ถึงวันนี้แล้วคงไม่ต้องเกริ่นกันมากมายว่าองค์กรจำเป็นต้องทำทรานส์ฟอร์เมชันหรือไม่ เพราะโควิด วิกฤตเศรษฐกิจ ดิจิทัลดิสรัปชัน new normal รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ทุกองค์กรมองเหมือนกันว่า การปรับเปลี่ยน หรือพลิกโฉมองค์กรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความอยู่รอดและความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงพลิกผันอย่างรวดเร็ว คาดการณ์ได้ยาก สลับซับซ้อน และมีความคลุมเครือ หรือที่เรียกว่า VUCA (volatility, uncertainty, complexity, ambiguity) แต่จะเปลี่ยนได้อย่างไร และจะเปลี่ยนได้ “เร็วพอ” หรือไม่นั่นคือ คำถามที่สำคัญมากที่สุด Stephen M.R. Covey กูรูด้าน trust จากสถาบัน FranklinCovey (กลุ่มบริษัทแพคริมเป็นตัวแทนในประเทศไทย-exclusive representative) แนะว่า หัวใจสำคัญของผู้นำทุกระดับรวมถึงองค์กรที่จะฝ่าฟันวิกฤตในยุคนี้ หรือกระทั่งในอนาคตคือ “trust” ซึ่งหมายถึงความไว้วางใจและความเชื่อมั่น trust จะเป็นตัวช่วยเร่งสปีดในการทำทรานส์ฟอร์เมชัน หากเราเชื่อว่า “คน” คือ ปัจจัยสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนทุกการเปลี่ยนแปลง มองอย่างผิวเผิน trust อาจคล้ายนามธรรมที่จับต้องได้ยาก แต่ความจริงแล้ว trust เป็น “ทักษะ” ที่ทุกคนหรือทุกองค์กรสามารถพัฒนาได้ และเป็นรากฐานความสำเร็จของผลลัพธ์อื่นๆ ที่องค์กรต้องการ เช่น การสร้างนวัตกรรม การสร้างความร่วมมือร่วมใจเป็นต้น ในยามวิกฤตการสร้าง trust เป็นทักษะผู้นำ (leadership competency) อันดับ 1 ที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง องค์กรที่มี trust สามารถเพิ่มความเร็วลดต้นทุนในการบริหารจัดการ สามารถขับเคลื่อนเป้าหมายต่างๆ ให้บรรลุผลได้อย่างรวดเร็วมากกว่าองค์กรที่บุคลากรขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน หรือองค์กรที่ขาดความไว้วางใจจากผู้บริโภค ลูกค้า เจ้าหนี้ ซัพพลายเออร์ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ไม่เป็นการเกินเลยหากจะกล่าวว่า การสร้าง trust สามารถส่งผลต่องบกำไรขาดทุนตลอดจนผลประกอบการของบริษัท Warren Buffet นักลงทุนและมหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่ร่ำรวยติดอันดับโลกเคยกล่าวไว้ว่า “trust เป็นเสมือนอากาศที่เราหายใจเราจะไม่เห็นประโยชน์ของมันจนกว่าเมื่อเราขาดมัน” และในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้เองที่ trust ได้กลายเป็น “hot topic” ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในองค์กรชั้นนำ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (BIG) เป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำที่เชื่อในเรื่องของ trust โดยคุณปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการพอดแคสต์ “Tips to Top by PacRim” เมื่อเร็วๆ นี้ว่า วิกฤตโควิด-19 ได้พิสูจน์ว่า trust ได้กลายเป็น “อุปนิสัย” ที่ฝังรากลึกลงไปในกระบวนการทำงานและจิตใจของพนักงานใน BIG ทุกคนไว้วางใจกันและกัน และร่วมมือร่วมใจฟันฝ่าวิกฤตได้เป็นอย่างดี รวมถึงในระดับองค์กรที่สามารถรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้าและสังคมที่มีต่อ BIG ได้โดยไม่สั่นคลอน ส่วนในต่างประเทศนั้นมีองค์กรชั้นนำมากมาย เช่น Lenovo, Procter & Gamble, AT&T, ฟริโต-เลย์ ที่นำเอาโซลูชัน speed of trust ของ FranklinCovey ไปใช้ปฏิรูปวัฒนธรรม และเพิ่มสปีดองค์กรได้อย่างประสบความสำเร็จเช่นเดียวกันวิธีการสร้าง Trust
กระบวนการสร้าง trust นั้นสามารถทำได้อย่างเป็นระบบ และมีกระบวนการเราแบ่งการสร้าง trust เป็น 5 ระดับ (5 waves of trust)
กระบวนการสร้าง trust ควรเริ่มจาก self trust คือ การสร้างความน่าไว้วางใจในตัวเองก่อน ซึ่งเป็นระดับความไว้วางใจของตัวบุคคล ซึ่งถือว่ามีความสำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำขององค์กรที่ต้องสร้างความน่าเชื่อถือ (credibility) ให้เกิดขึ้น วิธีการสร้าง self trust ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ- มีคุณลักษณะ (character) เช่น การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง การมีความมุ่งมั่นการถ่อมใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การกล้าเผชิญความจริง เป็นต้น
- มีทักษะและความสามารถที่พร้อมจะสร้างผลลัพธ์ (competence) ในทุกสถานการณ์ และเมื่อผู้นำมีความน่าเชื่อถือแล้ว จะสามารถสร้างความสัมพันธ์แห่งความไว้วางใจ (relationship trust) กับคนรอบข้างได้ด้วย “13 พฤติกรรม” ซึ่งได้จากการวิจัยพฤติกรรมที่สามารถเร่งสปีดในการสร้าง trust ได้อย่างเป็นรูปธรรมเมื่อเรานำไปปฏิบัติ เช่น พูดตรง ให้เกียรติ สร้างความโปร่งใส รักษาคำมั่นสัญญา เป็นต้น
คลิกอ่านฉบับเต็มได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนสิงหาคม 2563 ในรูปแบบ e-magazine