IoT เทคโนโลยี ช่วยสร้างโอกาสในการสร้างความยั่งยืนทั่วโลก - Forbes Thailand

IoT เทคโนโลยี ช่วยสร้างโอกาสในการสร้างความยั่งยืนทั่วโลก

FORBES THAILAND / ADMIN
30 Mar 2016 | 04:15 PM
READ 5492
1.3 พันล้าน คือตัวเลขของประชากรทั่วโลกวันนี้ที่ไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ และจากตัวเลขดังกล่าว 30% คือตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตการบริโภคพลังงานในปี 2020 ซึ่งการเข้าถึงไฟฟ้าและพลังงานทดแทนอย่างทั่วถึงจะสามารถช่วยจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ อย่าง ไรก็ดี เราต้องการระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าที่ฉลาดมากขึ้นไปอีก เพื่อให้สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ทั่วโลก สิ่งอำนวยความสะดวกสามารถทำให้ระบบผลิตพลังงาน และระบบโครงสร้างในการกระจายพลังงานทันสมัยมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี smart grid ที่ช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และมีความน่าเชื่อถือในการใช้พลังงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศโลกที่ 3 และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ แต่เรายังไปไม่ถึงขั้นนั้น แม้พลังงานทดแทนจะเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เช่น การสร้างไฟฟ้าจากพลังงานลม แต่เทคโนโลยีพลังงานทดแทนหลายอย่างยังคงมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าพลังงานฟอสซิล U.N. ชี้ให้เห็นถึงประเด็นเรื่องของพลังงานทดแทน และการเข้าถึงพลังงานได้ในวงกว้าง ซึ่งเป็น 2 ใน 3 ประเด็นที่ดูจะมีอนาคตที่ดีใน “พลังงานยั่งยืนสำหรับทุกความริเริ่ม” ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ได้รับความร่วมมือจากนานาชาติ ทั้งนี้ อีกวัตถุประสงค์ของ U.N. ก็คือ เรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีในการสร้างความยั่งยืนทั่วโลก การผสานรวมนโยบายเกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านพลังงาน เข้ากับโซลูชั่นการจัดการพลังงานแบบอัตโนมัติ สามารถลดการสิ้นเปลืองพลังงานในทั่วโลกได้ เมื่อทั้งองค์กรและประชาชน ต่างสนับสนุนเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและจริงจัง ก็จะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ อีกทั้งยังช่วยกระจายพลังงานได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และกำจัดการสูญเสียพลังงานตัวอย่างเช่น ในภาคอุตสาหกรรมการใช้ไฟฟ้ากว่า 60% ของทั้งหมด ใช้ไปกับการขับเคลื่อนมอเตอร์ แต่หากนำเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ ก็จะช่วยลดการใช้พลังงานได้มากถึง 25% ส่วนภาคอาคารนั้น 90% ของการควบคุมอาคารในปัจจุบันขาดประสิทธิภาพด้านการจัดการพลังงาน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการจัดการพลังงานสามารถดัดแปลงหรือปรับปรุงระบบในอาคารของเดิมให้ มีความทันสมัยขึ้น หรือใช้ช่วยวางแผนในการก่อสร้างอาคารใหม่ เหล่านี้ สามารถช่วยลดการใช้พลังงานในแต่ละปีได้มากถึง 30% สิ่งสำคัญที่ต้อง ตระหนักก็คือ เทคโนโลยีจะสร้างผลกระทบได้ดียิ่งขึ้นก็ต่อเมื่อมีการวัดประสิทธิภาพการใช้ พลังงานอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่นการติดตั้งฉนวนกันความร้อนซึ่งดำเนินการเพียงครั้งเดียว แต่มีการวัดผลประสิทธิภาพในการใช้พลังงานหมุนเวียน เมื่อติดตั้งแล้วฉนวนกันความร้อนจะจำกัดไม่ให้พลังงานหลุดรอดออกไปภายนอก กลยุทธ์ด้านประสิทธิภาพในการใช้พลังงานหมุนเวียน ยังรวมถึงการใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เช่น เครื่องปรับอากาศและโทรทัศน์ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 25% การเชื่อมต่อถึงกันช่วยให้สังคมทั่วโลกมุ่งหน้าไปสู่ความยั่งยืน จากสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นในปัจจุบัน เชื่อกันว่ามีอยู่ 4.9 หมื่นล้าน “สิ่ง” ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ ตลอดจนเครื่องจักรอุตสาหกรรม รวมถึงอุปกรณ์อัตโนมัติสำหรับอาคาร โดยในเรื่องนี้ ได้มีนักวิเคราะห์หลายรายออกมาคาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มสูงเป็น 2.5 แสนล้านในปี 2020 ภาพการพัฒนาและการเชื่อมต่อในวงกว้างนี้ ยังเป็นที่รู้จักในนาม “อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง” หรือ IoT (Internet of Things) ที่สร้างแนวโน้มในการจัดการข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ตลอด ทั้งเรื่องการรวบรวม วิเคราะห์และดำเนินการ เราเชื่อมต่อกับโลกใบนี้ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากการเชื่อมต่อที่รวดเร็วแบบเรียลไทม์แล้ว ยังรวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารข้ามทวีป นอกจากนี้ ยังช่วยให้ท้ังผู้คนและองค์กร สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานด้วยข้อมูล รวมถึงกิจวัตรประจำวันอื่นๆ ที่ใกล้บ้าน เช่นการเดินทางไปมาในแต่ละวัน ทั้งนี้ IoT หรือ อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง ให้ ทั้งศักยภาพและการเชื่อมต่อระหว่างผู้คน เพื่อแบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คุณอยากจะรู้ เช่นเมืองที่คุณกำลังจะไปจะมีคอนเสิร์ตอะไรเล่นบ้าง หรือมองหาสถานีบริการที่สามารถชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้าก็ตาม IoT สามารถให้ข้อมูลที่คุณต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส เมื่อการเชื่อมต่อทั้งหมดถูกนำไปประยุกต์ใช้ในระดับขององค์กรและโรงงาน องค์กรต่างๆ ก็จะเห็นถึงการประหยัดพลังงานได้มหาศาล และในภาพรวมยังเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย IoT มอบความสามารถในการมองเห็นระบบงานและเครือข่ายที่ปกติไม่สามารถเห็นได้ด้วย ตาเปล่า เลยทำให้องค์กรไม่ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้ ซึ่งโดยธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อคุณมองเห็นมันคุณก็จะเข้าใจ และเมื่อคุณเข้าใจ ก็จะทำให้คุณดำเนินการและตัดสินใจได้ด้วยข้อมูลครบ ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งมีประชากรจำนวน 1.3 พันล้านคน อาศัยอยู่โดยที่ไม่สามารถเข้าถึงพลังงาน ในขณะที่โอกาสในการเชื่อมต่อและประยุกต์ใช้งานนั้นไร้ขีดจำกัด ซึ่งในความคิดของผม ผมมองว่า IoT ไม่ ใช่แค่การช่วยให้เข้าถึงพลังงานสะอาดเท่านั้น แต่ยังช่วยต่อกรกับความยากจน ช่วยพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ และช่วยให้เข้าถึงการศึกษาได้มากขึ้น ถ้าเราปลดล็อคเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เราจะได้รับประโยชน์มากมาย ซึ่งหน่วยงานรัฐบาลทั่วโลกกำลังดำเนินการเรื่องนี้ผ่านการออกกฎระเบียบรวม ถึงโปรแกรมต่างๆ การส่งเสริมเกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านพลังงานและการใช้ข้อมูลอย่างฉลาดในทุก ภาคส่วนของสังคม และลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ทั่วโลกจะช่วยให้เราสามารถลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกและมลพิษให้น้อยลงได้ นั่นคือเรื่องจริง ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาต่างสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยพึ่ง พาพลังงานจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่วิธีที่จำเป็นเสมอไป ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างความยั่งยืนในทั่วโลกได้ หากเข้าใจว่า อะไรคือสิ่งที่ควรทำและปรารถนาที่จะทำอะไรบางอย่างกับสิ่งนั้น เราก็สามารถบรรลุสู่ความยั่งยืนทั่วโลกได้ในทศวรรษหน้า หากวันนี้เราไม่มองเรื่องประสิทธิภาพด้านพลังงานเป็นเรื่องสำคัญสุด เราอาจไม่มีโอกาสบรรลุสู่ความยั่งยืนด้านพลังงานในทั่วโลกได้ มร.มาร์ค เพลิทิเยร์ ประธาน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านระบบการบริหารจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น
คลิ๊ก!! เพื่ออ่านบทความเพื่อสร้างแรงบันดาลใจทางธุรกิจ ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ February 2016 ได้ในรูปแบบ E-Magaizne