ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่ขณะเดียวกันก็เป็นหน่วยซึ่งทรงอิทธิพลมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจไทย เนื่องจากครอบครัวธุรกิจ (business family) เป็นจุดเริ่มต้นของการลงทุน การสร้างงาน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อความมั่งคั่งของประเทศในระยะยาว ผู้เขียนในฐานะผู้จัดการโครงการวิจัยเพื่อศึกษาการสืบทอดธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “STEP (Successful Transgenerational Entrepreneurship Practices)” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยระดับนานาชาติที่มีมหาวิทยาลัยชั้นนำกว่า 43 แห่งทั่วโลกร่วมกันศึกษาประสบการณ์และธรรมชาติของครอบครัวธุรกิจในแต่ละภูมิภาคว่ามีลักษณะทางกายภาพ วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ในการนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสเป็นตัวแทนประเทศไทยในนามมหาวิทยาลัยกรุงเทพไปร่วมประชุม STEP – Asia Pacific Meeting 2015 ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน โดยได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และทัศนะต่อการบริหารธุรกิจของครอบครัวธุรกิจในประเทศไทย กับปรมาจารย์ชั้นนำของเอเชียในฐานะนักวิจัยโครงการ STEP อาทิ Prof. Jean Lee, Director of CEIBS Center for Family Heritage, Prof. Annie Koh, และครอบครัวธุรกิจจีน เช่น FOTILE Group ผู้ผลิตสินค้าเครื่องครัวรายใหญ่ของจีน ซึ่งทำให้มีประเด็นที่จะต้องนำมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่านในเรื่องของการบริหารธุรกิจครอบครัวและการวางแผนส่งต่อธุรกิจ
ประเด็นแรก วัฒนธรรมครอบครัว เป็นหัวใจสำคัญต่อการส่งต่อธุรกิจ กล่าวคือ ความรักจะเป็นสิ่งที่ประสานช่องว่างระหว่างช่วงอายุ (generation gap) ครอบครัวที่ประสบความสำเร็จในจีน
ประเด็นที่สอง ครอบครัวธุรกิจที่ต้องการรักษาประสิทธิภาพการดำเนินงานและความมั่นคงของความมั่งคั่งให้มีความคงทนไม่แปรเปลี่ยนไปตามรุ่น (generation)
ประเด็นที่สาม สิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต่อการส่งต่อธุรกิจที่สำคัญมี 3 ปัจจัย กล่าวคือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับช่วงต่อ (successor) 2) ลักษณะความเป็นผู้นำของผู้ส่งต่อ (leadership of the first-generation entrepreneurs) 3) ความเหนียวแน่นของวัฒนธรรม และคุณค่าที่ทุกคนในครอบครัวใช้ร่วมกัน (shared values among family members)
อย่างไรก็ตาม ประเด็นการสื่อสารระหว่าง generation ยังเป็นสิ่งที่ครอบครัวธุรกิจในประเทศจีนให้ความสนใจและพยายามบริหารจัดการด้วยกลยุทธ์ต่างๆ อย่างแข็งขัน เนื่องจากลูกหลานที่ได้รับการศึกษาในต่างประเทศและกลับมารับช่วงต่อธุรกิจมีความคิดอ่านที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนทิศทางตามความคาดหวังของคนรุ่นก่อน โดยเฉพาะรูปแบบของภาวะผู้นำที่มีความเป็นเสรีมากขึ้นจนอาจจะนำไปสู่ประเด็นทางการบริหารได้ แต่สำหรับครอบครัวธุรกิจชั้นนำของจีนอย่าง FOTILE Group ได้เผยเคล็ดลับให้แก่ทีมนักวิจัย STEP ว่า การส่งต่อธุรกิจที่ทำให้ FOTILE Group เป็นบริษัทขนาดใหญ่ได้นั้น
การสร้าง shared values บนพื้นฐานของลัทธิขงจื้อ (Confucianism) ที่เน้นการพัฒนาคุณธรรม การธำรงรักษาจริยธรรม ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์ ในอาชีพของตน และความพยายามส่งเสริมพี่น้องทั้งในส่วนของเงินทุนและกิจกรรมแห่งความกตัญญูที่มีต่อบรรพบุรุษอันถือเป็นความรุ่งเรืองอย่างแท้จริง
โดยนอกจากการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนตามหลักการขงจื้อแล้ว Mr. Mao Lixiang ผู้ก่อตั้ง FOTILE Group ยังใช้กลยุทธ์การส่งต่อแบบ 3 x 3 x 3 กล่าวคือ ก่อนการส่งมอบธุรกิจอย่างเป็นทางการ 3 ปีแรก จะเป็นการฟูมฟักขัดเกลาและหล่อหลอมผู้รับช่วงต่อเกี่ยวกับประเด็นที่จำเป็นต่างๆ ทางธุรกิจ ต่อมา 3 ปีในช่วงที่ 2 จะเป็นการเข้าไปช่วยเหลือผู้รับช่วงต่อในการบริหารเปรียบเสมือนโค้ช และในช่วง 3 ปีสุดท้ายจะเป็นการเดินห่างออกมา แต่พยายามเข้าไปสำรวจตรวจสอบถึงภาวะผู้นำทางการบริหาร ซึ่งไม่ใช่เฉพาะความสามารถในการจัดการเท่านั้น แต่จะต้องเป็นความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญด้วย
ดร.โอภาส เพี้ยนสูงเนิน
ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท สาขาการสร้างเจ้าของธุรกิจ (MME)
ผู้จัดการโครงการวิจัยเพื่อศึกษาการสืบทอดธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ (STEP)
คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เขียนได้ที่อีเมล์: opas.p@bu.ac.th
คลิ๊กอ่าน "แผนการส่งต่อธุรกิจครอบครัว: เรื่องง่ายๆ ที่ไม่ค่อยมีใครอยากพูดถึง" ฉบับเต็ม ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ MARCH 2016 ในรูปแบบ E-Magazine
แผนการส่งต่อธุรกิจครอบครัว: เรื่องง่ายๆ ที่ไม่ค่อยมีใครอยากพูดถึง
TAGGED ON