ประเมินความกังวลประเด็นกีดกันทางการค้ากดดันตลาดหุ้นระยะสั้น - Forbes Thailand

ประเมินความกังวลประเด็นกีดกันทางการค้ากดดันตลาดหุ้นระยะสั้น

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เริ่มไตรมาสแรก 2018 ด้วยความผันผวน จากประเด็นกดดันหลายด้าน เริ่มจากการปรับขึ้นของ Bond Yield ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ หลังนักลงทุนเริ่มกลับคาดว่าเงินเฟ้อมีโอกาสเร่งตัว ส่งผลให้ Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มจากระดับ 2.5% ไปแตะใกล้ระดับ 3% และทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงแรงกว่า10% อย่างไรก็ดี ประเด็นแรงกดดันเงินเฟ้อดูเหมือนจะผ่อนคลายลงในช่วงที่ผ่านมา แต่กลับมีปัจจัยกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีนส่งผลให้ตลาดหุ้นกลับมาผันผวนอีกครั้งส่งผลให้ดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลงกว่า 7% ในเดือนมีนาคม

หากจะสรุปเรียงลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้
  • 9 มี.. ประธานาธิบดี Donald Trump สั่งให้มีการเก็บภาษีเพิ่มในอัตรา 25% และ 10% บนสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมที่มีการนำเข้าโดยระบุว่าเป็นมาตราการเพื่อปกป้องความมั่นคงของประเทศ
  • 22 มี.. สหรัฐฯ ระบุจีนได้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสหรัฐฯ สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจต่อปีคิดเป็นมูลค่าราว 5 หมื่นล้านเหรียญ โดยประธานาธิบดี Trump สั่งให้มีการตอบโต้โดยเก็บภาษีเพิ่ม 25% บนสินค้าที่มีการนำเข้าจากจีนมูลค่าทั้งสิ้น 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าที่จะมีการเก็บภาษีเพิ่มส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่จีนมุ่งเป้าพัฒนาในอนาคตภายใต้โครงการ Made in China 2025 อาทิ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์, เครื่องจักร และ ยา
  • 2 เม.. รัฐบาลจีนได้ออกมาตราการทางภาษีโต้ตอบสหรัฐฯ 128 รายการ มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อัตรา 15-25% โดยสินค้าที่จะเรียกเก็บภาษีได้แก่ เนื้อหมู, ผลไม้, ไวน์ เพื่อเป็นการตอบโต้การเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก และ อะลูมิเนียมสหรัฐฯ ช่วงต้นเดือน มี.ค.
  • 5 เม..  รัฐบาลจีนระบุเตรียมขึ้นภาษีกับสินค้านำเข้าสหรัฐฯ 106 รายการ มูลค่ารวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตอบโต้การเรียกเก็บภาษีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยสินค้าหลักที่จีนจะเก็บภาษี เช่น ถั่วเหลือง, เครื่องบิน, และ รถยนต์
  • 6 เม..  ประธานาธิบดี Trump ได้ออกคำสั่งให้ผู้แทนการค้าฯ (USTR)  พิจารณาเก็บภาษีนำเข้าจากจีนเพิ่มอีก 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มเติมจากประเด็นการละเมิดทรัพย์สินย์ทางปัญญา
  • อย่างไรก็ดี เรามองว่าประเด็นกีดกันทางการค้าในท้ายที่สุดจะไม่นำไปสู่ภาวะสงครามทางการค้า (Trade War) ด้วยเหตุผลดังนี้
    • มาตราการปรับเพิ่มภาษีของประธานาธิบดี Trump หากทำในระดับที่รุนแรง ย่อมไม่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯและเนื่องจากสหรัฐฯ จะมีการเลือกตั้งในช่วงเดือน พ.ย. (Midterm Election) การดำเนินนโยบายการกีดกันทางการค้าที่ผิดพลาด อาจทำให้ Trump และ Republican สูญเสียที่นั่งในสภา ดังนั้นแม้นายTrump จะเปิดฉากการเจรจาที่รุนแรงเชื่อว่าท้ายสุดผลของมาตรการน่าจะออกมาในทางที่ผ่อนคลายลง
    • เชื่อว่ารัฐบาลสหรัฐฯ เรียนรู้จากอดีตที่เคยขึ้นภาษีนำเข้าสูงถึง 60% ช่วงปี 1930 ส่งผลลบต่อสินค้าส่งออกสหรัฐฯในท้ายที่สุด
    • การตอบโต้ของจีนที่ผ่านมาไม่ได้รุนแรงมากนัก ทั้งๆ ที่จีนเองสามารถตอบโต้สหรัฐฯ ได้หลายวิธีการ อีกทั้ง สุนทรพจน์ล่าสุดของประธานาธิบดี Xi Jinping ในงาน Bo’ao Forum ในวันที่ 10 เม.ย. ยังไม่ได้ส่งสัญญาณทีจะนำไปสู่การตอบโต้ที่รุนแรง
    • นอกจากนี้ ยังมีเวลาที่จะเจรจาต่อรองกันอีกมาก อาทิ กรณีสหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เรามองว่ากว่าจะได้ข้อสรุปจะใช้เวลาอีกหลายเดือน โดยแนวทางที่จะประนีประนอม เช่น การเร่งเจรจาร่วมกับจีนเพื่อหาวิธีอื่นๆใที่สหรัฐจะสามารถลดการขาดดุลการค้า เช่น การให้จีนลดภาษีการนำเข้ารถยนต์, ให้ธุรกิจภาคบริการสหรัฐฯ เข้าไปทำธุรกิจในจีนเพิ่มขึ้น รวมถึงการที่จีนลดกฎระเบียบ บังคับให้บริษัทต่างชาติที่มาลงทุนในจีนต้องถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีให้กับจีน
คาดช่วงเดือน เม.. - .. ตลาดหุ้นจะกลับมาเคลื่อนไหวตามรายงานผลดำเนินงาน โดยบริษัทจดทะเบียนสำคัญในตลาดหุ้น S&P จะเริ่มรายงานผลดำเนินงานไตรมาสที่ 1 นับตั้งแต่วันที่ 13 เม.. เป็นต้นไป
  • พื้นฐานเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ยังอยู่ในช่วงของการขยายตัว และกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ยังเติบโตได้อย่างโดดเด่นยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของราคาหุ้น โดยหากพิจารณาการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ คาด EPS Growth ของตลาด S&P500 จะยังขยายตัวได้ที่ระดับ 18% YoY
  • โดยในช่วงไตรมาสแรก คาดกำไรของบริษัทจดทะเบียนจะขยายตัวได้ 17% y-yซึ่งถ้าออกมาตามคาดก็จะถือเป็นไตรมาสที่บริษัทมีกำไรขยายตัวได้ดีที่สุดนับแต่ปี 2011 สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะรายงานผลประกอบการเติบโตได้สูงนำโดย  กลุ่ม Energy, Meterials, Information Technology และ Finance
ดังนั้นแม้ช่วงสั้นตลาดหุ้นจะมีปัจจัยมากระทบจากเรื่อง Trade War ซึ่งท้ายสุดยังมองว่าน่าจะออกมาในทิศทางที่ประนีประนอม ทำให้ยังประเมินว่าในภาวะที่ตลาดผันผวน ก็อาจจะเป็นจังหวะให้เข้าลงทุนในตลาดหุ้น เพราะตราบใดที่ปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจยังไม่ได้เปลี่ยน เศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัว แนวโน้มดอกเบี้ยยังปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป เชื่อว่าท้ายสุดเม็ดเงินยังน่าจะไหลกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งราคายังมีโอกาสปรับตัวเพิ่มจากพื้นฐานที่ยังแข็งแกร่ง โดย ลลิดา งามวิริยะพงศ์ Wealth Manager บลจ.ทิสโก้