HSBC ผู้นำการปฏิวัติกรีนไฟแนนซ์ในไทย หนุนลูกค้าไพรเวทแบงก์ มุ่งสู่การสร้างความยั่งยืน - Forbes Thailand

HSBC ผู้นำการปฏิวัติกรีนไฟแนนซ์ในไทย หนุนลูกค้าไพรเวทแบงก์ มุ่งสู่การสร้างความยั่งยืน

การเปลี่ยนแปลงสู่ Net Zero หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ กลายเป็นเรื่องสําคัญของผู้นําธุรกิจและผู้กําหนดนโยบายทั่วโลก ส่งผลให้นักลงทุนในเอเชียเริ่มตระหนักถึงความสําคัญในการพิจารณานําประเด็นเรื่องความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุน ของผู้มีความมั่งคั่งสูง หรือ High-Net-Worth Individual (HNWI) และผู้มีความมั่งคั่งสูงพิเศษ หรือ Ultra-High-Net-Worth Individual (UHNWI) และธุรกิจครอบครัว ซึ่งได้เริ่มพิจารณาประเด็น ESG (Environmental, Social and Governance) หรือสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล มาใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการเข้าลงทุน ศรัณยา อรุณศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร HSBC Global Private Banking ประเทศไทย กล่าวอย่างไรก็ตาม HSBC มีความมุ่งมั่นที่จะให้ความรู้แก่ลูกค้าเกี่ยวกับความสําคัญของการลงทุนที่ยั่งยืน เพื่อให้ลูกค้าได้ตระหนักในเรื่อง ESG มากขึ้นเช่นกัน“การลงทุน ESG กําลังได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุนชาวไทยเป็นอย่างมาก และ HSBC ได้ให้คําแนะนํากับลูกค้า โดยนําเสนอโซลูชั่นทางการลงทุนที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด” ศรัณยาอธิบาย“ลูกค้าเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้นว่า ความยั่งยืน มีความสําคัญอย่างยิ่งยวดต่อการเติบโตของธุรกิจและผลตอบแทนจากการลงทุน แต่อาจต้องใช้เวลาสักระยะจึงจะเห็นผลจากการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนได้อย่างชัดเจน”นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยังได้มีการจัดทําคู่มือการรายงานความยั่งยืนสําหรับบริษัทจดทะเบียน พร้อมกําหนดตัวชี้วัด ESG สําหรับแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมจากสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบและการสนับสนุนที่เอื้ออํานวยมากขึ้น นั้นมีส่วนผลักดันให้เกิดความสนใจในเรื่องการลงทุนที่ยั่งยืนให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้นเช่นกันHSBC สามารถจับกระแสสําคัญของตลาดสีเขียว (Green Market) ที่กําลังเติบโตอยู่ในขณะนี้ ธนาคารยังมีผลงานความสําเร็จในหลายโครงการด้านการเงินที่ยั่งยืนในประเทศไทยเช่นกัน ล่าสุดธนาคารได้ให้การสนับสนุนบริษัทปิโตรเคมีที่มีชื่อเสียงระดับโลกในการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนหรือ Sustainability-Linked Bond (SLB) มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท หรือ 283 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งดีลนี้ถือเป็นการออก SLB ในสกุลเงินบาทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยHSBC ยังเป็นผู้จัดการร่วมและผู้จัดทําบัญชีร่วมสําหรับพันธบัตรสีเขียว (Green Bond) ฉบับแรกที่ออกโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยเงินที่ได้จากพันธบัตรสีเขียวนําไปใช้เพื่อสนับสนุนโครงการอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อมในหลายโครงการและในอีกก้าวหนึ่ง ที่ธนาคารได้แนะนําเงินฝากสีเขียว (Green Deposits) เป็นครั้งแรกในประเทศสําหรับองค์กรขนาดใหญ่ของไทยสองแห่ง โดยเงินฝากสีเขียวมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจไทยบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน โดยการลงทุนเงินสดคงเหลือส่วนเกินกับ HSBC ซึ่งเงินในส่วนนี้จะถูกจัดสรรให้กับธุรกิจและโครงการที่ได้รับเลือกนอกจากนี้ HSBC ยังประสบความสําเร็จในการช่วยลูกค้าดําเนินการด้านสินเชื่อ ที่เชื่อมโยงกับการดําเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability –Linked Loan) สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจที่ครบวงจรที่เชื่อมโยงกับการดําเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Supply Chain Financing Solution) และการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่เชื่อมโยงกับการดําเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Hedge) ซึ่งเป็นครั้งแรกของลูกค้าที่ออกผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

ศรัณยา อรุณศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร HSBC Global Private Banking ประเทศไทย
ศรัณยา อรุณศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร HSBC Global Private Banking ประเทศไทย
เจาะตลาดไพรเวทแบงกิ้งไทยเพื่อให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่ม HNW และ UHNW ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น HSBC ได้เปิดธุรกิจไพรเวทแบงกิ้งใหม่ในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นจังหวะที่ดี เนื่องจากความมั่งคั่งที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศส่งผลให้เกิดความต้องการด้านการวางแผนความมั่งคั่ง (Wealth Planning) การกระจายการลงทุน และบริการธนาคารระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้นเช่นกันการฟื้นตัวของธุรกิจการค้าและกิจกรรมภายในภูมิภาค คาดว่าจะนําไปสู่การสร้างความมั่งคั่งส่วนบุคคลในประเทศไทย โดยธนาคารระหว่างประเทศอย่าง HSBC ที่มีฐานการดําเนินงานทั่วโลก สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดล้อมและความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสและข้อได้เปรียบในการลงทุนให้กับลูกค้าชาวไทยได้เป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อผ่อนคลายกฏระเบียบด้านอัตราแลกเปลี่ยนและส่งเสริมความยืดหยุ่นในตลาดการเงิน ภายใต้แผนแม่บทการเปิดเสรีบัญชีทุน (Capital Account Liberalisation Master Plan) ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนในการลงทุนนอกประเทศบริการไพรเวทแบงกิ้งที่ประเทศไทยเป็นสาขาที่สองของ HSBC ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถัดจากที่สิงคโปร์ โดยจะช่วยให้ลูกค้าชาวไทยเข้าถึงตลาดทุนต่างประเทศ โดยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่ธนาคารมีรากฐานมานานกว่า 134 ปี ในด้านการให้คําแนะนําปรึกษา ด้านการลงทุน ผลิตภัณฑ์ การลงทุนและบริการต่างๆ ทีมงานในประเทศไทยจะครอบคลุมการบริหารจัดการลูกค้าและให้บริการคําแนะนําปรึกษาต่างๆ ในขณะที่สินทรัพย์ของลูกค้าจะจัดเก็บไว้ที่ HSBC Global Private Barking ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการจัดการความมั่งคั่งสําหรับกลุ่ม HNW และ UHMV ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้“เราประสบความสําเร็จในการเปิดตัวธุรกิจไพรเวทแบงกิ้งในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นธุรกิจโพรเวทแบงกิ้งแห่งที่สองในอาเซียนของ HSBC เพื่อนําเสนอประสบการณ์ในการให้คําแนะนําปรึกษาด้านการลงทุน และเพื่อตอบสนองความต้องการสร้างความมั่งคั่งที่เกิบโตขึ้นในประเทศไทย ทีมงานของเรานำความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของกลุ่ม HSBC และเครือข่ายระดับโลกมาส่งมอบให้กับลูกค้าชาวไทย เพื่อให้บริการคนไทยได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น” ศรัณยากล่าวเนื่องจากไพรเวทแบงกิ้งเป็นธุรกิจที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง ศรัณยาเชื่อว่า การมีทีมงานที่พร้อมทุ่มเทเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับลูกค้า และเข้าใจโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลในการสร้างความมั่งคั่งของลูกค้าแต่ละราบเป็นสิ่งสําคัญทั้งนี้การขยายธุรกิจไพรเวทแบงกิ้งทั้งในประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เชิง HSBC ในการขยายบริการ Wealth Management ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการลงทุนในด้านทักษะในการสร้างความมั่งคั่งให้กับลูกค้า เนื่องจาก HSBC มีเป้าหมายที่จะนําเสนอผลิตภัณฑ์และการบริการที่ดีที่สุดและมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้จัดการลงทุนบุคคล (Wealth Manager) อันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้กับลูกค้าในประเทศไทย
Giorgio Gamba, CEO of HSBC Thailand
Giorgio Gamba, CEO of HSBC Thailand
บรรลุ Net Zeroธุรกิจในประเทศไทยของ HSBC จะมีส่วนช่วยให้ธนาคารบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนรูปแบบการดําเนินงานและซัพพลายเชนให้เป็น Net Zero ภายในปี 2573 และช่วยให้พอร์ตการลงทุนของลูกค้าที่ธนาคารให้สนับสนุนด้านการเงินและการลงทุนมุ่งสู่ Net Zero เช่นเดียวกัน ภายในปี 2593เปลี่ยนแปลงนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเม็ดเงินลงทุนราว 7.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในอีก 10 ปีข้างหน้า การจัดหาแหล่งเงินทุนสําหรับพลังงานถ่านหิน และการทําเหมืองถ่านหินด้วยความร้อนจะถูกยกเลิกภายในปี 2573 ในกลุ่มตลาดภายใต้สหภาพยุโรปและองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และในตลาดอื่นๆ ภายในปี 2583“การบรรลุ Net Zero ต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ อุตสาหกรรมบริการทางการเงิน บทบาทสําคัญในการทําให้มั่นใจว่า เงินทุนได้รับการจัดสรรเพื่อสนับสนุนโครงการและการลงทุนที่จําเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้” Giorgio Gamba, CEO of HSBC Thailand กล่าว“การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจ Net Zero เป็นกุญแจสําคัญในการปลดล็อกให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ปกป้องระบบการเงินจากความเสี่ยงด้านสภาพอากาศและปกป้องสังคมอีกด้วย” เขากล่าวเสริมกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของ HSBC สามารถสรุปได้เป็น 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การมุ่งสู่การเป็นธนาคาร Net Zero การสนับสนุนลูกค้าเพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลง และการปลดล็อกโซลูชันต้านสภาพอากาศใหม่ ซึ่งธนาคารยังต้องการช่วยเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนให้กลายเป็นสินทรัพย์ระดับโลก ผ่านการพัฒนาโครงการที่น่าลงทุนที่มีอยู่ในแผนอีกมากHSBC มองว่า การทํางานร่วมกันกับลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ เป็นกุญแจสําคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน Gamba กล่าวว่า “ในด้านความร่วมมือกับลูกค้าของเรา เราจะช่วยพัฒนาแผนการลดการปล่อยคาร์บอน โดยเริ่มจากภาคส่วนที่มีความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงสูง สิ่งนี้จะช่วยให้เรามั่นใจว่าลูกค้ากําลังนําการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้ามารวมกับธุรกิจของลูกค้า และเราจะช่วยหาวิธีให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าอย่างไรได้บ้างเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป"