ขับเคลื่อน Digital Reinvention ใน ยุคดิจิทัล - Forbes Thailand

ขับเคลื่อน Digital Reinvention ใน ยุคดิจิทัล

FORBES THAILAND / ADMIN
08 Feb 2019 | 10:00 AM
READ 9182

ธุรกิจ ยุคดิจิทัล ในทุกอุตสาหกรรมต่างกำลังเตรียมความพร้อมที่จะต่อกรกับ Digital Disruption และความคาดหวังของลูกค้าที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ผลพวงจากความก้าวล้ำและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคดิจิทัลหลายองค์กรกำลังประสบความยากลำบากในการปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล โดยความท้าทายที่สำคัญที่สุดคือจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างไรให้องค์กรไม่เพียงแต่จะสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้มีประสิทธิภาพ แต่ยังสร้าง “ความเติบโต” ให้กับองค์กรของตนได้อย่างเป็นรูปธรรม

ทำความเข้าใจ Digital Reinvention

สำหรับองค์กรแบบดั้งเดิม Digital Reinvention หมายถึงการย้อนกลับมาตั้งแต่ระดับกลยุทธ์ การปฏิบัติการ ไปจนถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อปรับโฟกัสขององค์กรไปที่การสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้า โดยหันมาสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นสร้างสรรค์นวัตกรรมและเชื่อมโยงระบบผ่านดิจิทัลได้อย่างไร้รอยต่อ แทนที่จะเน้นสายงานการผลิตเพียงอย่างเดียว ช่วงปี 2000 ที่เทคโนโลยีดิจิทัลเริ่มก้าวล้ำ ถือเป็นช่วงที่เป็นจุดกำเนิดของระบบเศรษฐกิจแบบเน้นที่ตัวบุคคล โดยองค์กรหันมาปรับกระบวนการงานต่างๆ เป็นดิจิทัลเพื่อให้ตอบโจทย์การสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้า แต่วันนี้ Digital Reinvention ถือเป็นเรื่องที่ก้าวไปไกลกว่านั้นมาก เพราะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น AI คลาวด์ โมบายล์ซิเคียวริตี้บล็อกเชน IoT ฯลฯ Digital Reinvention หมายถึงการที่องค์กรหันกลับมาทบทวนสัมพันธภาพและมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างแต่ตราตรึงให้แก่ลูกค้า คู่ค้า บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการทำ Digital Reinvention ให้ประสบความสำเร็จองค์กรจำเป็นต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ใหม่ที่ชัดเจน พัฒนาจุดขายใหม่ๆ และเลิกยึดติดกับวิธีการทำงานแบบเดิมๆ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่น่าจะสะท้อนภาพให้ชัดเจนขึ้น
  1. กำหนดเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ใหม่ที่ชัดเจน การแสวงหาเป้าหมายใหม่ๆ ที่องค์กรต้องการไปให้ถึง อาจช่วยให้องค์กรค้นพบแนวทางการทำธุรกิจใหม่ๆ ที่สร้างรายได้และคุณค่าเพิ่มขึ้น แนวทางการบริหารจัดการการเงินที่มีประสิทธิภาพหรือแม้แต่แนวทางการประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการมองภาพในองค์รวมมากขึ้น ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ Whirlpool (เวิร์ลพูล) บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าชื่อดังที่เลือกใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ช่วยให้เครื่องซักผ้า Whirlpool สามารถสื่อสารกับเครื่องอบผ้าได้ว่ามีปริมาณผ้าเท่าใดและควรเลือกใช้โปรแกรมใดจึงจะเหมาะสมที่สุด
  1. การพัฒนาความชำานาญและจุดขายใหม่ๆ ความชำานาญรูปแบบใหม่ๆ ขององค์กรไม่ได้หมายถึงการพัฒนาทักษะใหม่ๆ แต่หมายถึงการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าผ่านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า Kone (โคเน่) ผู้ผลิตลิฟต์และบันไดเลื่อนคือหนึ่งในผู้ที่นำเทคโนโลยี AI และบล็อกเชนมาช่วยในการสร้างสรรค์ความชำานาญและจุดขายใหม่ๆ โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบลิฟต์และบันไดเลื่อนกว่า 1 ล้านตัวทั่วโลก
  2. การกำหนดแนวทางการทำงานใหม่ๆ เรื่องนี้เกี่ยวกับความจำาเป็นขององค์กรในการวิเคราะห์ความต้องการด้านบุคลากรรวมถึงการรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและการสร้างบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมแก่การพัฒนาองค์กรให้เติบโตในระยะยาวโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลการพิจารณาถึงบริบทและลำดับความสำคัญของพันธกิจขององค์กรจากมุมที่กว้างขึ้น และมองถึงการสร้างความร่วมมือและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่ามากขึ้นจะทำให้ผู้บริหารสามารถพัฒนาแนวทางการทำงานใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ลูกค้า คู่ค้า

และตัวองค์กรเองตัวอย่างที่น่าสนใจคือ Woodside (วูดไซด์) บริษัทด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย ที่ในอดีตจำเป็นต้องพึ่งพาทักษะของวิศวกรจำานวนมากในการบริหารจัดการแท่นขุดเจาะ ขณะที่ประเด็นเรื่องความปลอดภัยของชีวิตผู้คนก็เป็นเดิมพันที่สูงมากเช่นกันWoodside จึงร่วมกับไอบีเอ็มในการพัฒนาโซลูชั่น AI ที่สามารถย่อยข้อมูลไร้โครงสร้างกว่า 23 ล้านรายการจากรายงานด้านวิศวกรรมต่างๆ ในอดีต กลั่นกรององค์ความรู้จากวิศวกรหลายพันคนที่เคยเผชิญปัญหาแบบเดียวกันในอดีต มาเป็นข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ให้กับกลุ่มวิศวกรที่อยู่บนแท่นขุดเจาะ ช่วยลดระยะเวลาในการค้นหาแนวทางการแก้ป้ญหาของวิศวกรรุ่นใหม่ลงได้ 80% และร่นเวลาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ลงได้ถึง 20%

ผู้นำเทคโนโลยีมาต่อยอดธุรกิจในไทย

อีกตัวอย่างความสำเร็จที่ชัดเจนในประเทศไทย คือ โครงการของธนาคารกสิกรไทยในการนำบล็อคเชนมาใช้ในกระบวนการหนังสือค้ำประกัน เพื่อร่นกระบวนการและลดต้นทุนให้กับทั้งธนาคารและลูกค้า ความสำเร็จของโครงการทำให้ภายในเวลา 2 ปีต่อมา มีการขยายโครงการดังกล่าวสู่ความร่วมมือระหว่างธนาคารองค์กรรัฐวิสาหกิจ และองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทย เป็นที่รู้จักในนาม Thailand Blockchain Community Initiative หรือกรณีของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ธนาคารตัวแทนจำาหน่าย และ IBM ในการพัฒนาระบบจำาหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาลบนเทคโนโลยีบล็อกเชนผลจาก Proof of Value พบว่าระบบดังกล่าวช่วยให้ประชาชนได้พันธบัตรเร็วขึ้น จากเดิม 15 วัน เหลือเพียง 2 วัน ตัวอย่างต่างๆ ได้สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการสร้างประสบการณ์ประทับใจในยุคดิจิทัล โดยมีเทคโนโลยีก้าวล้ำเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อน Digital Reinvention เพื่อนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จในวันนี้และอนาคต จึงถึงเวลาแล้วที่ต้องนำดิจิทัลขับเคลื่อนองค์กร โดย Harriet Green CEO and Chairman, IBM Asia Pacific
คลิกอ่านฉบับเต็ม "ขับเคลื่อน Digital Reinvention ให้ประสบความสำเร็จ" และบทความจากนักเขียนชั้นนำเพิ่มเติมได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับ มกราคา 2562 ในรูปแบบ e-Magazine