ถ้าพูดถึง เครดิตบูโร (Credit Bureau) คนทั่วไปก็พอเข้าใจว่าคือการเก็บข้อมูลทางด้านการเงินของแต่ละบุคคลแต่พอพูดถึงข้อมูลทางด้านสุขภาพ ถ้าถูกจัดเก็บ แบบระบบการเงินก็น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อย โดยเฉพาะในยุคดิจิทัล ส่วนรูปแบบการจัดเก็บนั้นจะเป็นแบบเดิมที่ใช้เซิฟเวอร์ (Server) หรือคลาวด์ (Cloud) ก็ได้
แต่เราจะพูดถึงการจัดเก็บรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าบล็อกเชน (Blockchain) Health Blockchain คือการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพรูปแบบหนึ่งโดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาเป็นตัวช่วยในการจัดเก็บข้อมูลทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัย (Security) ป้องกันการแก้ไขหรือโจรกรรมข้อมูล โดยที่ข้อมูลสามารถจัดเก็บไว้ได้นานขึ้นและเรียกดูข้อมูลได้แบบทันที (Real time) โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล(Privacy)
ผ่านระบบการยืนยันตัวตนผู้เรียกดูข้อมูล (KYC-Know Your Client) และ Smart Contract คล้ายการถอนหรือโอนเงินจากธนาคารผ่านระบบInternet ที่ต้องส่งรหัส OTP เพื่อยืนยันตัวตนก่อน ระบบนี้อาจต้องอาศัยองค์กรกลางในการช่วยจัดเก็บข้อมูล เพื่อเป็นกรรมการกลางและเป็นตัวกลางในการเชื่อมข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลแต่ละแห่ง ระบบนี้ตัวประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลที่แท้จริงจะกลับมามีอำนาจในการจัดการบริหารข้อมูลตนเอง รวมถึงป้องกันการนำข้อมูล (Big Data) ไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิดอีกด้วย
ซึ่งตอนนี้ทางยุโรปได้มีการออก
กฎหมาย DPR (General Data Protection Regulation) ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะรวมถึงควบคุมการซื้อขายข้อมูล แทบจะกล่าวได้ว่าถ้ามีการได้ประโยชน์จากข้อมูลประชาชนเจ้าของข้อมูลนั้นต้องได้รับความเห็นชอบรวมถึงได้เงินหรือผลประโยชน์กลับเช่นกัน
ปัจจุบันโรงพยาบาลมีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการอย่างปลอดภัยที่สุดและผู้ใช้บริการก็มีสิทธิเสรีภาพผู้ป่วยที่สามารถเรียกดูข้อมูลตนเองได้ทุกเมื่อแต่เนื่องจากขีดจำกัดทางด้านเอกสารและเทคโนโลยีทำให้หลายโรงพยาบาลจำจะต้องทำลายข้อมูลทิ้ง ทุก 1-5 ปี ในกรณีที่เราขาดการติดต่อ หรือไม่ได้ไปใช้บริการอย่างต่อเนื่องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ สามารถข่วยแก้ปัญหานี้ได้โดยการที่บล็อกเชน (Blockchain) จะช่วยกันเก็บข้อมูลไว้ตามที่ต่างๆ (Node) อย่างปลอดภัย (Decentralized)
ประชาชนหรือเจ้าของข้อมูลก็สามารถมี Application จำพวก e-wallet หรือกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ มาช่วยเก็บข้อมูลตนเองไว้ในโทรศัพท์จำพวก Smart phone ได้อีกด้วย ต่อไปเราก็สามารถไปรักษาที่ต่างประเทศได้โดยเรียกดูข้อมูลได้ทันที รวมถึงสามารถปรึกษาแพทย์จากต่างประเทศและสั่งยาผ่านออนไลน์ที่อีกด้วย
ต่อไปนี้ถ้าผู้ปกครอง ทำสมุดวัคซีนของบุตรหลานหาย ก็ไม่ต้องกังวลว่าถ้าบุตรหลานจะไปเรียนต่อต่างประเทศแล้วจะต้องโดนฉีดวัคซีนใหม่ทั้งหมด 20 กว่าเข็ม!!!