ผมเริ่มสนใจลงทุนเมื่อกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่สมัยเรียน M.B.A.จากการสังเกตว่ามหาเศรษฐีของโลกเขาทำอะไรกันบ้าง พบว่าส่วนใหญ่ก็จะเป็นเจ้าของธุรกิจ นักลงทุน หรือ เจ้าของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ทำให้ผมเริ่มสนใจหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนโดยเฉพาะ หุ้นกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผมวิเคราะห์ดูแล้ว สินทรัพย์ 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ
หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูง เราจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นทั้งของไทย และต่างประเทศ จะมีรอบขาขึ้น และขาลงเป็นรอบๆ บางรอบก็ใช้ระยะเวลาไม่นาน บางรอบก็ใช้เวลายาวนานกว่าจะจบรอบ โดยตลาดหุ้นมีการแกว่งตัว บางครั้งสูงมาก อย่างเช่น
SET INDEX จาก
127.89 จุด เมื่อ
เดือนเมษายน 2529 ไต่ระดับขึ้นมาทำจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่
1,789.16 จุด เมื่อ
เดือนเมษายน 2537 รวมแล้วขึ้นมาถึง
1,661.27 จุดคิดเป็น
1,298.98% ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี 9 เดือน หรือคิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ
167.61% แต่ถ้าคิดแบบ
Compound Average Growth Rate (CAGR) จะได้ผลตอบแทนแบบทบต้นประมาณ 44.40% ผลตอบแทนขนาดนี้มากกว่าผลตอบแทนที่
Warren Buffet ทำได้เฉลี่ยที่ผ่านมาแค่ประมาณ 20% เท่านั้น แต่อย่างที่ทราบๆ กันว่าตลาดหุ้นไม่ใช่มีขึ้นอย่างเดียว ขาลงก็มี และบ่อยด้วย และบางครั้งลงเหมือนนรกก็มิปาน เรามาดูกันครับว่ามันร้ายแรงแค่ไหน
SET INDEX หลังจากสร้างจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ที่
1,789.16 เมื่อเดือน มกราคม 2537 แล้วก็ไหลลงมาตลอด จนไปสร้างจุดต่ำสุดที่
204.59 เมื่อเดือนกันยายน 2541 รวมเวลาที่ลง 4 ปี 8 เดือน ลงไปทั้งหมด
1,584.57 คิดเป็น 88.57% เปรียบเสมือนว่าลงทุนไป 100 บาท
ในช่วงที่
SET INDEX ทำจุดสูงสุดนั้นผ่านไปไม่ถึง 5 ปี มูลค่าเงินลงทุนก้อนนั้นเหลือเพียง 11.43 บาทเท่านั้น นี่เฉพาะกรณีที่ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนเทียบเท่ากับค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนของ
SET INDEX แต่ในช่วงนั้นประเทศไทยเกิดภาวะเศรษฐกิจล่มสลาย กลายเป็นวิกฤตต้มยำกุ้ง คนตกงานมากมาย บริษัทห้างร้านปิดกิจการมากมาย สถาบันการเงินเจ๊งกันไประนาว ไม่เว้นแม้แต่สถาบันการเงินที่เป็นบริษัทในเครือหรือบริษัทย่อยของธนาคารใหญ่ๆ อย่างเช่น บล.ร่วมเสริมกิจ บล.ธนสยาม ฯลฯ ที่ต้องล้มละลายไปในช่วงเวลานั้น แล้วถ้าช่วงนั้นเงินลงทุนบางส่วนมีหุ้น บริษัทเหล่านี้อยู่ นั่นหมายถึงผลตอบแทนก็จะยิ่งแย่กว่านี้อีก
นึกถึงช่วงเวลานั้น ผมยังจำได้ว่าค่าเงินบาทที่เคยผูกติดไว้กับเงินดอลล่าร์สหรัฐที่
27 บาท กลับอ่อนยวบไปสูงสุดที่ประมาณ
58 บาท ธุรกิจที่กู้หนี้จากต่างประเทศในสกุลเงินต่างประเทศในสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ จาก
100 ล้านบาทกลายเป็นกว่า
200 ล้านบาท นอกจากเงินต้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ดอกเบี้ยจ่ายก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย มิหนำซ้ำสถาบันการเงินต่างประเทศที่ธุรกิจเหล่านี้กู้ผ่าน
BIBF ก็เร่งรัดขอให้ชำระหนี้ทันที ภาวะเก็งกำไรทุกอย่างหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรือแม้แต่สมาชิกสนามกอล์ฟก็ยังเก็งกำไรกัน
โครงการอสังหาริมทรัพย์หลายๆ ประเภทไม่ว่าจะเป็นคอนโดที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับ Demand ของนักเก็งกำไร ถูกทิ้งร้างไว้หลายๆ โครงการ นักเก็งกำไรก็หนีตาย แห่กันลดราคา ยอมตัดขาดทุนเพื่อลดหนี้ และรักษาสภาพคล่องไว้กับตัว ราคาของสินทรัพย์ในประเทศไทยเกือบทุกประเภทมีมุลค่าลดลง ไม่ว่าจะเป็นหุ้นที่ลงระเนระนาด ราคาที่ดิน บ้านคอนโดตกลงอย่างมากอย่างแทบไม่น่าเชื่อ ผมจำได้ว่าราคาคอนโดหลายแห่งในกรุงเทพฯ ตกลงไป 25-50% เลยทีเดียว
ในช่วงนั้นเองผมก็เป็นคนหนึ่งที่ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากด้วยเช่นกัน โดยผมเพิ่งเริ่มเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นด้วย มิหนำซ้ำผมยังใช้เงินกู้ในการซื้อขายหุ้น และที่แย่ไปกว่านั้น คอนโดที่ผมอยู่ในปัจจุบัน ผมก็เอาเข้าธนาคารเพื่อขอสินเชื่อ ด้วยความที่ผมเป็นนักเก็งกำไรที่ Aggressive มาก ในสมัยนั้น หุ้นก็ตกลงอย่างมาก สมาชิกสนามกอร์ฟที่เก็งกำไรไว้หลายๆ สนามๆ ละหลายๆ สมาชิก ก็ขายไม่ออก ทั้งๆ ที่ยอมตัดขายขาดทุนอย่างมาก คอนโดที่ซื้อเก็งกำไรไว้ก็ราคาตก ดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งหุ้นและคอนโดก็ต้องจ่ายทุกเดือน
อัตราแลกเปลี่ยนจากวิกฤตต้มยำกุ้งพุ่งกระโดดเป็นเท่าตัว
ผมเริ่มมองเห็นหายนะที่จะเกิดขึ้นกับผมในอนาคตข้างหน้าที่ไม่ไกลนัก ในที่สุดผมก็ยอมกัดฟัน ตัดขายขาดทุนเพื่อจะล้างหนี้หุ้นและคอนโดจนไม่มีหนี้เหลือ และเหลือสภาพคล่องไว้ให้เพียงพอสำหรับจับจ่ายใช้สอยภายในเวลา 7-8 ปี เผื่อว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะมีการฟื้นตัวล่าช้า อย่างไรก็ตาม ในตอนนั้นผมมีความเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยต้องฟื้นตัวแน่ เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น แต่ยังไงก็คงไม่เกิน 5-6 ปีเป็นแน่ ตามวัฏจักรเศรษฐกิจที่มีฟุบก็ต้องมีฟื้นในที่สุด และแล้วเศรษฐกิจไทยก็ฟื้นตัว หุ้นที่ยังคงมีอยู่ในพอร์ตก็มีราคาสูงขึ้น ราคาคอนโดที่ถืออยู่ก็มีราคาสูงขึ้น
จากบทเรียนคราวนั้น ทำให้ผมเปลี่ยนวิธีการลงทุนในหุ้น จากเน้นเก็งกำไร กลายเป็นลงทุนโดยเน้นปัจจัยพื้นฐานในการเลือกหุ้น และผมก็ยังใช้วิธีวิเคราะห์ทางเทคนิคมาช่วยจับ Timing และดูแนวรับแนวต้านประกอบในการซื้อขายหุ้นด้วย โดยเมื่อ 8-9 ปีที่แล้ว ผมได้เข้าไปลงทุนหุ้น
บริษัทไทยพาณิชย์นิวยอร์คประกันชีวิต (SCBNYL) ชื่อในสมัยนั้น ปัจจุบันคือ
บริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิต (SCBLIF) โดยผมใช้เงินลงทุนไม่ถึง 20 ล้านบาท ซื้อหุ้น
SCNYL ได้ประมาณ 270,000 หุ้น เฉลี่ยต้นทุนหุ้นละ 70 กว่าบาท
หลังจากถือมาประมาณ 7-8 ปี ราคาหุ้นตัวนี้ไต่ระดับขึ้นมาเรื่อยๆ จนไปทำราคาสูงสุดที่
1,210 บาท ในช่วงระหว่างที่ถือครองหุ้นตัวนี้ผมได้ปันผล 120 กว่าบาท/หุ้น แค่เงินปันผลอย่างเดียวก็มากกว่าต้นทุนที่ซื้อมาแล้ว ยังมีเงินเหลืออีกประมาณ 50บาท/หุ้น ยังไม่นับรวม Capital Gain อีก 1,100 กว่าบาท/หุ้น คิดรวมเป็นผลตอบแทนประมาณ
1,800% เห็นไหมครับ ถ้าเลือกลงทุนในหุ้นที่ถูกต้อง ผลตอบแทนนั้นมหาศาลจริงๆ
เชื่อไหมครับว่า จุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมหันมาสนใจหุ้นตัวนี้มาจากการอ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับหนึ่งเมื่อ 8-9 ปีที่แล้ว ซึ่งมีข่าวสัมภาษณ์นายกสมาคมประกันชีวิตแห่งประเทศไทย ที่กล่าวถึงเปอร์เซนต์ของคนไทยที่ทำประกันชีวิตมีเพียง 14% เท่านั้น ซึ่งสร้างความแปลกใจให้กับผมมากว่า ทำไมตัวเลขถึงต่ำอย่างนั้น ผมก็เลยเริ่มไปค้นหาข้อมูลว่าคนชาติอื่นเขาทำประกันชีวิตกันมากน้อยอย่างไร ปรากฎว่าคนณี่ปุ่นทำประกันชีวิตมากกว่า 100% เสียอีกด้วยซ้ำ เพราะบางคนทำประกันชีวิตมากกว่า 1 กรมธรรม์ ผมคิดว่าอีกสัก 15-20 ปี ถ้าคนไทยมีรายได้เท่ากับคนญี่ปุ่นในขณะนั้น (สมมติว่ารายได้คนญี่ปุ่นไม่เพิ่มขึ้นเลย) นั่นหมายถึงธุรกิจประกันชีวิตน่าจะโตขึ้นได้อีก 7-8 เท่า
ซึ่งนับว่าเป็นการเติบโตที่สูงมาก ผมค้นข้อมูลต่อไปอีกว่า ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของเบี้ยประกันชีวิตของไทยโตเป็น 3-5 เท่าของ GDP มาตลอด อย่าลืมนะครับ GDP เป็นค่าเฉลี่ยของผลผลิตทั้งสินค้าและบริการ การที่ธุรกิจประกันชีวิตโต 3-5 เท่าของ GDP ต้องนับเป็นธุรกิจที่
OUTPERFORM กว่าธุรกิจอื่นๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นอดีตหรืออนาคตดูแล้วน่าประทับใจมาก
ผมจึงลองเข้าไปค้นดูว่า ในตลาดหลักทรัพย์มีหุ้นประกันชีวิตบริษัทอะไรบ้างที่จะทะเบียนอยู่ บังเอิญช่วงนั้นมีเพียง
SCNYL บริษัทเดียวเท่านั้น และ
SCNYL เป็นบริษัทประกันชีวิตบริษัทแรกที่นำ
BANCASSURANCE มาใช้ในเมืองไทย ทำให้ MARKET SHARE โตเร็วขึ้นมาก จนช่วงหลังๆ ทุกธนาคารต้องหันมาเลียนแบบ และเมื่อดูผู้ถือหุ้นใหญ่ ปรากฎว่า
SCB กับ
NEWYORK LIFE (NYL)จากสหรัฐ ถือหุ้นคนละ 47 % กว่า ที่เหลือเป็นรายย่อย
SCB เป็นธนาคารที่มีสาขามากที่สุดใปประเทศไทย นั่นหมายถึงมี
OUTLET สำหรับทำ BANCASSURANCE ให้
SCNYLได้มาก แถมยังถือหุ้นใหญ่ โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ส่วนนิวยอร์คไลฟ์ก็เป็นบริษัทประกันชีวิตขนาดใหญ่ติด TOP 5 ของสหรัฐ
เชื่อไหมครับว่าช่วงที่เกิด
HAMBERGER CRISIS AIG เกือบล่มสลาย ถ้ารัฐบาลสหรัฐไม่เข้าไปช่วยเหลือในขณะที่
NYL ไม่ได้รับความเสียหายมากมายนัก เพราะนโยบายในการลงทุนที่ CONSERVATIVE ซึ่งทาง NYL ได้นำมาใช้กับ SCNYL ด้วย ด้วยสาขาที่มากมายของ
SCB และ KNOWHOW ของ
NYL ทำให้
SCNYL เหมือนกับเสือติดปีก และความโปร่งใสในการดำเนินการ จาก CORPORATE GOVERNANCE ของผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้ง 2 ยิ่งทำให้สบายใจในการลงทุน ผลกล้าพูดได้เต็มปากเลยว่า
SCNYL (SCBLIF) เป็นหุ้นที่ดีที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ แม้ช่วง
HAMBERGER CRISIS ผลประกอบการของบริษัทยังโตได้อีก 30-40% ทั้งๆ ที่ในช่วงเวลานั้นบริษัทอื่นๆไม่ว่าจะจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์ หรือ MAI และบริษัทนอกตลาดทั้ง 2 ส่วนใหญ่มีผลประกอบการที่แย่ลง หรือบางบริษัทขาดทุนเสียด้วยซ้ำ
ส่วนคอนโดที่ผมอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ผมซื้อเมื่อ 13 ปีที่แล้ว ที่ราคา
7.80 ล้านบาท ปัจจุบันนี้มีคนมาขอซื้อที่ราคา
20 ล้านบาทแล้ว กำไรทั้งอยู่และ CAPITALGAIN ที่งดงาม นั่นคือสาเหตุที่ผมมีการกระจายการลงทุนของผมลงในหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากธรรมชาติของสินทรัพย์ทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง แต่มีความหวือหวามาก ในขณะที่อสังหาริมทรัพย์เป็นสินทรัพย์ที่มีความหวือหวาไม่มากนักโอกาสที่จะเห็นราคาอสังหาริมทรัพย์ตกลงมากๆ ในช่วงชีวิตคนเรา ไม่น่าจะเกิน 2-3 ครั้ง เสียแต่สภาพคล่องต่ำ จึงเป็นสินทรัพย์ที่เมื่ออยู่ในพอร์ตเดียวกัน จะช่วยลดความผันผวน และสร้างสภาพคล่องที่ปานกลางได้ดี
ปีนี้เริ่มเล็งทองและสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะ
น้ำมัน ในอัตราส่วน
60:30 5:5 จากประสบการณ์ของผม การทำ
ASSET ALLOCATION ที่ดีจะสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้มากกว่าการจับ
TIMING ในระยะยาว และข้อสำคัญคือ ต้องลงทุนเฉพาะสินทรัพย์ที่รู้จักและเข้าใจดีเท่านั้น