หลังจากการเลือกตั้งในสหรัฐฯ ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด ก็มีทีท่าว่าจะคืบหน้าไปได้ด้วยดี ทั่วโลกต่างเฝ้ารอเวลาที่จะได้กลับคืนสู่สภาวะปกติ จะไม่เป็นภัยคุมคามของโลกอีกต่อไป แล้ว การลงทุนหลังโควิด-19
การกระจายของวัคซีนโควิด-19 นักลงทุนส่วนใหญ่ต่างจับตาดูอย่างใกล้ชิด และคาดการณ์ถึงช่วงเวลาที่จะมีการกระจายวัคซีนทั่วโลก ในขณะที่ตลาดคาดหวังว่าจะมีวัคซีนจำหน่ายออกมาอย่างทั่วถึงในช่วงกลางปี 2564 อย่างไรก็ตาม เรามองว่าการพัฒนาวัคซีนก็ยังมีความเสี่ยงด้านการลงทุน การผลิตและจำหน่ายวัคซีนต้านโควิด-19 อาจมีอุปสรรคระหว่างทางที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากต่างๆ ยังคงต้องต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัส หากมองการฉีดวัคซีนที่จะมาถึงในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ในแง่ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเกิดขึ้นตามมา รัฐบาลในประเทศต่างๆ จะค่อยๆ ผ่อนคลายมาตรการการเฝ้าระวังโควิด-19 และเมื่ออัตราการติดเชื้อลดลง ก็จะเร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้ทุกกลุ่มธุรกิจเริ่มฟื้นกลับมา ยกเว้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่อาจต้องใช้เวลานานกว่าในการฟื้นตัว ความเร็วของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั่วโลกในปี 2564 ที่ร้อยละ 5.2 โดยมีเอเชียนำโดยจีนเป็นผู้นำในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและคาดการณ์การเติบโตของ GDP ที่ร้อยละ 8.2 ในปีนี้ ซึ่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนได้รับแรงหนุนจากมาตรการขั้นเด็ดขาดของรัฐบาลจีนในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาด รวมถึงนโยบายการเงินและการคลังโดยธนาคารกลางของจีน ในการลดอัตราดอกเบี้ยและเพื่อให้ธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้นและมาตรการจูงใจของรัฐบาลในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs ) ให้นำดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจ นอกจากนี้ปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ ได้แก่ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้นระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเพื่อดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ และการเปิดเสรีของตลาดการเงินจะทำให้สินทรัพย์ที่เน้นการเติบโตจากภายในประเทศของจีนเป็นที่น่าจับตามองของนักลงทุนมากขึ้น สำหรับเศรษฐกิจของเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วกว่าภูมิภาคอื่นๆ จากมาตรการควบคุมการเดินทางที่เข้มงวด การตอบสนองรับนโยบายจากภาครัฐ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องโดยรัฐบาลในแต่ละประเทศ รัฐบาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะยังคงให้การสนับสนุนเพื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในปี 2564 เช่น การใช้จ่ายทางการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นภายใต้การบริหารของนายไบเดน ผ่านการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในทวีปยุโรป ธนาคารกลางยุโรปยังคงอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ตราบใดที่การแพร่ระบาดยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก เราคาดว่าเศรษฐกิจจะเกิดการฟื้นตัวในรูปแบบ K-shaped (รูปที่ 1) เราเริ่มมองเห็นอุตสาหกรรมและภูมิภาคที่สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ธุรกิจอื่นๆ ยังคงต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้ และธุรกิจอย่างอีคอมเมิร์ซ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการผลิตซอฟต์แวร์ รวมถึงยา ได้รับอานิสงส์ในครั้งนี้จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของดิจิทัล การช้อปปิ้งออนไลน์ และความใส่ใจด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมและภูมิภาคเหล่านี้จะฟื้นตัวกลับมาได้เร็วกว่าภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด-19 อย่างอินเดีย และละตินอเมริกา รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางการท่องเที่ยวและการบริการ ยูโอบีแนะนำลงทุนหุ้น Asia ex-Japan เมื่อเศรษฐกิจของจีนเริ่มฟื้นตัว ประกอบกับความมุ่งมั่นของรัฐบาลในเอเชียในการสนับสนุนทางการเงินและการคลังอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจด้านการส่งออกและรายได้น่าจะเพิ่มมากขึ้นในเอเชีย โดยเฉพาะจีน หุ้น Asia ex-Japan เป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในปี 2563 ในกลุ่มที่เราแนะนำให้ลงทุน เนื่องจากภูมิภาคนี้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดีกว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว การเติบโตทางเศรษฐกิจได้รับแรงหนุนจากจีนที่ฟื้นตัว หุ้นโลกที่มีคุณภาพสูงสามารถปรับตัวขึ้นได้ดีท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดจากโควิด-19 หุ้นกลุ่มสินค้าจำเป็นในสหรัฐฯ ยังคงเป็นกลุ่มหุ้นเชิงรับ (defensive) เนื่องจากนักลงทุนมองหาหุ้นที่สามารถทนรับความผันผวนในตลาดได้ในขณะที่ยังได้รับประโยชน์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงการล็อกดาวน์ ลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อผลตอบแทนในระยะยาวท่ามกลางความผันผวนของตลาด เนื่องจากนักลงทุนมองไปยังโอกาสด้านการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นในปี 2564 จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนที่จะต้องจัดพอร์ตลงทุนให้มีความหลากหลายเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด เราแนะนำให้ลงทุนอย่างสม่ำเสมอและหลีกเลี่ยงการจับจังหวะตลาด ธนาคารยูโอบี เป็นธนาคารที่มุ่งเน้นให้นักลงทุนเข้าใจความเสี่ยงในการลงทุน เราแนะนำให้นักลงทุนสร้างสมดุลของพอร์ตการลงทุน และกระจายการลงทุนไปยังหลากหลายสินทรัพย์เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือนักลงทุนควรลงทุนตามความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ ประเมินระดับความเสี่ยงที่ท่านยอมรับได้ และพิจารณาความเสี่ยงของการลงทุนก่อนผลตอบแทน บทความโดย ยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บุคคลธนกิจ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทยไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine