จุดยืนของประเทศไทย ในอุตสาหกรรมคริปโตฯ - Forbes Thailand

จุดยืนของประเทศไทย ในอุตสาหกรรมคริปโตฯ

FORBES THAILAND / ADMIN
17 Jun 2019 | 11:05 AM
READ 3059

ตั้งแต่อดีตความก้าวหน้าทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) และคริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency) ถูกจำกัดอยู่เพียงประเทศที่เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีธุรกรรมการเงินมายาวนาน เช่น สิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์ ในขณะที่บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ได้มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดในเทคโนโลยีดังกล่าว แต่มีอีกหลายประเทศที่น้อมรับและปรับใช้นวัตกรรมดังกล่าวทันที โดยประเทศเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญกับการพลิกโฉมธุรกิจด้วยแนวคิดดิจิทัล (digital transformation) ควบคู่กับการเข้ามามีส่วนในการปกป้องผู้บริโภคและนักลงทุน

ในปีที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มมีการสร้างและก่อตัวของชุมชนกลุ่มคนที่มีความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซี โดยประเทศต่างๆ ในภูมิภาคได้เริ่มออกกฎหมายที่มีความชัดเจนและให้การสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้โครงการต่างๆ และนักลงทุนจำนวนมากต่างหลั่งไหล เข้ามาในภูมิภาค หลายประเทศได้กำหนดยุทธศาสตร์ กรอบการดำเนินงาน และโครงการริเริ่มที่ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา การลงทุน และการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซีไปใช้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น รัฐ Penang ของประเทศมาเลเซีย ได้มีการดำเนินโครงการที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการปฏิรูประบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ของกระบวนการผลิตอาหาร หรือประเทศฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นประเทศล่าสุดที่ได้มีการออกกรอบทางด้านกฎระเบียบและกฎหมายเพื่อปกป้องนักลงทุนและระเบียบทั่วไป ในการครอบครองสินทรัพย์ดิจิทัลไทยได้ประกาศนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การดำเนินงานและโมเดลทำงเศรษฐกิจที่มุ่งหวังที่จะเปลี่ยนประเทศให้กลายเป็นระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based economy) ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่ๆ และมีการให้อิสระและมีความก้าวหน้าทางด้านคริปโตเคอร์เรนซีกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ประเทศไทยได้อนุญาตให้มีการ ซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลทั้งหมด 7 สกุลเงิน และเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับ คริปโตเคอร์เรนซีที่ชัดเจน พร้อมทั้งกำกับดูแลการเสนอขายสินทรัพย์ดิจิทัลและเปิดโอกาสให้มีการพัฒนานวัตกรรมและการลงทุนทางด้านคริปโตฯ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลตลาดเงินทุนของประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมบล็อกเชนของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวทางโจทย์สถานการณ์ปัญหาปลายเปิดในการขับเคลื่อนนวัตกรรม ควบคู่กับการกำกับตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อเร็วๆ นี้ ก.ล.ต.ได้มีการเห็นชอบการให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจำนวน 4 รายการในประเทศ ซึ่งเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่สำหรับตลาดทุนไทย หากลองมองย้อนไปและพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างมีนัยสำาคัญ เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพและกระตุ้นการไหลเข้าของเม็ดเงินลงทุนการทำนุบำรุงองค์กรบล็อกเชนจึงเป็นจุดมุ่งหมายของรัฐบาล ทั้งนี้หน่วยงานที่กำกับดูแลมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนระบบนิเวศโดยรวมจากผู้ลงทุนและผู้ประกอบการ ไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง เบื้องต้นกฎหมายสำหรับคริปโตเคอร์เรนซีของประเทศไทยนั้นมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยและการฉ้อโกงในสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทใหม่นี้ อีกทั้งให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสนอขาย Initial Coin Offerings (ICOs) หลังจากมีการถกเถียงกันอย่างมากในอุตสาหกรรม โดยล่าสุดถึงแม้ ก.ล.ต. ได้ให้ไฟเขียวกับศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (exchange) ไปถึง 3 ราย ทางหน่วยงานก็ได้ปฏิเสธคำขอใบอนุญาตจำนวน 2 รายด้วยเช่นกัน เนื่องจากมาตรการป้องกันการฟอกเงิน และระบบงานในการทำาความรู้จักตัวตนลูกค้า (Know Your Customer: KYC) ยังไม่มีความพร้อมตามมาตรฐานที่ ก.ล.ต. ยอมรับ ซึ่งกระบวนการและผลลัพธ์นี้แสดงให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังของหน่วยงานของภาครัฐในการเข้ามากำกับดูแลบล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซี

วิวัฒนาการสู่ประเทศแห่งนวัตกรรมในอนาคต

เป็นที่แน่ชัดว่าการมีโครงสร้างทางกฎหมายที่ชัดเจนนั้นทำให้สถานะการเป็นศูนย์กลางด้านบล็อกเชนของไทยแข็งแรง ยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกล้า ในการทดลองในเทคโนโลยีใหม่อย่างบล็อกเชนโดยรัฐบาล โดยเมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศการเริ่มต้น โครงการอินทนนท์ เพื่อทดลองความเป็นไปได้ของสกุลเงินดิจิทัลจำลองที่ออกโดยธนาคารกลาง ขณะเดียวกันในช่วงต้นปีนี้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้เริ่มทดลองเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อลงคะแนนเสียงแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-voting) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเลือกตั้งทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด ระดับชุมชน ไปจนถึงการลงคะแนนเสียงในธุรกิจ ล่าสุด ก.ล.ต.ได้ประกาศการอนุมัติผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO portal) เจ้าแรกของประเทศไทย โดย ก.ล.ต. มองว่า ICO portal นี้จะนำมาซึ่งการให้แนวทางต่อโครงการ ICO ใหม่ๆ รวมไปจนถึงการให้บริการตรวจสอบข้อมูล (due diligence) การทำความรู้จักตัวตนลูกค้า (KYC) และ การทดสอบซอร์สโค้ดระบบสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ (smart contract) โดย ICO portal ก็เปรียบเสมือนกับเป็นสถาบันวาณิชธนกิจ (investment banking) ของสกุลเงินทั่วไป (fiat currency) นั่นเอง และ ก.ล.ต.ยังได้ยืนยันถึงความเป็นไปได้สูงที่จะมีการเผยแพร่ข้อแนะนำสำหรับการยื่นคำร้องเพื่อเสนอขายหลักทรัพย์โทเคน (Security Token Offering หรือ STO) โดยผ่าน ICO Portal ในไม่ช้านี้ ด้วยการผลักดันและความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นจากบนลงล่าง (top down) การมีจุดยืนในนวัตกรรมชัดเจนมีส่วนในการสร้าง ค่านิยมให้แก่หน่วยงานที่กำากับดูแล รวมทั้งสถาบันการเงิน ให้เข้ามามีบทบาทในการสร้างความตระหนักและความเข้าใจของประชาชนต่อนวัตกรรมนี้ การมีนโยบายที่ชัดเจนในการคุ้มครองผู้บริโภค และการได้รับ อนุมัติจากภาครัฐ จะช่วยให้ประชาชนเปิดรับ เทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งได้แสดงผลบ้างแล้วจากการที่ขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีจำานวนผู้ลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก อีกด้านหนึ่งของประเทศไทย 4.0 ที่สำคัญคือโครงการ SMART Visa 4 ปีของรัฐบาล ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะช่วยให้เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้บริหารระดับสูง นักลงทุน และสตาร์ทอัพต่างๆ ได้เข้ามาทำางานและจัดตั้งกิจการในประเทศไทย แน่นอนว่าการส่งเสริมการลงทุนในภาคส่วนเทคโนโลยี โดยผู้มีความสามารถและนักลงทุนจากต่างชาติ ย่อมส่งผลให้เกิดการสร้างโอกาสในการร่วมมือในระดับนานาชาติที่เพิ่มมากขึ้น เป็นการสร้างความสามารถทางการแข่งขันในระดับโลกให้กับประเทศไทย แม้โลกเทคโนโลยีจะเต็มไปด้วยการแข่งขันที่เชี่ยวกราก แต่ประเทศไทยก็ได้วางรากฐานที่ดีสำาหรับการปฏิรูปสู่ยุคดิจิทัล และได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิก (first mover) ในด้านกฎหมายบล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบให้กับประเทศไทยเมื่ออุตสาหกรรมนี้เริ่มเติบโตเต็มที่ ประกอบไปด้วยการเติบโต ทางด้านนโยบายกำกับดูแลอุตสาหกรรม และนโยบายด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยเหล่านี้ จะช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็น ผู้ชนะในเศรษฐกิจใหม่นี้ และกลับมาผงาดเป็นเสือเศรษฐกิจแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้อีกครั้ง นิธินันท์ บุญวัฒนพิศุทธิ์ ประธานเจ้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ฮอทนาว (ประเทศไทย) จำกัด
คลิกอ่านบทความทางด้านธุรกิจและการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ มิถุนายน 2562 ที่แผงนิตยสารชั้นนำและในรูปแบบ e-Magazine