ผลการเลือกตั้งอังกฤษไม่ส่งผลดีต่อ Theresa May - Forbes Thailand

ผลการเลือกตั้งอังกฤษไม่ส่งผลดีต่อ Theresa May

หากจำกันได้ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาทางนายกรัฐมนตรีอังกฤษ Theresa May ได้มีการประกาศยุบสภาและให้จัดการเลือกตั้งใหม่อย่างกะทันหัน ซึ่งเธอได้กำหนดวันเลือกตั้งให้เป็นวันที่ 8 มิถุนายน โดยสาเหตุหลักที่เธออยากให้มีการเลือกตั้งใหม่ก็เพราะว่าเธอหวังว่าพรรคของเธอจะได้ที่นั่งในสภาเยอะขึ้น โดยในเดือนเมษายน หากดูคะแนนความนิยมของพรรค Conservative ของเธอเมื่อเทียบกับพรรคคู่แข่งอย่างพรรค Labour จะเห็นได้ว่า Conservative มีคะแนนความนิยมห่างกับพรรค Labour กว่า 20 percentage point ทั้งนี้ หากพรรค Conservative ได้พื้นที่ในสภามากขึ้นก็จะส่งผลให้การเจรจาข้อตกลงเรื่อง Brexit สามารถผ่านสภาของอังกฤษออกไปได้เร็วขึ้น อย่างไรก็ตามแผนของ Theresa May ในการที่จะได้พื้นที่ในสภาเพิ่มกลับไม่เป็นไปอย่างที่คาดไว้ เมื่อคะแนนความนิยมของพรรคเธอเริ่มลดลงและคะแนนความนิยมที่นำพรรค Labour ก็ค่อยๆ แคบลงมา ผลการเลือกตั้งในวันที่ 8 มิถุนายนก็ออกมาผิดกับที่ทาง Theresa May หวังไว้ โดยพรรคของเธอกลับเสียที่นั่งในสภาให้กับพรรคคู่แข่งอย่างพรรค Labour มากขึ้น นอกจากนี้ พรรค Conservative ยังเสียเสียงส่วนมากในสภาไปเนื่องจากคะแนนที่นั่งในสภามีไม่ถึง 326 ที่ (ที่นั่งในสภาอังกฤษมีทั้งหมด 650 การที่จะได้เสียงส่วนมากจำเป็นต้องมีที่นั่งมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือมากกว่า 325 ที่นั้นเอง) ส่งผลให้พรรค Conservative ต้องไปร่วมกับพรรคเล็กในการจัดตั้งพรรครัฐบาล หรือที่เรียกกันว่าเป็น “hung” parliament เนื่องจากไม่มีพรรคไหนได้คะแนนเสียงส่วนมากในสภาพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ โดยทาง Conservative ได้จับมือร่วมกับพรรค Democratic Unionist Party (DUP) ที่มีคะแนน 10 ที่นั่งในสภาในการจัดตั้งพรรครัฐบาล อย่างไรก็ตาม หากเราดูผลคะแนนการเลือกตั้งในครั้งนี้ เราจะเห็นได้ว่าที่นั่งในสภาของพรรค Conservative ลดลงจาก 330 ที่มาอยู่ที่เพียง 318 ที่ ขณะที่ฝั่งของ Labour มีเพิ่มขึ้นจาก 230 ที่มาอยู่ที่ 261 ทั้งนี้ เสียงในสภาของ Conservative ที่หายไปยังจะกดดันเรื่องของการเจรจาในเรื่องของ Brexit ที่เริ่มขึ้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ คะแนนความนิยมของแต่ละพรรคก่อนการเลือกตั้ง Source: Bloomberg, CEIC, Reuters Eikon, KBank ผลคะแนนการเลือกตั้งอังกฤษเดือนมิถุนายน Source: Bloomberg, CEIC, Reuters Eikon, KBank ประเด็นที่หน้าสนใจอีกเรื่องหนึ่งจากการเรื่องตั้งครั้งนี้คือเรื่องโอกาสการทำประชามติของทางสก็อตแลนด์ โดยเราเห็นว่าคะแนนที่นั่งของพรรค Scottish National Party (SNP) กลับลดลงจาก 54 ที่นั่งมาอยู่ที่ 35 ที่นั่งเท่านั่น ซึ่งนโยบายสำคัญของทางพรรค SNP คือการผลักดันให้มีการทำประชามติเอาสก็อตแลนด์แยกออกจากอังกฤษและสหราชอาณาจักร แต่ดูเหมือนว่าการที่คะแนนเสียงของพรรคลดลงสะท้อนให้เห็นว่าทางประชาชนส่วนมากไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติอีกครั้ง Theresa May ได้เปลี่ยนแนวทางในการเจรจาข้อตกลง Brexit หลังผลการเลือกตั้งออกมาผิดกับที่คาดการณ์ โดยการเลือกตั้งในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มมากอาจไม่เห็นด้วยกับแนวทางการเจรจาข้อตกลง Brexit ที่ Theresa May ต้องการให้ออกมาเป็นแบบ hard Brexit หรือโอกาสที่จะเจรจากันไม่ได้ โดยก่อนหน้านี้ Theresa May ได้กล่าวว่าทางอังกฤษพร้อมที่จะรักษาผลประโยชน์ของตัวเองโดยต้องการใช้อัตราภาษีแบบ single market กับทางอียูอยู่แต่ขณะเดียวกันก็จะขอเจรจาออกกฎเรื่องผู้อพยพเอง อีกทั้งไม่ต้องการจ่ายเงินให้กับงบประมาณของอียูเท่ากับระดับปัจจุบัน ด้านทางอียูเองก็ไม่ยอมให้ทางสหราชอาณาจักรเจรจาตามข้อตกลงที่ต้องการได้ง่ายเพราะหากยอมก็จะทำให้อีกหลายประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปต้องการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเช่นกัน ทำให้ท่าทีการเจรจาออกมาในเชิงของ “hard” Brexit มากขึ้น ทั้งนี้ผลการเลือกตั้งล่าสุดที่เห็นคะแนนความนิยมของ Theresa May และพรรค Conservative ลดลงสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนเองไม่เห็นด้วยกับท่าทีการเจรจาแบบ “hard” Brexit ซึ่งหากเราเอาการเลือกตั้งครั้งล่าสุดและการทำประชามติเรื่อง Brexit มาเทียบกับ เราจะเห็นได้ว่าเสียงส่วนมากที่เลือกโหวต Bremain หรือต้องการให้ทางสหราชอาณาจักรยังเป็นสมาชิกของยุโรปอยู่นั้นส่วนมากหันไปเลือกพรรค Labour มากขึ้น ส่งผลให้แนวทางการเจรจาของทาง Theresa May อาจต้องเปลี่ยนไปและทำให้ softer ลงมาเป็นแบบ “soft” Brexit มากกว่า ผลการเลือกตั้งและการทำประชามติในสหราชอาณาจักร Source: Bloomberg, CEIC, Reuters Eikon, KBank เราจะเห็นได้ว่าปัจจัยเรื่องความไม่แน่นอนเรื่องการเมืองที่สหราชอาณาจักรปรับเพิ่มขึ้นและกดดันให้เงินปอนด์อ่อนค่าลงไปอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา โดยการที่พรรค Conservative เสียเสียงส่วนมากในสภาไปอาจส่งผลกระทบต่อการเจรจาเรื่อง Brexit ได้และทำให้การเจรจามีโอกาสที่จะล่าช้าออกไป เพราะข้อตกลงจากฝั่งสหราชอาณาจักรเองจำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากทางสภาก่อน โดยการเจรจาเรื่อง Brexit ระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปนั้นเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน โดยทั้งสองฝั่งมีเวลาในการเจรจาข้อตกลงกันราว 2 ปี ซึ่งประเด็นด้าน Brexit นี้เองจะยังคงกดดันค่าเงินปอนด์ให้อ่อนค่าลงได้