บลจ.เอ็มเอฟซี ขยับ! ทรานส์ฟอร์มบริษัทสู่ระดับภูมิภาค - Forbes Thailand

บลจ.เอ็มเอฟซี ขยับ! ทรานส์ฟอร์มบริษัทสู่ระดับภูมิภาค

บลจ.เอ็มเอฟซี ประกาศแต่งตั้ง Dennis Chong-Boon Lim รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ทำงานร่วมกับ ประภา ปูรณโชติ กรรมการผู้จัดการร่วมที่เตรียมเกษียณอายุกันยายน 2562 นี้ ด้าน ณรงค์ชัย อัครเศรนี ประธานคณะกรรมการ เผยมิติใหม่การนำบริษัทก้าวสู่ภูมิภาคอาเซียน เตรียมตั้งสาขาในสิงคโปร์ เพิ่มสัดส่วนกองทุน

ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เผยว่า “การแถลงข่าววันนี้เราจะได้รู้จักกับกรรมการผู้จัดการคนใหม่และการวิธีการทำงานแบบใหม่ของ เอ็มเอฟซี มากยิ่งขึ้น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่ก่อตั้งเมื่อปี 2518 ถือเป็น บลจ.เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทยและยังเป็น บลจ.แห่งเดียวที่รัฐบาลถือหุ้นและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งเส้นทางการเติบโตที่ผ่านมาเราอิงจากการเติบโตจากภาครัฐเป็นสำคัญ" จากผลงานในปี 2561 จะเห็นได้ว่าจำนวนกองทุนที่เราบริหารจัดการมีมูลค่าราว 4.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น กองทุนวายุภักดิ์กว่า 1.8 หมื่นล้านบาท กองทุนระดับกลางจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีมูลค่ากองทุนที่มาจากรัฐบาลกว่า 3.4 หมื่นล้านบาท และทำให้เรามีองค์ประกอบของกองทุนที่ทำให้ไม่เหมือนใคร ตลอดหลายปีที่ผ่านมาบริษัทมีส่วนช่วยภาครัฐมาโดยตลอด อย่างล่าสุดได้แก่กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตไทย หรือ Thailand Future Fund เป็นต้น “ในสถานการณ์ปัจจุบันเราจำเป็นต้องแปลงโฉมตัวเองให้เป็น บลจ.ที่มีสัดส่วนการบริหารกองทุนที่ไม่ใช่ภาครัฐมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นวิสัยทัศน์ในการไปยังภูมิภาค ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่เราจำเป็นต้องไปหาตลาดใหม่ๆ ในภูมิภาคนี้ คือเทคโนโลยีที่รุดหน้าซึ่งทลายกำแพงทางภูมิศาสตร์ และในเอเชียเองยังมีกองทุนใหญ่ที่น่าลงทุนและสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังทำให้เกิดการหมุนเวียนเงินตราในการนำเงินไทยไปลงทุนในต่างประเทศและนำกองทุนในต่างประเทศมาลงทุนในบ้านเรา” ณรงค์ชัย อัครเศรณี กล่าว ซึ่งการมุ่งเป้าธุรกิจไปยังประเทศในอาเซียนนั้น จึงเป็นที่มาของการประกาศแต่งตั้ง Dennis Chong-Boon Lim ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซีฯ ซึ่ง Dennis ถึงเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานในธุรกิจยาวนานกว่า 25 ปี โดยก่อนหน้านี้ Dennis ทำหน้าที่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม Templeton Asset Management Limited เป็นบริษัทที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย Franklin Resources Inc. ซึ่งเป็นบริษัท S&P 500 ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก
จากซ้าย ประภา ปูรณโชติ กรรมการผู้จัดการร่วม, ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ, สดาวุธ เตชะอุบล ประธานคณะกรรมการบริหาร และ เดนนิส ลิม กรรมการผู้จัดการร่วม
จากซ้าย ประภา ปูรณโชติ กรรมการผู้จัดการร่วม, ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ, สดาวุธ เตชะอุบล ประธานคณะกรรมการบริหาร และ Dennis Lim กรรมการผู้จัดการร่วม
รวมถึงประสบการณ์ในธุรกิจบริหารจัดการลงทุน 25 ปี มีประสบการณ์บริหารและร่วมบริหารการลงทุนในตราสารทุนในตลาดเกิดใหม่รวมมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมถึงการทำงานกับ Mark Mobius กูรูตลาดเกิดใหม่ ทำให้ Templeton Asset Management Limited กลายเป็นหนึ่งในนักลงทุนในตลาดเกิดใหม่ที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในโลก ด้าน ประภา ปูรณโชติ กรรมการผู้จัดการร่วมเผยถึงการบริหารร่วมกันในช่วงของการเปลี่ยนถ่ายว่า “สำหรับการทำงานให้กับเอ็มเอฟซี เป็นช่วงการทำงานช่วงที่สองและจะทำงานจนถึงการเกษียญอายุราชการในวันที่ 5 กันยายน ซึ่งการทำงานช่วงแรกกับ เอ็มเอฟซี นั้น เริ่มสมัยวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี’40 สมัยกองทุนเปิดสินภิญโญ ก่อนย้ายไป บลจ.กรุงไทย ก่อนกลับนั่งกรรมการผู้จัดการที่เอ็มเอฟซี และจะครบ 8 ปีในเดือนนี้ “ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมาได้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ใหักับเอ็มเอฟซีเป็นอย่างมาก ที่ผ่านมาเอ็มเอฟซีพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก และมีการลงทุนในเทคโนโลยี มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นในการซื้อ-ขายผ่านทางแอพพลิเคชั่นได้ทันที” “ในปีนี้เป็นก้าวสำคัญของเอ็มเอฟซีในการเดินทางสู่บริษัทบริหารจัดการที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับบริษัทและสร้างความแข็งแกร่งทางการลงทุนของประเทศ จากนี้เป็นต้นไป พี่ทำหน้าดูแลเฉพาะสายงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นหลักที่มีมูลค่าราว 1.5 หมื่นล้านบาท โดย 90 เปอร์เซ็นต์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้เป็นกองทุนที่ถือโดยรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก และเชื่อว่าคุณ Dennis Lim ที่มีประสบการณ์จาก Templeton อย่างยาวนานจะสามารถนำพาเอ็มเอฟซีไปได้ตามที่คณะกรรมการตั้งเป้าหมายเอาไว้” ประภา ปูรณโชติ กล่าว
สดาวุธ เตชะอุบล
สดาวุธ เตชะอุบล ประธารคณะกรรมการบริหาร บลจ.เอ็มเอฟซี
ด้าน สดาวุธ เตชะอุบล กล่าวเสริมในฐานะที่ คันทรี่กรุ๊ป เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของเอ็มเอฟซีว่า “ราว 8-9 ปี จากที่คันทรี่ กรุ๊ป เข้ามา ผลประกอบการของเอ็มเอฟซีมีผลงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและชัดเจน ถือเป็นบริษัทมหาชนที่ได้จ่ายเงินปันผลดีแห่งหนึ่ง" “เราได้ดึงคุณประภา กลับมาทำงานที่เอ็มเอฟซีและมีการพัฒนาเอ็มเอฟซีไปอีกหนึ่งขั้นตอน ในขณะนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในคณะกรรมการบริษัทเองเห็นด้วยว่าเราควรพัฒนาบริษัทให้โตยิ่งขึ้น เป็นสากลยิ่งขึ้น จึงต้องใช้ผู้นำที่มีความเชี่ยวชาญ มีมาตรฐานที่มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น เราจึงเชิญคุณ Dennis Lim เข้ามาร่วมงานกับร่วมเรา ซึ่งผมเองหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอ็มเอฟซีจะก้าวไปอีกระดับในอนาคตอย่างชัดเจนเพราะเราได้มืออาชีพที่เคยดูแลการลงทุน 5.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่จะนำพาบริษัทเราไปสู่อีกระดับ" นอกจากนี้การพัฒนาของโลกก้าวไกล เอ็มเอฟซีไม่ควรที่บริหารกองทุนแค่ในประเทศ เราควรเอาเงินมาลงในเมืองไทยมากยิ่งขึ้นและนำเงินคนไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากยิ่งขึ้นเช่นกัน สดาวุธ เตชะอุบล กล่าวทิ้งท้าย
Dennis Lim กรรมการผู้จัดการร่วม
Dennis Lim กรรมการผู้จัดการร่วม บลจ. เอ็มเอฟซี
ด้าน Dennis Lim กรรมการผู้จัดการร่วม เปิดใจในการแถลงข่าวเป็นครั้งแรกไว้ว่า “ดีใจเป็นอย่างที่ยิ่งที่ได้ร่วมงานกับเอ็มเอฟซี สำหรับประวัติการทำงานที่ผ่านมานั้น ผมเองได้ทำงานร่วมกับ Templeton เป็นเวลาถึง 27 ปี “ในช่วงแรกในการทำงานที่ Templeton ผมทำงานทางด้านนักวิเคราะห์การลงทุนรับผิดชอบในอาเซียน ซึ่งในขณะนั้นบางประเทศยังไม่มีตลาดหลักทรัพย์ อย่างประเทศอินโดนีเซียมีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพียง 24 บริษัทเอง และใน ส่วน 10 ปีหลังของการทำงานใน Templeton ได้รับตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม รวมถึงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย จนกระทั่งในปี 2540 ผมได้ลาออกและเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ หลังจากการเป็นอาจารย์ผมได้พบกับสดาวุธละถูกชักชวนมาทำงานที่เอ็มเอฟซี ซึ่งยอมรับตรงๆ ว่าไม่เคยได้ยินชื่อเอ็มเอฟซีมาก่อน แต่เมื่อทำการค้นคว้าจึงรู้ว่า บลจ. เอ็มเอฟซี มีประวัติการทำงานยอดเยี่ยม” “ปัจจุบันการบริหารการจัดการกองทุนได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การแข่งขันในธุรกิจนี้จะมีการแข่งขันสูงขึ้นมาก จากคู่แข่งที่มากขึ้น โดยความท้าทายสำคัญของผมคือทำอย่างไรให้การบริหารงานของบริษัทเติบโตท่ามกลางการแข่งขันที่สูง ซึ่งผมเองถือว่าโชคดีที่มีทีมงานที่แข็งแกร่งภายใต้การนำของคุณประภา การเริ่มต้นงานที่นี้จึงไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่จากศูนย์” โดยเป้าหมายของคณะกรรมการบริษัทที่ผมได้รับมี 2 ประการใหญ่ หนึ่งคือบริหารจัดการสินทรัพย์ให้เติบโต และสองนำเอ็มเอฟซีเป็นบริษัทในระดับภูมิภาคให้ได้ โดยจะให้ความสำคัญยิ่งขึ้นกับการวิจัย พัฒนาทรัพยากรบุคคลในการสร้างงานวิจัยต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพในการบริหารการจัดการกองทุน พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ พิจารณาในการควบรวมกองทุนบางตัวที่มีความคล้ายคลึงกันเพื่อให้เกิดกองทุนที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการเพิ่มความน่าสนใจต่อนักลงทุนมากยิ่งขึ้น สอง สำหรับทิศทางการนำบลจ.เอ็มเอฟซี เพื่อก้าวสู่ระดับภูมิภาคนั้น Dennis กล่าวเพิ่มเติมว่าเราได้ตัดสินใจตั้งสาขาของเอ็มเอฟซีขึ้นที่สิงคโปร์ เพื่อเป็นสาขาหัวหอกสำคัญในการรุกไปธุรกิจสู่ภูมิภาคอาเซียน โดยสาขาที่สิงคโปร์แห่งนี้ถูกจัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ 2 อย่างด้วยกันคือ หนึ่งคือเปิดโอกาสให้นักลงทุนของไทยได้เพิ่มช่องทางการเลือกการลงทุนนอกประเทศมากขึ้น เราอาจจะมีการนำเสนอกองทุนประเภทต่างๆ มากมาย อาทิ อาเซียน ฟันด์ สองคือนำสินทรัพย์ต่างๆ จากประเทศอย่างสิงคโปร์ มาเลเซียและประเทศอื่นๆ เข้ามาลงทุนในประเทศไทย “กองทุนแรกที่จะขึ้นในสิงคโปร์ คือ Thailand Fund โดยมีการบริหารและจัดการด้วยทีมงานของ บลจ.เอ็มเอฟซี ที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งในช่วงสองปีข้างหน้าเราเองหวังว่าเห็นมูลค่าทรัพย์สินใต้การจัดการเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ”