เวสเทิร์น ยูเนี่ยน ร่วมกับ Central ใช้เวลา 2 ปี เปิดตัว “เวสเทิร์น ยูเนี่ยน แอพฯ และ ออนไลน์ แพลตฟอร์ม” นวัตกรรมการโอนเงินข้ามประเทศออนไลน์ในประเทศไทย
Sohini Rajola รองประธานกรรมการภูมิภาคเอเชียใต้และอินโดจีน
เวสเทิร์น ยูเนี่ยน เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดตัวบริการโอนเงินออนไลน์ข้ามประเทศในไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของของแผนขยายการบริการด้านดิจิทัลในเอเชียและทั่วโลก โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่บริษัทเปิดตัวในกลุ่มอินโดจีน เนื่องจากเป็นประเทศที่มีกลุ่มคนทำงานข้ามชาติและลูกค้าคนไทยที่ต้องการโอนเงินไปยังต่างประเทศ
“ในเอเชีย เวสเทิร์น ยูเนี่ยน ได้เปิดตัว “เวสเทิร์นยูเนี่ยน แอพฯ และ ออนไลน์ แพลตฟอร์ม” ในหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์ มัลดีฟส์ เป็นต้น ซึ่งเป็นไปตามโรดแม้ปในการให้บริการโอนเงินออนไลน์ 200 ประเทศในทั่วโลกภายในปี 2020” Sohini กล่าวและเสริมอีกว่า
ปัจจุบันตัวแทนจำหน่ายหรือ Agent ของเวสเทิร์น ยูเนี่ยน มีจุดให้บริการมากกว่า 5 แสนจุดทั่วโลก ใน 200 ประเทศทั่วโลก โดยในปี 2018 บริษัทได้โอนเงินเป็นมูลค่ามากกว่า 3 แสนล้านเหรียญ ใน 130 สกุล ซึ่งทุกๆ วินาทีจะเกิดธุรกรรมจากทุกๆ ช่องทางถึง 34 ครั้ง
Sohini กล่าวเสริมด้วยว่า เวสเทิร์น ยูเนี่ยน มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อทางดิจิทัลที่ทันยุคทันสมัยและนำความรู้ที่มีร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่นเพื่อเดินหน้าสร้างช่องทางการโอนเงินที่หลากหลาย
"เราเองได้ร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลเกือบ 25 ปี ซึ่งความร่วมมือในการโอนผ่าน “เวสเทิร์น ยูเนี่ยน แอพฯ และ ออนไลน์ แพลตฟอร์ม” ในประเทศไทยครั้งนี้ จะเป็นไปตามกฎบังคับของแบงก์ชาติ โดยผู้ที่ต้องการใช้บริการการโอนเงินดิจิทัลต้องเดินทางเพื่อไปแสดงตัวตนเฉพาะที่จุดสาขาในห้างเซ็นทรัล 48 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงการรับเงินสดจาก “เวสเทิร์น ยูเนี่ยน แอพฯ และ ออนไลน์ แพลตฟอร์ม” ที่ห้างเซ็นทรัลเท่านั้น"
Sohini กล่าว
ด้าน
มนตรี สิทธิญาวณิชย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงิน
บริษัท ห้างเซ็นทรัล ดีพาทเมนท์สโตร์ จำกัด เผยว่า การปรับตัวสู่ยุคดิสรัปชั่นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ความร่วมมือระหว่างบริษัทกับเวสเทิร์น ยูเนี่ยน มอบทางเลือกและบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจทางการเงินของลูกค้า ตลอดเวลาที่ผ่านมา นวัตกรรมของ เวสเทิร์น ยูเนี่ยนได้สร้างแพลตฟอร์มระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพสำหรับการโอนเงินไปแทบทุกที่ทั่วโลก
ทั้งนี้
Sohini RajolaSohini Rajola กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า การเลือกประเทศไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศอินโดจีนนั้นเนื่องจากมีความพร้อมในหลายๆ มิติ
ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆ มุ่งไปทางดิจิทัล รวมถึงพฤติกรรมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยที่สูงถึง 82 เปอร์เซ็นต์ หรือ 57 ล้านคนจากประชากรทั้งหมดกว่า 69 ล้านคน ในขณะที่มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยราว 92.33 ล้านเครื่อง โดยปัจจุบันมีคู่แข่งทางด้านการโอนเงินระหว่างประเทศแบบดิจิทัลในประเทศไทยราว 7 ราย