โฟกัส "พอร์ตลงทุน" ในกลุ่มประเทศพัฒนา ท่ามการวิกฤต COVID-19 - Forbes Thailand

โฟกัส "พอร์ตลงทุน" ในกลุ่มประเทศพัฒนา ท่ามการวิกฤต COVID-19

เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2563 เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นมากมายสำหรับโลกของการลงทุนและการกำหนด พอร์ตการลงทุน

ตั้งแต่ต้นปี 2563 เหตุการณ์ในด้านดีที่เกิดขึ้น เช่น การลงนามข้อตกลงทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา การเติบโตของตัวเลขค้าปลีกที่ออกมาฟื้นตัว แต่ในอีกด้านหนึ่งตลาดสินทรัพย์เสี่ยงก็ต้องเผชิญกับข่าวร้ายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน ทั้งกรณีการโจมตีของสหรัฐอเมริกาในตะวันออกกลาง ภัยแล้งและปัญหามลพิษในประเทศไทย จนมาถึงเหตุการณ์ที่สำคัญ ณ ปัจจุบันอย่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 อย่างไรก็ดีอัตราการเสียชีวิตของเชื้อไวรัส COVID-19 นั้นไม่ได้สูงเท่ากับกรณีของ SARS โดยพบว่า อัตราการเสียชีวิตนั้นอยู่ระหว่าง 2.2-3% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่า SARS ที่สูงถึง 10% ค่อนข้างมากสิ่งที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต้องเฝ้าระวังมี 2 มิติได้แก่
  1. ด้านปริมาณ จำนวนผู้ป่วยจะหยุดเพิ่มขึ้นเมื่อใด จากสถิติของตลาดหุ้นทั่วโลกในอดีตมักจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ปริมาณผู้ป่วยยังคงปรับตัวสูงขึ้นในอัตราเร่ง (แกนซ้าย กราฟสีฟ้า : SARS 2002, แกนขวา กราฟสีส้ม : COVID-19) และในอดีตนักลงทุนไม่ได้ให้น้ำหนักกับเปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตของผู้ป่วยมากเท่ากับจำนวนผู้ติดเชื้อ
ทาง KTBST ได้มีการใช้แบบจำลอง SIR epidemic ในการพยากรณ์ระยะเวลาการติดเชื้อว่าจะใช้เวลาทั้งหมดภายในกี่วัน ถึงจะได้จำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุด โดยเราคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะปรับตัวสูงสุดโดยเฉลี่ยในช่วงวันที่ 6 มีนาคม 2020 หรือ 49 วัน หลังจากมีการประกาศการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสดังกล่าว (17 มกราคม 2020) และคาดว่าตลาดหุ้นทั้งหมดจะผ่านจุดต่ำสุดในช่วงเวลาดังกล่าว
  1. ด้านเวลา หากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อต่อไป จนนักท่องเที่ยวจีนหายไปอย่างต่อเนื่อง จะเริ่มส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญ
โดยปกติแล้วหากเกิดโรคระบาด WHO หรือองค์กรอนามัยโลกได้มีการเฝ้าระวังผู้ป่วยรายใหม่อีกอย่างน้อย 1 ปี หลังจากมีการประกาศผู้ติดเชื้อคนสุดท้าย สะท้อนให้เห็นถึงแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอาจจะกินระยะเวลาถึง 1-1.5 ปีต่อจากนี้ ด้านภาพการลงทุนในระยะอีก 1 ปี ข้างหน้า (2020 Investment Theme)  ภาพ พอร์ตการลงทุน รูปร่างหน้าตาจากเป็นแบบใดนั้นภาพดังกล่าวเป็นไปตามที่ทาง KTBST เลือกเน้นการลงทุนใน investment theme ดังต่อไปนี้
  1. Election Rally การเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ซึ่งตลอดทั้งปีจะเริ่มมีกระบวนการคัดเลือกผู้แทนของสองพรรคการเมืองไปพร้อมกับการนำเสนอนโยบาย
  1. Policy Switching รูปแบบการกระตุ้นเศรษฐกิจเปลี่ยนจากนโยบายทางการเงินมาสู่นโยบายทางการคลังในการป้องกันการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงต้นปีธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED จะมีการหมุนเวียนคณะกรรมการบริหาร (FOMC) ทำให้สุทธิแล้วมีคณะกรรมการ สาย “Centrist” เพิ่มขึ้นในที่ประชุม
  2. Relay Race Trade War สถานการณ์สงครามการค้ายังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องแม้ว่าข้อตกลงทางการค้าเฟส 1 จะมีความเป็นไปได้มากขึ้น ดังนั้นสหรัฐอเมริกาอาจจะต้องเบนเข็มการขึ้นภาษีเข้าสู่ฝั่งยุโรปมากขึ้น
สำหรับทางรอดของประเทศไทยคือการเข้าร่วมกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เพื่อช่วยสนับสนุนภาคการส่งออก ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังติดปัญหาที่อินเดียไม่เซ็นยินยอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง เนื่องจากจะนำไปสู่การขาดดุลต่อประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจทาง KTBST มองว่าปีหน้าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 2 ครั้งเพื่อสนับสนุนสภาพคล่องทางเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับธนาคารกลางแห่งประเทศไทยในการปรับลดลงอีกครั้งให้สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยโลก   ชาตรี โรจนอาภา รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน หมายเหตุ: บทความนี้วิเคราะห์จากข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2563
คลิกอ่านฉบับเต็มของบทวิเคราะห์จาก บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน ได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับ มีนาคม 2563 ในรูปแบบ e-magazine สรพหล นิติกาญจนา