"บล็อกเชน" เปลี่ยนโลกการบริจาคให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น - Forbes Thailand

"บล็อกเชน" เปลี่ยนโลกการบริจาคให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

มีคนจำนวนเป็นล้านคนทั่วโลกที่เลือกบริจาคลงใน บล็อกเชน ผ่านมูลนิธิหลายประเภท เช่น มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษย์ มูลนิธิเพื่อการศึกษา มูลนิธิเพื่อช่วยเหลือโลก เป็นต้น โดยในปี 2015 มีมูลนิธิเกิดขึ้นเป็นจำนวน 1.5 ล้านที่ทั่วโลก และอุตสาหกรรมมูลนิธิการกุศลนี้มีมูลค่าถึง 4.1แสนล้านสหรัฐ (หรือ 13 ล้านล้านบาทโดยประมาณ)

คำถามคือการที่เราได้บริจาคผ่านมูลนิธิหรืออุบัติเหตุต่างๆ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเงินจำนวนที่บริจาคเพื่อการศึกษาของเด็ก ได้ถึงมือของเด็กจริงๆ หรือเวลาที่เราบริจาคเพื่อช่วยเหลือประเทศที่ประสบปัญหาที่เลวร้าย จะรู้ได้ยังไงว่ามันได้ช่วยเหลือครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือจากเราจริงๆ  และเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เติบโตขึ้นผ่านอุตสาหกรรมทุกประเภท ได้เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพที่น่าสนใจ และนำเสนอความโปร่งใสในทำการกุศลรูปแบบใหม่ ปัจจุบัน เราสามารถเห็นเทคโนโลยี บล็อกเชน ในเรื่องการเงิน ศิลปะ อาหาร แฟชั่น พลังงาน และอีกมายมาย โดยจำนวนธุรกิจที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้ได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และบริษัทใหญ่ๆ อย่างเช่น Starbucks ก็ได้นำบลอกเชนมาดัดแปลงพัฒนาความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการบริการ หรือ Maersk บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมการขนส่ง ได้ค้นพบศักยภาพของบล็อกเชน โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนจัดการสินค้าสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ เพื่อสร้างการติดตามสินค้าอย่างไร้ข้อจำกัดตลอด 24 ชั่วโมง ในปี 2018 Populus บริษัทวิจัยในสหราชอาณาจักร ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อมั่นและไว้วางใจในการทำการกุศลสาธารณะ จัดอันดับโดย 10 เป็นเลขที่สูงที่สุด หมายความว่าคนได้ให้ความเชื่อมั่นและไว้วางใจกับมูลนิธินั้น และเลข 1 หมายความว่า คนไม่มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ซึ่งผลโพลจากประชาชนในสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 5.5 ซึ่งแสดงว่าการทำการกุศลไม่ได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากสังคม มันเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะได้เห็นการทำการกุศลอยู่บนความเชื่อมั่นและไว้วางใจบนสังคมสาธารณะในมุมมองคนทั่วโลก ในอดีต มูลนิธิหรือการทำการกุศลไม่ได้มีประวัติที่ดีนักในเรื่องความโปร่งใส โดยในปี 2011 ขณะที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศเฮติ สภากาชาดอเมริกัน (American Red Cross) สามารถที่จะรวบรวมเงินบริจาคเป็นจำนวน 488 ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินบริจาคถูกจัดหามาเพื่อดูแลผู้ที่สูญเสียบ้านและต้องอยู่อาศัยด้วยเต็นท์ อย่างไรก็ตาม  26 เปอร์เซ็นต์จากเงินบริจาคก็ถูกนำมาเป็น “ต้นทุนค่าจัดการ” ด้วยเหตุผลใดบ้างซึ่งก็ไม่มีใครรู้แน่ชัด ถ้าระบบถูกบริหารจัดการบน บล็อกเชน เรื่องอย่าง “ต้นทุนค่าจัดการที่ไม่มีใครรู้แน่ชัด” จะไม่เป็นปัญหาอีก ถ้าเรารวมระบบบล็อกเชนเข้ากับการบริจาค เราสามารถที่จะยกประสิทธิภาพของผลลัพธ์ให้ถึงขีดสุด หรือเราสามารถที่จะให้สิ่งที่ดีต่อผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ รวมไปถึงผู้บริจาคที่พวกเขาจะสามารถเข้านอนได้ด้วยความรู้สึกที่ดีที่เชื่อมั่นว่าเงินของพวกเขาได้ถูกนำไปใช้ในที่ๆ ถูกต้อง เทคโนโลยีบล็อกเชนจะสามารถเป็นผู้เปลี่ยนเกมในสถานการณ์นี้ ระบบกระจายศูนย์กลางข้อมูลไปทุกส่วนของระบบการบริจาคจะเกิดขึ้นในบล็อกเชน อธิบายได้ว่าทุกๆ การบริจาคที่ถูกส่งมาจากผู้บริจาคจะถูกบันทึกและสามารถเช็คได้อย่างเปิดเผยเพื่อให้แน่ใจได้ว่าการบริจาคเหล่านี้จะถูกนำไปให้ผู้คนที่สมควรได้รับสิ่งเหล่านี้ มูลนิธิ BitGive ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นแพลทฟอร์มที่สามารถบริจาคด้วยสกุลเงินดิจิตอล บริษัทนี้ดำเนินงานมาตั้งแต่ 5 ปีก่อน เพื่อจะกระตุ้นความโปร่งใสในอุตสาหกรรมการบริจาค BitGIve ได้สร้างยอดเกินกว่าหนึ่งแสนเหรียญบิดคอยน์ในปีล่าสุด BitGive แพลตฟอร์มทำการเชื่อมต่อผู้บริจาคกับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือโดยตรง ซึ่งเงินบริจาคจะตรงไปสู่ผู้ที่ต้องการ ไม่ใช่คนกลางหรือองค์กร ดังนั้นผู้บริจาคมีโอกาสที่จะได้เห็นเงินบริจาคถูกนำไปใช้จ่ายอย่างไรผ่านแพลตฟอร์ม อะไรที่ทำให้การบริจาคบนระบบบล็อกเชนนั้นน่าสนใจ หนึ่งในจุดเด่นหลักๆ คือบล็อกเชนไม่มีบุคคลภายนอกหรือคนกลางเข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนการบริจาค ซึ่งทำให้การบริจาคมีความบริสุทธิ์โปร่งใส และสามารถที่จะลด “ต้นทุนการจัดการ” ที่ถูกดูแลจากบุคคลที่ดำเนินงานมูลนิธิ และผู้บริจาคไม่มีส่วนร่วมในการควบคุมดูแลได้เป็นอย่างดี รวมถึงระบบบล็อกเชนที่ทำงานอัตโนมัติ ลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contracts) ของระบบบล็อกเชนนั้นสามารถปฏิบัติการด้วยตนเอง มนุษย์ไม่มีทางที่จะมีความแม่นยำเหมือนเครื่องจักรที่ถูกโปรแกรมหน้าที่ไว้เช่น ตรวจสอบข้อมูลและหากเงื่อนไขเฉพาะถูกเติมเต็ม จะสามารถส่งเงินบริจาคที่รวบรวมไว้ออกไปได้ ถ้าระบบมีความอัตโนมัติก็จะสามารถลดและรักษาเวลาในการดำเนินงานตลอด 24 ชั่วโมงได้ ซึ่งมีประสิทธิภาพที่สูง การกระจายศูนย์ข้อมูลการบริจาคสามารถทำได้จริงเช่นกัน หมายความว่าสิ่งที่บริจาคจะไม่ถูกกำหนดขอบเขตหรือถูกรัดไว้กับคำว่าประเทศหรือขอบเขตกฎหมาย และการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์ที่เป็นเงินหรือสินทรัพย์ประเภทอื่นโดยปราศจากกำแพงอัตราแลกเปลี่ยนต่างประเทศ หรือต้นทุนการดำเนินงานในประเภทต่างๆ นั้นทำได้ง่ายกว่ามาก รวมถึงวิธีนี้ยังเร็วกว่าการดำเนินงานแบบเดิม ลองจินตนาการว่าคุณอาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่สามารถจะบริจาคผ่านมูลนิธิโครงการที่ต้องการ ด้วยเหตุผลเพียงเพราะอยู่คนละประเทศกับคุณ ถ้าคุณอาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่คุณต้องการจะบริจาคไปที่องค์กรคนไร้บ้านประเทศซิมบับเว มันจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากหากไม่มีองค์กรที่สนับสนุนโครงการนี้อยู่ในประเทศไทย รวมถึงการบริจาคเล็กๆ เป็นจำนวน 100 บาท ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะโอนข้ามประเทศเพราะแค่ค่าธรรมเนียมอย่างเดียวก็กิน 100 บาทคุณไปแล้ว หากใช้บล็อกเชนปัญหานี้จะไม่มีอีกต่อไป ด้วยลักษณะของเงินดิจิทัลที่ไม่มีพรมแดนและจำนวนการโอนขั้นต่ำ บล็อกเชนสามารถสร้างผลกระทบทางบวกต่อความเชื่อมั่นในการบริจาคด้วยการที่ผู้บริจาคจะสามารถบริจาคไปถึงผู้ต้องการความช่วยเหลือโดยตรง และตรวจสอบความคืบหน้าในการบริจาคได้ ถึงแม้สิ่งนี้จะยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นและเรายังไม่เห็นแน่ชัดถึงทิศทางของอุตสาหกรรมในระบบบล็อกเชน บิทคับ บล็อกเชนเทคโนโลยี (Bitkub Blockchain Technology) คือบริษัทสัญชาติไทยที่สามารถจัดหาบริการบล็อกเชนที่สำคัญไปสู่มูลนิธิการกุศลต่างๆ เพื่อสร้างการกระจายศูนย์กลางข้อมูลการบริจาค เทคโนโลยีที่ถูกยกระดับนี้จะเป็นโครงการที่น่าสนใจในประเทศไทย ส่วนจะเกิดขึ้นหรือไม่ เวลาเราเท่านั้นที่สามารถบอกได้