บี.กริม เพาเวอร์ ปรับโครงสร้าง ตั้ง 'ผู้บริหารชุดใหม่' มีผล 1 ม.ค. 2568 - Forbes Thailand

บี.กริม เพาเวอร์ ปรับโครงสร้าง ตั้ง 'ผู้บริหารชุดใหม่' มีผล 1 ม.ค. 2568

บี.กริม เพาเวอร์ เตรียมปรับโครงสร้างรับปีใหม่ หลังจากที่ประชุมมีมติแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูงซึ่งจะมีผลนับตั้งแต่มีผล 1 ม.ค. 2568 เป็นต้นไป


    Dr.Harald Link ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า  ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ครั้งที่ 12/2567 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 มีมติแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูง และปรับโครงสร้างองค์กร ดังนี้

1. แต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ได้แก่ 

1. Dr.Harald Link เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม 


2. นายพีรเดช พัฒนจันทร์ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน 


3. นายนพเดช กรรณสูต เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจในประเทศไทยและโซลูชั่นธุรกิจอุตสาหกรรม 


4. นางสาวศิริวงศ์ บวรบุญฤทัย เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร งานการเงินและบัญชี ซึ่งปัจจุบันยังคงดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน (Chief Financial Officer) เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่และการขยายตัวทางธุรกิจต่อเนื่องและยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์องค์กร ที่มุ่งสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี (Empowering the World Compassionately) 


    โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ภายใต้โครงสร้างใหม่ ประกอบด้วย 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจพัฒนาพลังงานหมุนเวียน, กลุ่มธุรกิจในประเทศไทยและโซลูชั่นธุรกิจอุตสาหกรรม และกลุ่มงานการเงินและบัญชี

2. แต่งตั้ง ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล เป็นกรรมการใหม่ (กรรมการอิสระ) แทน นางเกตุวลี นภาศัพท์ ซึ่งลาออก มีผลตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2567 


    ทั้งนี้ Dr.Link กล่าวถึง เป้าหมายระยะยาวสู่การเป็นผู้ผลิตพลังงานชั้นนำระดับโลก โดยตั้งเป้าขยายกำลังผลิตสู่ 10,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Carbon Emissions) ภายในปี 2593 

    รวมถึง การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ GreenLeap คู่กับจุดแข็ง 5 ประการ ได้แก่ 1. ความสามารถในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ 2. การเป็นพันธมิตรที่ดีและได้รับความไว้วางใจ  3. ความสามารถในการพัฒนาและบริหารโครงการ 4. การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อรองรับการเติบโตด้วยต้นทุนที่เหมาะสม และ 5. ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ และการพัฒนาต่อยอดธุรกิจพลังงานให้ทันสมัยและครบวงจร


ภาพ: บี.กริม



เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ : UOB อนุมัติสินเชื่อ 6,500 ล้านบาท หนุนบางจากสร้างหน่วยผลิต SAF โครงการแรกของไทย

ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine