ดาวดิจิทัลมรณะ - Forbes Thailand

ดาวดิจิทัลมรณะ

FORBES THAILAND / ADMIN
06 Feb 2017 | 12:16 PM
READ 3941

บอกให้ผมหยุดด้วยถ้าคุณเคยได้ยินสิ่งนี้แล้ว “ดิจิทัลเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง” แน่นอนว่าคุณต้องเคยได้ยินแล้ว ไล่มาตั้งแต่ปี 1981 (คอมพิวเตอร์พีซี IBM) ปี 1984 (เครื่อง Macintosh ของ Apple) ปี 1994 (Netscape เบราว์เซอร์เชิงพาณิชย์รายแรก) ปี 1998 (ก่อตั้ง Google) และปี 2007 (iPhone)

ดิจิทัลไม่ได้เปลี่ยนแปลงทุกอย่างเพียงแค่ครั้งเดียว มันได้สร้างความเปลี่ยนแปลงมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ต่างอะไรกับดาวมรณะ (Death Star) สถานีอวกาศขนาดยักษ์ ที่มักจะดึงดูดอุตสาหกรรม บริษัท และหน้าที่การงานของคุณเข้าสู่วงโคจร จากนั้นก็จะกำจัดโมเดลธุรกิจที่ล้าสมัย (แต่ยังทำกำไรได้ดี) ออกไป แล้วจึงออกกฎการดำเนินธุรกิจให้คุณต้องปฏิบัติตาม ถ้าไม่เปลี่ยน คุณตายถ้าไม่เล่นตามกฎแบบดิจิทัล คุณตาย และมันจะไม่เกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว แต่จะวนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ลองคิดถึง Walmart ห้างค้าปลีกขนาดยักษ์ที่มีสาขา 11,500 แห่ง พนักงาน 2.3 ล้านคน และรายได้ 4.82 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ Walmart ก่อตั้งเมื่อปี 1962 แต่ Sam Walton ผู้หลักแหลมได้นำเทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่เครื่องสแกนบาร์โค้ด มาใช้ในการเก็บข้อมูลและเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในการประมวลผลข้อมูล เพื่อสร้างความล้ำหน้าเหนือ Sears Kmart และห้างค้าปลีกประเภท discount store รายอื่นๆ ที่ยังไม่เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีซึ่งถึงแม้จะล้ำหน้าเหนือคนอื่นๆ แต่ Walmart ก็ไม่สามารถหยุดอยู่กับที่รอให้การคุกคามในอนาคตจาก Amazon Alibaba และบรรดาบริษัทพาณิชย์ผู้สร้างความแปลกใหม่ในวงการดิจิทัลมาเยือนได้ ดาวดิจิทัลมรณะนั้นวิวัฒน์ด้วยจังหวะตามกฎของ Moore มันจะทรงพลังขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆ 18-24 เดือน ฉะนั้นเมื่อดาวดิจิทัลมรณะดึงดูดคุณเข้าไปในวงโคจรแล้ว ทางเลือกจึงมีอยู่ไม่มาก หากไม่พัฒนาบริษัทให้ดีขึ้นแบบทวีคูณในทุกๆ สองปีตามกฎ ก็จะตามใครเขาไม่ทันแล้วจะหลีกเลี่ยงชะตากรรมที่ว่าอย่างไร? ในการประชุมจัดโดย Forbes เกี่ยวกับการปฏิวัติดิจิทัล มีการพูดคุยถึงกลยุทธ์และเทคนิคในการก้าวล้ำกว่าคู่แข่ง Cisco บริษัทผู้ผลิต router มูลค่า 5 หมื่นล้านเหรียญ ก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้ Walmart แต่อนาคตของบริษัทกลับกำลังถูกคุกคามจากบริษัทข้ามชาติโตเร็วอย่าง Huawei ที่มีสำนักงานใหญ่ในเมือง Shenzhen ประเทศจีน หรือบรรดาบริษัทเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ให้บริการระบบ cloud computing ตั้งแต่ให้เช่าระบบ พื้นที่จัดเก็บ ตลอดจนความต้องการด้านโทรคมนาคมอื่นๆ
Kevin Bandy ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล (Chief Digital Officer: CDO)
Cisco รู้ว่าบริษัทจะต้องเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ โมเดลการดำเนินงานตลอดจนเพิ่มยอดขาย และต้องให้ไว บริษัทได้จ้างบุคลากรในตำแหน่งใหม่ นั่นคือ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดิจิทัล (Chief Digital Officer: CDO) เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้ที่มารับตำแหน่งคือ Kevin Bandy ขึ้นตรงกับ Chuck Robbins CEO ของ Cisco ไม่ใช่ CIO คือประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล นี่เป็นสัญญาณที่บอกว่า Cisco รับรู้ถึงความเร่งด่วนของการเสริมศักยภาพด้านดิจิทัลของตนให้ทัดเทียมยักษ์ใหญ่ด้านระบบคลาวด์อย่าง Amazon และ Microsoft รวมถึงบริษัทเทคโนโลยีเปิดใหม่ที่มากมายราวดอกเห็ด และขาใหญ่จากจีนอย่าง Huawei เกมรุกและเกมรับ Cisco คิดถูกแล้ว CDO ควรต้องขึ้นตรงกับ CEO ไม่ใช่ CIO ในช่วงทศวรรษที่ 80 CIO เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญมากแต่บทบาทหน้าที่ได้เปลี่ยนไป กฎเกณฑ์ของทางการมีความเข้มแข็งมากขึ้น ความซับซ้อนทางการเงิน รวมทั้งภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของข้อมูลและเครือข่ายจากแฮคเกอร์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล สิ่งเหล่านี้ชี้ว่าบทบาทของ CIO ณ ขณะนี้คือการทุ่มเทเวลากับเกมรับพวกเขาต้องคอยคิดว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นได้บ้าง การป้องกันและลดความเสี่ยงจากปัญหาเหล่านั้นอย่างไร การเสริมมาตรการป้องกันเว็บไซต์ อีเมล์และการสื่อสารโทรคมนาคมไม่ใช่เรื่องยาก ถ้า CIO ถูกมอบหมายและได้รับเงินเดือนเพื่อใช้ความสามารถในการทำสิ่งเหล่านี้ พวกเขาคงจะทำด้วยวิธีต่อไปนี้ เคล็ดลับคือทำโดยยังคงรักษาความฉับไว ความยืดหยุ่นและสัมพันธภาพอันดีกับลูกค้า หรือจะเรียกว่าเป็นกลยุทธ์เชิงรุกของบริษัทก็คงจะไม่ผิดนัก จะเห็นว่าตำแหน่งที่แยกจาก CIO เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นทุกขณะ ลองนึกตามนะครับ ถ้า CIO เป็นผู้ควบคุมเกมรับทางด้านเทคโนโลยี CDO จะเป็นหัวเรือด้านเกมรุก CDO จะใช้เทคโนโลยีในการผลักดันความเร็วและยอดขายของบริษัทเทคโนโลยีก็ได้เปลี่ยนโฉมหน้าการทำธุรกิจกีฬาด้วยเช่นกัน ทีม Giants คิดถึงว่ารถยนต์ไร้คนขับจะเปลี่ยนวิธีการเดินทางไปสนามของแฟนๆ อย่างไร พวกเขาคิดถึงการชาร์จโทรศัพท์โดยไม่ต้องเสียบปลั๊กในสนาม และพวกเขายังคิดถึงลูกเล่นความเป็นจริงเสมือน (virtual reality - VR) ที่จะนำมาใช้ดึงดูดแฟนเบสบอลที่เป็นประชากรชาวมิลเลนเนียล และรุ่นต่อๆ ไป ก็ถ้าคุณอยากขายบัตรเข้าชมเต็มทุกที่นั่งอีก 489 นัดติดต่อกัน ก็น่าจะต้องคิดถึงสิ่งเหล่านี้แล้วล่ะ
รถอัจฉริยะที่ Uber พัฒนาให้ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ปราศจากคนขับแต่อย่างไร ทั้งนี้เป็นการร่วมมือกันในการร่วมมือของบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์และบริษัทยักษ์ใน Silicon Valley (เครดิตภาพและติดตามอ่านเพิ่มได้ที่ ANGELO MERENDINO/AFP/Getty Images)

ติดตามบทความทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับ มกราคม 2560