เราเคยสังเกตกันหรือไม่ว่าทำไมถึงต้องมีตัวอักษร “http” อยู่หน้าชื่อเว็บไซต์ต่างๆ? และมันมีความหมายอย่างไร? ตัวอักษรเหล่านี้ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol หรือ โพรโทคอลสื่อสารสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ต เวลาเราต้องการจะหาข้อมูลผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เพื่อให้การติดต่อสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันบนแต่ละเครือข่ายเป็นไปได้อย่างสะดวกสบายและง่ายดายยิ่งขึ้น
บิทคอยน์ (Bitcoin) ก็คือ โพรโทคอลอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินเช่นการโอนเงินสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานทุกคนได้ดีกว่าที่ผ่านมา ผ่านเครือข่ายที่เรียกว่า บล็อกเชน (Blockchain) บล็อกเชน คือ เครือข่ายที่เชื่อมโยงฐานบัญชีธุรกรรม (ledger) อิเล็กทรอนิกส์ของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นระบบการจัดการฐานข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและเชื่อมั่นได้ เพราะข้อมูลและประวัติการทำธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะถูกเก็บไว้ตามแหล่งเก็บข้อมูลต่างๆ (block) ซึ่งเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ (chain) ตามลำดับ
ในอนาคตระบบเงินดิจิทัลนี้มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับบริการรูปแบบเดิมๆ บิทคอยน์จะเข้ามาเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้คนทั่วโลกสำหรับการชำระค่าสินค้าและบริการออนไลน์ โอนเงิน หรือแม้กระทั่งการลงทุน หลังจากที่บิทคอยน์ได้ถูกนำมาใช้งานเพียงไม่กี่ปี ได้มีการสร้างสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ ตามมามากถึง 250 สกุล และในเดือนกรกฎาคม ปี 2557 มูลค่าสินทรัพย์ตามราคาตลาดของบิทคอยน์มีมากกว่า 7.66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และปริมาณการทำธุรกรรมสูงถึง 1.9 ล้านธุรกรรมจาก internet of information สู internet of value
ธนาคารที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง อย่าง Santander ของสหราชอาณาจักร ได้ประกาศถึงโครงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้กับระบบการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือสากล ซึ่งได้รับการคาดการณ์ว่าจะมาเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจการโอนเงินในไม่ช้า ส่วนทางฝั่งของทวีปเอเชีย อย่าง Mizuho จากประเทศญี่ปุ่น ก็ได้ร่วมมือกับบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก Fujitsu ในการนำจุดเด่นของเทคโนโลยีบล็อกเชนที่มีความปลอดภัยสูงมาทดลองสร้างระบบซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างประเทศเพื่อลดความยุ่งยากในการแลกเปลี่ยนสิทธิความเป็นเจ้าของและระยะเวลาการดำเนินการจากหลายวัน เป็นเพียงไม่ถึงหนึ่งวัน
นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าหนึ่งในสามของรายได้รวมของอุตสาหกรรมบัญชีจะมาจากงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ หรือ audit แต่ต้นทุนของงานประเภทนี้ก็สูงมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของเงินหรือค่าเสียโอกาส ซึ่งเทคโนโลยีบล็อกเชนจะสามารถเข้าไปช่วยป้องกันต้นเหตุของปัญหาความคลาดเคลื่อนของตัวเลขเดบิตและเครดิตในระบบบัญชีคู่ (double-entry accounting) อีกทั้งวิธีนี้ยังเป็นรูปแบบการทำงานแบบเรียลไทม์จึงทำให้บริษัทบัญชีสามารถนำเงินและเวลาที่เคยใช้สำหรับการตรวจสอบ ไปลงทุนในกิจกรรมทางธุรกิจอื่นๆ ที่จะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัทมากขึ้นได้
จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ ณ ปัจจุบัน ในทุกอุตสาหกรรมหรือแม้กระทั่งทุกระบบเศรษฐกิจจะกำลังตื่นตัวและเริ่มเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่นี้ ลองเปรียบเทียบเหตุการณ์นี้กับอินเทอร์เน็ตยุคแรก อย่าง internet of information แล้วเราจะเห็นว่าสิ่งเล็กๆ ที่ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ กลับได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับพวกเราทุกคนมากเพียงใด
คลิกอ่านฉบับเต็ม "ฺBlockchain: The Next Internet" ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ October 2016 ในรูปแบบ e-Magazine
Blockchain The Next Internet
TAGGED ON