"ทิสโก้" ชูลดหย่อนภาษีรับประโยชน์สองต่อ - Forbes Thailand

"ทิสโก้" ชูลดหย่อนภาษีรับประโยชน์สองต่อ

ทิสโก้ เปิดทางเลือกลดหย่อนภาษีปลายปี สร้างโอกาสการเติบโตและวางแผนการเงิน สอดคล้องเมกะเทรนด์โลก แนะซื้อ RMF SSF ธีมนวัตกรรมการแพทย์ และเทคโนโลยีที่สร้างผลตอบแทนย้อนหลังในระยะเวลา 10 ปี สูงถึง 300 - 600% และซื้อประกันสุขภาพพร้อมประกันบำนาญรับเทรนด์สังคมอายุยืน

ณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์ ผู้อำนวยการอาวุโสที่ปรึกษาการลงทุนทิสโก้เวลธ์ ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ช่วงโค้งสุดท้ายของปีเป็นช่วงที่ผู้ใช้บริการธนาคารเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์การเงินที่ช่วยบริหารจัดการภาษี ซึ่งสามารถรับประโยชน์สองต่อได้จากการเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีตามเมกะเทรนด์ของโลก และใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยบริหารจัดการภาษีพร้อมกับวางแผนลดความเสี่ยงรายจ่ายด้านสุขภาพ และวางแผนเพื่อการเกษียณรับเมกะเทรนด์สังคมสูงอายุของคนไทยที่มีโอกาสอายุยืนถึง 100 ปี สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยบริหารจัดการภาษีไปพร้อมกับเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีตามเมกะเทรนด์ของโลก ธนาคารทิสโก้แนะนำให้ลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ที่มีนโยบายการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยี (Technology) และธุรกิจนวัตกรรมการแพทย์ (Healthcare Innovation) โดยหุ้นกลุ่ม Technology เป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่กำลังเติบโตจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของคน โดยมีโควิด-19 เป็นตัวเร่งการใช้งาน ขณะที่ผลตอบแทนย้อนหลังในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มเทคโนโลยีในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาทำผลตอบแทนได้สูงถึงร้อยละ 659 ส่วนหุ้นกลุ่มนวัตกรรมการแพทย์ก็มีโอกาสเติบโตอีกมากตามนวัตกรรมการแพทย์ใหม่ๆ ที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น mRNA ซึ่งนอกจากจะนำมาใช้ผลิตวัคซีนป้องกัน โควิด-19 แล้วยังต่อยอดไปยังการรักษาโรคมะเร็งได้อีกด้วย นอกจากนั้น ผลตอบแทนย้อนหลังในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทำผลตอบแทนได้สูงถึง 376 เปอร์เซ็นต์ (ณ วันที่ 17 พ.ย. 2564)  ซึ่งการลงทุนใน RMF และ SSF ที่เป็นการลงทุนระยะยาว ตั้งแต่ 5-10 ปีเป็นต้นไป เหมาะอย่างยิ่งกับการลงทุนในหุ้นกลุ่มเมกะเทรนด์ของโลก ซึ่งเป็นเทรนด์ที่อยู่กับสังคมทั่วโลกในระยะยาว และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ที่สนใจสามารถนำเงินลงทุนใน RMF ลดหย่อนภาษีได้ร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับการลงทุนการออมเพื่อเกษียณอายุอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปี และต้องลงทุนต่อเนื่องจนอายุครบ 55 ปี (นับแบบวันชนวัน) และสามารถนำเงินลงทุนใน SSF ลดหย่อนภาษีได้ สูงสุดร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท  และเมื่อรวมกับการลงทุนการออมเพื่อเกษียณอายุอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ถือครองอย่างน้อย 10 ปี (นับแบบวันชนวัน) ส่วนผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยบริหารจัดการภาษีพร้อมกับวางแผนลดความเสี่ยงรายจ่ายด้านสุขภาพ และวางแผนเพื่อการเกษียณ ธนาคารทิสโก้แนะนำให้เลือกซื้อประกันสุขภาพ และประกันโรคร้ายแรงเพื่อลดความเสี่ยงจากค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 8 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าเงินเฟ้อ และหากเป็นโรคร้ายแรงอย่างเช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจก็อาจต้องใช้เงินในการรักษาหลายล้านบาท นอกจากนี้ ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีวางแผนการเงินที่ช่วยให้ผู้ที่ป่วยด้วยโรคร้ายต่างๆ สามารถเข้าถึงนวัตกรรมการแพทย์สมัยใหม่ เพิ่มโอกาสการรักษาให้หายขาด ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถนำค่าเบี้ยส่วนของประกันสุขภาพมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี แต่เมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท นอกจากนี้ ยังแนะนำให้เลือกซื้อประกันบำนาญรับสังคมสูงอายุที่คนไทยมีโอกาสอายุยืนได้ถึง 100 ปี โดยเน้นให้เลือกประกันบำนาญที่สร้างผลประโยชน์ในขณะดำรงชีวิต (Living Benefit) ในระดับสูง เพื่อที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณได้ตามที่มุ่งหวังไว้ และมีเงินเพียงพอสำหรับรองรับค่าใช้จ่ายตลอดช่วงหลังเกษียณอายุ ซึ่งปัจจุบันมีประกันบำนาญที่ลูกค้าสามารถเลือกรับเงินบำนาญได้ปีละร้อยละ 20 - 36 ของจำนวนเงินเอาประกันภัย และคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี ซึ่งลูกค้าสามารถนำค่าเบี้ยประกันภัยไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาท ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด  อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไข ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง “ธนาคารทิสโก้แนะนำให้ลูกค้าใช้ทั้งสองแนวทางข้างต้น เพื่อให้ได้ประโยชน์สองต่อ ทั้งจากการบริหารจัดการภาษี และเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาว อีกทั้งยังช่วยป้องกันความเสี่ยงจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ รวมไปถึงยังเป็นการวางแผนเกษียณที่ดีอีกด้วย” ณัฐกฤติ กล่าว อ่านเพิ่มเติม: KISS อิง ซอฟต์พาวเวอร์เกาหลี สยายปีกอาเซียน
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine