ระเฑียร ศรีมงคล เผยเคทีซีกำไรสุทธิครึ่งปีแรกโตฉลุย 25% โชว์กำไรสุทธิ 1,519 ล้านบาท - Forbes Thailand

ระเฑียร ศรีมงคล เผยเคทีซีกำไรสุทธิครึ่งปีแรกโตฉลุย 25% โชว์กำไรสุทธิ 1,519 ล้านบาท

เคทีซีกำไรสุทธิครึ่งปีแรกโตฉลุย 25% โชว์กำไรสุทธิ 1,519 ล้านบาท ดันฐานสมาชิกรวมทะลุ 3 ล้านบัญชี  เอ็นพีแอลลูกหนี้รวมต่ำกว่าอุตสาหกรรม ยันเป้ากำไรปีนี้เติบโต 10% เตรียมแผนรับมือเกณฑ์ใหม่ของแบงค์ชาติ

เคทีซีประกาศผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกเติบโตน่าพอใจ กำไรสุทธิ 1,519 ล้านบาท เติบโต 25% ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรขยายตัวสูงกว่าอุตสาหกรรม อยู่ที่ 6.8% พอร์ตลูกหนี้คุณภาพดี ยอดลูกหนี้รวมขยายตัว 10% ในขณะที่ NPL ลูกหนี้รวมหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของบริษัทฯ ลดลงต่อเนื่องต่ำกว่าอุตสาหกรรมเท่ากับ 1.57% ส่วนฐานสมาชิกรวมบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลเติบโตมากกว่า 3 ล้านบัญชี ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ เคทีซียังคงความสามารถในการสร้างรายได้และการทำกำไร จากยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรที่เติบโต และจากยอดลูกหนี้ทั้งธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงยังสามารถควบคุมให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม โดยกำไรสุทธิ โดยกำไรสุทธิ ครึ่งปีแรก เท่ากับ 1,519 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% หรือคิดเป็นกำไรต่อหุ้น 5.89 บาท” ตัวบางส่วนจากการเปิดเผยของ “เคทีซี” ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560 - พอร์ตลูกหนี้การค้ารวมสุทธิเท่ากับ 61,645 ล้านบาท เติบโต 10% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า - ฐานสมาชิกรวม 3.0 ล้านบัญชี ขยายตัว9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน - บัตรเครดิต 2,180,786 บัตร ยอดลูกหนี้บัตรเครดิตสุทธิรวม 40,991 ล้านบาท - สินเชื่อบุคคล 850,383 บัญชี ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลสุทธิรวม 20,503 ล้านบาท - ลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) รวมอยู่ที่ 1.57% ลดลงจาก 1.91% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน - NPL บัตรเครดิตและ NPL สินเชื่อบุคคล อยู่ที่ 1.22% และ 0.88% ระเฑียร กล่าวเพิ่มเติม “สำหรับแผนงานของเคทีซีในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯ จะเตรียมปรับกลยุทธ์รองรับเกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าใหม่ที่เป็นเป้าหมาย เรามองว่ามาตรการใหม่นี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคคำนึงถึงความสำคัญของการมีวินัยในการบริหารค่าใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาพรวมของพอร์ตลูกหนี้ทั้งอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น และยังส่งผลดีต่อเนื่องให้กับพอร์ตลูกหนี้ของบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน รวมทั้งยังมีส่วนสนับสนุนให้สมาชิกมีความผูกพันกับแบรนด์และบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดที่ถืออยู่มากขึ้น”