า 10,000 ต้น

มูลนิธิ Coral Triangle Center ช่วยชาวบ้านในท้องถิ่นฟื้นฟูการทำฟาร์มสาหร่ายทะเลตามวิถีดั้งเดิม 
และขยายขอบเขตการผลิตสาหร่ายทะเล แนวทางการทำงานที่ยั่งยืนนี้ช่วยให้ชาวบ้านมีแหล่งรายได้เพิ่มเติม 
อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศทางทะเลรอบๆ อีกด้วย

การให้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นหลักสำคัญในการทำงานของ Rili Djohani และ Wira Sanjaya พวกเขาได้ดึงคนหนุ่มสาวบนเกาะต่างๆ ให้มามีส่วนร่วมในโครงการฟื้นฟูปะการัง แนวปะการังรอบเกาะ Nusa Penida ไม่เพียงแค่มีความสำคัญในระดับโลก เนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพที่ยอดเยี่ยม แต่ยังเป็นเพราะนักอนุรักษ์พบว่าปะการังเหล่านั้นดูจะมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและน้ำที่อุ่นขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งอาจเป็นเพราะการขึ้นมาของน้ำที่เย็นและอุดมไปด้วยสารอาหารจากทะเลลึก แต่ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใด ปะการังรอบเกาะ Nusa Penida อาจจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับความพยายามในการอนุรักษ์ปะการังทั่วโลก

เพื่อช่วยฟื้นฟูและส่งเสริมความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและอุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้ โครงการได้ติดตั้งโครงสร้างที่เชื่อมต่อกับพื้นทะเลมากกว่า 400 จุด ซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานรองเพื่อให้ปะการังใหม่สามารถเติบโตได้ พวกเขายังได้ปลูกปะการัง 6,000 ต้น คลุมพื้นที่ปะการังที่เสียหายกว่า 240 ตารางเมตร Rili และทีมงานของเธอยังรู้ว่าการกระตุ้นให้คนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในระยะยาว การอนุรักษ์ทางทะเลต้องเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมท้องถิ่น


​เกษตรกรปลูกสาหร่ายในพื้นที่เพาะปลูกสาหร่าย Satya Posana Nusa 
บนเกาะ Nusa Lembongan ซึ่งอยู่ในพื้นที่คุ้มครองทางทะเล Nusa Penida

ด้วยแรงบันดาลใจจากประเพณีโบราณของอินโดนีเซียที่เรียกว่า Wayang หรือการแสดงหุ่นเงา พวกเขาได้สร้างสรรค์การแสดงในธีมทะเล ด้วยหุ่นที่ทำขึ้นมาอย่างสวยงาม และดึงชุมชนให้เข้ามาร่วมสำรวจประเด็นต่างๆ ด้วยกันผ่านศิลปะแบบดั้งเดิมนี้


"เราทำการแสดงเยอะมากเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางทะเลและพลาสติก ซึ่งต้องดึงชุมชนท้องถิ่นทั้งผู้ใหญ่และเด็ก

ให้มาช่วยกันคิดและพูดคุยถึงสิ่งที่พวกเขาสามารถทาได้เพื่อหาทางแก้ปัญหานี้" 

Rili Djohani นักนิเวศวิทยาทางทะเล และแชมเปี้ยน Hope Spot


ตอนนี้ Rolex และ Mission Blue กาลังช่วย Rili Djohani และ Wira Sanjaya เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่คุ้มครองทางทะเลแห่งนี้ และช่วยรัฐบาลอินโดนีเซียปกป้องพื้นที่ 30 เปอร์เซ็นต์ของทะเล หรือราวประมาณ 97.5 ล้านเฮกตาร์ ด้วยการแบ่งปันวิธีการของพวกเขา พวกเขากำลังช่วยนักอนุรักษ์คนอื่นๆ ในการจัดตั้งและพัฒนาพื้นที่คุ้มครองทางทะเลทั่วสามเหลี่ยมปะการัง (Coral Triangle) และพื้นที่อื่นๆ ให้เกิดขึ้น Rili Djohani และ Wira Sanjaya กำลังพยายามทำให้เกาะ Nusa Penida เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกด้วยการดึงนักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการของพวกเขา

​เกี่ยวกับโครงการ PERPETUAL PLANET INITIATIVE

เป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษที่ Rolex ให้การสนับสนุนนักสำรวจผู้บุกเบิกและผลักดันขีดความสามารถเพื่อก้าวข้ามขอบเขตความพยายามของมนุษย์ บริษัทฯ ได้ต่อยอดจากการสนับสนุนการสำรวจเพื่อค้นพบสิ่งใหม่ สู่การค้นหาแนวทางเพื่อปกป้องโลก พร้อมตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนบุคคลและองค์กรในระยะยาว โดยใช้วิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาวิธีแก้ปัญหาความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน

​การมีส่วนร่วมนี้สะท้อนชัดผ่านการเปิดตัวโครงการ Perpetual Planet Initiative อันเป็นแนวคิดริเริ่มในปี 2019 ซึ่งในช่วงแรกมุ่งเน้นไปที่การมอบรางวัล Rolex Awards for Enterprise รวมถึงความร่วมมือระยะยาวกับ Mission Blue และ National Geographic Society

ปัจจุบัน โครงการฯ ได้สร้างเครือข่ายพันธมิตรอื่นๆ กว่า 20 ราย โดยรวมถึง คริสตินา มิตเตอร์ไมเออร์ และพอล นิกเลน กับผลงานของพวกเขาในฐานะช่างภาพด้านการอนุรักษ์, โครงการ Rewilding Argentina และ Rewilding Chile ซึ่งเป็นองค์กรในเครือของ Tompkins Conservation เพื่อปกป้องภูมิประเทศในอเมริกาใต้, โครงการ Coral Gardeners ปลูกปะการังเพื่อสร้างแนวปะการัง, โครงการสำรวจ Under The Pole ที่ขยายขอบเขตของการสำรวจใต้ทะเล และสตีฟ บอยส์ และการสำรวจกระดูกสันหลังอันยิ่งใหญ่แห่งแอฟริกา เพื่อสำรวจแม่น้ำสายหลักในทวีปแอฟริกา

Rolex ยังสนับสนุนนักสำรวจ นักวิทยาศาสตร์ และนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ด้วยการมอบทุนการศึกษาและให้ทุนสนับสนุนผ่านโครงการต่างๆ อาทิ Our World-Underwater Scholarship Society และ The Rolex Explorers Club Grants