โซลูชันแห่งโลกการเงินอนาคต - Forbes Thailand

โซลูชันแห่งโลกการเงินอนาคต

FORBES THAILAND / ADMIN
19 Sep 2021 | 08:00 AM
READ 2770

Aileen Chew ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ มาสเตอร์การ์ด เผย "โซลูชันแห่งโลกการเงินอนาคต" เมื่อโควิด-19 ขึ้นตัวเร่งสำคัญที่สร้างการเปลี่ยนทางด้านการเงินแบบไม่ย้อนกลับมุ่งไปสู่เส้นทางการเงินที่สะดวกสบายมากขึ้น ไร้รอยตัว และลดการสัมผัสจากโรค

จากผลสำรวจดัชนีผลสำรวจวิธีการชำระเงินวิถีใหม่ของมาสเตอร์การ์ด (The New Payment Index) ช่วยอธิบาย โซลูชันแห่งโลกการเงินอนาคต ถึงความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคและทัศนคติที่มีต่อการใช้จ่ายของคนไทยและผู้บริโภคอื่นๆ ในโลก โดยโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของทุกคนในทุกที่ ในช่วงเวลานี้ ผู้คนต้องหันมาพึ่งพาการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากกว่าที่เคย โดยเฉพาะการชำระเงินแบบดิจิทัลที่กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการซื้อของอย่างปลอดภัยโดยไร้การสัมผัส ซึ่งจากผลสำรวจล่าสุดของดัชนีผลสำรวจวิธีการชำระเงินวิถีใหม่ของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard New Payments Index) ในปี 2564 เผยถึงช่องทางการชำระเงินรูปแบบต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในการเตรียมแผนรับมือการฟื้นตัวหลังโควิด

สมัครใจอย่างมั่นใจ

โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ผู้บริโภคเปลี่ยนความคิดเป็น “ดิจิทัลโดยอัตโนมัติ” และสมัครใจที่จะใช้การชำระเงินแบบไร้เงินสดและการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลอื่นๆ ผลสำรวจของเราระบุว่า ผู้บริโภคชาวไทยเป็นผู้นำในการปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีการชำระเงินแบบใหม่ โดยร้ยอละ 96 ของคนในประเทศไทยกล่าวว่า จะพิจารณาใช้วิธีการชำระเงินรูปแบบใหม่อย่างน้อยหนึ่งวิธีในปีหน้า ไม่ว่าจะเป็น คิวอาร์โค้ด กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนชำระ สกุลเงินคริปโต เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ ฯลฯ โดยตัวเลขนี้สูงกว่าแอเชียแปซิฟิกร้อยละ 94 และทั่วโลกร้อยละ 93 เมื่อเกิดการล็อกดาวน์ขึ้นเมื่อปีก่อน พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในการใช้บัตร การชำระเงินแบบดิจิทัล และอีคอมเมิร์ซที่ทำให้เข้าถึงสินค้าและบริการอย่างปลอดภัย ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าคนไทยหันมาใช้การชำระเงินแบบไร้สัมผัสมากกว่าปีก่อน สินค้าที่คนหันมาจับจ่ายแบบไร้เงินสดอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ ของชำ (84%) อาหารพร้อมบริโภค (86%) และการเดินทาง (72%) ซึ่งใกล้เคียงกับตัวเลขในเอเชียและทั่วโลก นอกจากนั้น สามในสี่ของผู้บริโภคชาวไทยใช้การชำระเงินออนไลน์มากขึ้นจากปีก่อนเพื่อจับจ่ายสินค้าอย่างน้อยหนึ่งประเภทดังต่อไปนี้ ของชำ อาหารสำเร็จรูป สินค้าขายปลีก ความบันเทิง ยา การบริการต่างๆ และการเดินทาง

พร้อมรับเทคโนโลยีแบบใหม่

ในเอเชียแปซิฟิกร้อยละ 76 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าการชำระเงินรูปแบบคิวอาร์โค้ดนั้นช่วยลดการสัมผัส ในขณะที่ร้อยละ 71 มองว่าคิวอาร์โค้ดเป็นวิธีที่สะดวกกว่าการชำระโดยใช้บัตรที่ร้านค้า อาจจะเนื่องมาจากผู้บริโภคชำระผ่านโทรศัพท์มือถือของตนเองเป็นส่วนใหญ่ เมื่อดูตัวเลขในประเทศไทย เราพบว่าร้อยละ 83 และ 87 ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าการชำระเงินรูปแบบคิวอาร์โค้ดมีความปลอดภัยลดการสัมผัสและสะดวกกว่าการชำระเงินด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีของคิวอาร์โค้ดจะไม่ใช่เรื่องใหม่และอยู่ในสังคมมาสักพักหนึ่งแล้ว แต่การที่ผู้คนมีสมาร์ทโฟนใช้มากขึ้น การแพร่ระบาด และการใช้งานที่ง่ายดาย ส่งผลให้มีการนำคิวอาร์โค้ดมาใช้งานอย่างกว้างขวางในภาครัฐ ภาคธุรกิจ และผู้บริโภค ซึ่งด้วยตัวเลือกของการชำระเงินแบบไร้เงินสดและดิจิทัล ผู้บริโภคเลือกใช้วิธีการชำระเงินที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์และความต้องการ โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลาและสถานที่ สำหรับในประเทศไทย เกือบร้อยละ 90 ของผู้บริโภคเห็นว่า พวกเขาควรที่จะสามารถซื้อสินค้าที่ต้องการได้ทันที ซึ่งเทียบกับผู้บริโภคที่มีความเห็นเดียวกันร้อยละ 85 ในแอเชียแปซิฟิก นอกจากนั้น ผู้บริโภคทั่วโลกยังมี ความคาดหวังให้ร้านค้ามีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายขึ้น โดยร้อยละ 80 ของผู้บริโภคในประเทศไทยและร้อยละ 73 ของผู้บริโภคทั่วโลกกล่าวว่าพวกเขาจะมีความซื่อสัตย์ต่อร้านค้าที่มีทางเลือกในการชำระเงินที่หลากหลาย ผลสำรวจยังพบว่าร้อยละ 86 ของผู้บริโภคในประเทศไทย ร้อยละ 89 ของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก และ ร้อยละ 79 ของผู้บริโภคทั่วโลกเลือกที่จะซื้อของจากร้านค้าที่มีทั้งหน้าร้านจริงและตัวตนทั้งบนโลกออนไลน์ ขณะที่ด้านความกังวลต่อความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีการชำระเงินรูปแบบต่างๆ เป็นหนึ่งในข้อแรกที่ผู้คนมักนึกถึง ในช่วงการระบาด การฉ้อโกงและอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 88 ของผู้บริโภคชาวไทยกล่าวว่า ยินดีที่จะลองใช้เทคโนโลยีการชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ หากรู้สึกว่าปลอดภัยเมื่อเทียบกับ ร้อยละ 79 จากทั่วโลก นอกจากนี้ ร้อยละ 90  ของคนในประเทศไทยและร้อยละ 85 ทั่วโลกต้องการให้ตนมั่นใจว่าทางเลือกในการจ่ายเงินที่ร้านค้าเสนอเป็นช่องทางที่ปลอดภัย ทั้งนี้ดัชนีผลสำรวจวิธีการชำระเงินวิถีใหม่ของมาสเตอร์การ์ด (The New Payment Index) ปี 2564 ชี้ว่า ผู้บริโภคชาวไทยมีความสนใจในสกุลเงินดิจิทัลสูงที่สุดเมื่อเทียบกับผู้บริโภคทั่วโลก โดยร้อยละ 46  ของคนไทยมีความสบายใจในการซื้อหรือใช้สกุลเงินดิจิทัลเมื่อเทียบกับร้อยละ 40 ของเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก ผลสำรวจยังเผยว่าร้อยละ 17 ของคนไทยใช้สกุลเงินดิจิทัลในปีก่อน จากตัวเลขนี้ร้อยละ 57 กล่าวว่าพวกเขาใช้สกุลเงินดิจิทัลในปี 2563 มากกว่าเมื่อก่อน นอกจากนี้ คนไทยถึงร้อยละ 87 มีความสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับสกุลดิจิทัลและ ร้อยละ 81 กล่าวว่าพวกเขายินดีที่จะใช้สกุลเงินดิจิทัลมากขึ้นหากมีความเข้าใจกว่าเดิม

เทรนด์ของการชำระเงินในอนาคตด้วยสกุลเงินดิจิทัลชาวไทย

เรามองเห็นถึงความสนใจในการใช้สกุลเงินดิจิทัลในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นทั่วโลก เมื่อไม่นานนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ไปเมื่อไตรมาสที่สองของปี 25631 การเปิดตัวดังกล่าว ทำให้คนไทยมีช่องทางในการทำธุรกรรมการเงินที่สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น และยังสนับสนุนอนาคตของประเทศที่เดินหน้าด้วยเทคโนโลยี รวมถึงช่วยผลักดันให้เกิดการบริการทางการเงินและโซลูชันที่หลากหลายและมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ในช่วงที่ผ่านมา เราได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า ธุรกิจ และพาร์ตเนอร์ทุกที่รวมถึงประเทศไทยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตในการชำระเงินที่สกุลเงินดิจิทัลจะกลายเป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับผู้บริโภค ในปีที่แล้ว เราได้เปิดตัว Central Bank Digital Currencies Testing Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้ธนาคารกลางสามารถทดลองการอนุมัติ การจำหน่าย แลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล (CBDC) ระหว่างธนาคาร กับผู้ให้บริการทางการเงินและผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารกลางสามารถกำหนดกลยุทธเพื่อวางกฎระเบียบให้กับสกุลเงินดิจิทัล ภายในไม่ถึงปีหลังจากการเปิดตัวของ Testing Platform มาสเตอร์การ์ดได้ประกาศร่วมงานกับ Island Pay เพื่อเปิดตัวบัตรชำระเงินที่รองรับสกุลเงินดิจิทัลใบแรกของโลกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารกลางของประเทศบาฮามาส ความร่วมมือครั้งนี้ทำให้ชาวบาฮามาสได้ใช้เงินสกุลดิจิทัลอย่างเป็นทางการในนาม “The Bahamas Sand Dollar” ในการซื้อสินค้าผ่านบัตรพรีเพด ผู้บริโภคในปัจจุบันต้องการทางเลือกด้านช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคิวอาร์โค้ด กระเป๋าเงินดิจิทัล หรือสกุลเงินดิจิทัล ผู้บริโภคต้องการตัวเลือกในการชำระเงินที่สามารถทำธุรกรรมการเงินได้ทุกที่ทุกเวลา

คว้าโอกาสธุรกิจจากเทคโนโลยีการชำระเงิน

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่การที่ทุกคนสามารถทำงานจากที่บ้านโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ การซื้อของทุกอย่างได้ออนไลน์ ไปจนถึงการเพลิดเพลินไปกับดนตรีและอาหาร หรือค้นพบสถานที่ใหม่ๆ อย่างสะดวกสบายจากที่บ้าน เทคโนโลยีและนวัตกรรมทำให้ผู้คนปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตและการทำงานในรูปแบบใหม่ ในส่วนของการชำระเงิน ผู้คนจำนวนมากขึ้นรู้สึกสะดวกสบายและปรับมาใช้การใช้จ่ายแบบไร้เงินสดและแบบดิจิทัลอย่างต่อเนื่องมากกว่าเดิม เพราะสาเหตุจากเรื่องสุขอนามัยและความสะดวกสบาย โลกใหม่นี้ได้บีบให้ธุรกิจทุกแขนงและทุกขนาดเดินหน้าไปกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อความอยู่รอดในช่วงเวลาที่ทุกอย่างไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น ในปีที่ผ่านมา เราได้เห็นถึงร้านค้าเดิมๆ ที่มีหน้าร้านหันมาสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์มากขึ้น ซึ่งทำให้ร้านเหล่านี้สามารถรักษารายได้และขยายฐานลูกค้าแม้กระทั่งในช่วงล็อคดาวน์หรือท่ามกลางมาตรการต่างๆ ที่จำกัดการเดินทาง ดังนั้นเพื่อรองรับพฤติกรรมใหม่ๆ ของผู้บริโภค ร้านค้าขนาดย่อมจึงต้องละทิ้งการรับเงินสดและเปลี่ยนมาใช้การชำระเงินแบบไร้เงินสด ดิจิทัล และการชำระเงินแบบออนไลน์แทน และเพื่อให้ก้าวทันกระแสดิจิทัล เราจะต้องแน่ใจว่าธุรกิจเหล่านี้จะไม่กลับไปสู่วิธีการเดิมๆ ในช่วงก่อนโควิด เช่น กลับไปค้าขายแบบออฟไลน์ ความคาดหวังของผู้บริโภคให้ธุรกิจปรับตัวเพื่อรองรับพฤติกรรมใหม่ๆ และบรรทัดฐานดิจิทัลจะยังคงอยู่ถึงแม้ว่าการระบาดจะจบลง ทั้งนี้ร้อยละ 80 ของผู้บริโภคชาวไทยกล่าวว่า พวกเขามีแนวโน้มที่จะกลับไปหาร้านค้าที่เสนอการชำระเงินหลากหลายรูปแบบ ในส่วนของธุรกิจขนาดย่อม ร้อยละ 84 ของผู้บริโภคกล่าวว่าพวกเขาจะซื้อของหากทางร้านมีตัวเลือกในการชำระเงินที่มากกว่าเดิม นอกจากนี้เรายังพบว่าร้อยละ 86 ของผู้บริโภคชาวไทยมีแนวโน้มที่จะซื้อของจากร้านค้าที่มีทั้งหน้าร้านจริงและมีตัวตนบนโลกออนไลน์ อีกร้อยละ 84 รู้สึกตื่นเต้นยิ่งขึ้นหากทางร้านมีการชำระเงินรูปแบบใหม่ และ ร้อยละ 59 เสริมว่าพวกเขาจะเลี่ยงร้านที่ไม่รับการชำระเงินรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจ SME คือส่วนสำคัญของเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 99.8 ของธุรกิจทั้งหมดและเป็นร้อยละ 86 ของการจ้างงานในปี 2561 ผลกระทบและมูลค่าของธุรกิจ SME นั้นสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและการเติบโตของดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ เราจะต้องเปิดทางให้ธุรกิจ SME ได้เติบโตต่อไปข้างหน้าในเศรษฐกิจดิจิทัล โดยในก้าวแรก ธุรกิจเหล่านี้จะต้องเสนอตัวเลือกในการชำระเงินรูปแบบต่างๆ ให้กับลูกค้า การชำระเงินแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น คิวอาร์โค้ดหรืออีวอลเล็ตเป็นการลงทุนที่ไม่มากและไม่ต้องใช้เวลาในการบริหารจัดการมาก สิ่งเหล่านี้จะช่วยรักษาลูกค้าให้คงอยู่และขยายฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น ที่มาสเตอร์การ์ด พวกเรายืนหยัดที่จะเปิดทางให้กับการชำระเงินทุกรูปแบบเพื่อรับรองการเติบโตของระแบบนิเวศแบบดิจิทัลที่เหมาะกับทุกคน เทคโนโลยีชำระเงินและโซลูชันของเราช่วยให้ธุรกิจไม่ว่าจากที่ไหนก็ตามสามารถมั่นใจได้ว่า จะสามารถเลือกและปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะกับตนเองได้อย่างง่ายดาย โซลูชันแห่งโลกการเงินอนาคต บทความโดย Aileen Chew ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ มาสเตอร์การ์ด ภาพประกอบ: Pixabay
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine