ณ ชั่วโมงนี้ นอกจากติดตามปัญหาเรื่องโรคระบาด โควิด 19 อีกเรื่องที่คนทั่วโลกเฝ้าติดตาม ก็คงเป็นการแข่งขันกีฬา โอลิมปิกเกมส์ ที่เป็นมหกรรมกีฬาที่ทั่วโลกเฝ้าเชียร์ ให้กำลังใจนักกีฬาจากประเทศของตัวเอง ท่ามกลางมรสุมของปัญหามากมาย
แล้วถ้าเราลองเปรียบธุรกิจของเรากับเกมกีฬา โอลิมปิกเกมส์ เดือนนี้ก็คงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ อาจเหมือนช่วงพักครึ่งเวลาที่ทีมหรือองค์กรต้องมาเช็กกันว่า ครึ่งเกมหรือครึ่งปีที่ผ่านมา ทีมหรือองค์กรของเราทำ scores ได้ดีแค่ไหน พร้อมประเมินว่าเป้าหมายหรือ KPI ต่างๆ ขององค์กรในปีนี้มีแนวโน้มที่จะ execute ได้สำเร็จหรือไม่ แล้วถ้าไม่ องค์กรจะต้องปรับเป้าหมายและกลยุทธ์กันอย่างไร เพื่อให้ครึ่งปีหลังคว้าชัยชนะมาให้ได้ ต่อมา หากเปรียบธุรกิจของเรากับเกมกีฬา พนักงานในบริษัทก็คงเปรียบได้กับนักกีฬาในสนามนั่นเอง และมุมมองจากคำถามเหล่านี้อาจช่วยสะท้อนภารกิจสำคัญให้ผู้บริหารได้เร่งรีบแก้ไขปรับปรุง1.ชัยชนะของบริษัทหรือทีมของเราที่สำคัญที่สุดในปีนี้ (เป้าหมายสำคัญที่สุด) ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ในเรื่องใดและปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร?
แน่นอนว่านักกีฬาในสนามรู้ดีว่าชัยชนะของทีมนั้นจะได้มาอย่างไร จะเข้ารอบต่อไปได้ต้องการคะแนนเท่าไหร่ ถ้าแพ้ในเกมนั้นๆ แล้วผลที่ตามมาในเกมถัดไปจะเป็นอย่างไร แต่เชื่อหรือไม่ว่า ผลการศึกษาทีมงานกว่า 60,000 ทีม ของ www.franklincovey.com พบว่า มีพนักงานเพียง 15% เท่านั้นที่รู้ว่า เป้าหมายสูงสุดขององค์กรคืออะไร และพนักงานเพียง 23% เท่านั้นที่มุ่งมั่นกับเป้าหมายนั้น อาการที่พบบ่อยได้แก่ เป้าหมายองค์กรอาจไม่ชัดเจนอย่างที่คุณคิด ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจากองค์กรมีเป้าหมายมากเกินไป หรือเปลี่ยนเป้าหมายบ่อยเกินไป ฉะนั้น สิ่งที่ผู้นำต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ก็คือ การสร้างความชัดเจน ให้กับเป้าหมายสำคัญสูงสุด (Priority Goal) ขององค์กร- การละเลยเป้าหมายสำคัญสูงสุด (Priority Goal) ขององค์กร
2.องค์กรได้สร้าง engagement หรือทำให้ทีมมุ่งมั่นในเป้าหมายสำคัญสูงสุดหรือไม่?
อารมณ์ดีใจเมื่อทีมได้ชัยชนะหรือเสียใจเมื่อทีมพ่ายแพ้ของนักกีฬารวมถึง staff ในทีมนั้นบ่งบอกอย่างชัดเจนถึงความรู้สึกร่วมหรือ engagement ของคนในทีม สำหรับองค์กรธุรกิจก็เช่นกัน คงไม่มีประโยชน์ที่องค์กรจะมีเป้าหมายที่คมชัด แต่ไม่มีใครในทีมจับมือไปกับคุณหรือรู้สึกมีอารมณ์ร่วมไปกับคุณ พนักงานที่มองว่าเป้าหมายขององค์กรเป็นเพียงความฝันลมๆ แล้งๆ ของผู้บริหาร หรือเป็นสิ่งที่ถูกสั่งลงมาเป็นทอดๆ และเขาต้องก้มหน้าก้มตาทำโดยไม่มีปากมีเสียง คือ พนักงานที่จะไม่มีวันลงแรงลงใจให้กับเป้าหมายอย่างเต็มร้อย ถามตัวเองว่า ในฐานะผู้นำคุณทำให้พนักงาน buy-in กับเป้าหมายขององค์กร/ทีม หรือไม่ พนักงานเข้าใจมันแค่ไหน เขารู้สึกกับมันอย่างไร และเขามีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหนกับการกำหนดเป้าหมายและกิจกรรมต่างๆ ที่เขาต้อง execute ในแต่ละวัน ฉะนั้น อย่าเอาแต่สั่งและมอบเป้าหมายลงมาเป็นทอดๆ เพราะไม่ว่าองค์กรของคุณจะใหญ่แค่ไหน คุณก็สามารถออกแบบกลไกและกระบวนการบางอย่างที่จะช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนสู่เป้าหมายด้วย ‘high engagement’ ได้ เพราะพนักงานที่มีใจเท่านั้น คือ พนักงานที่สามารถ ‘make the impossible possible’3.องค์กรได้สร้างความสอดคล้องของการทำงานระหว่างทีม (Team spirit) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันหรือไม่?
บ่อยครั้งที่เราเห็นนักกีฬาฟุตบอลเลือกที่จะไม่จบสกอร์ แต่กลับส่งให้เพื่อนได้จบเพราะเห็นเพื่อนอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่า และเมื่อทำคะแนนได้แล้วทุกคนต่างก็แสดงออกถึงความดีใจร่วมกันเพราะมันคือชัยชนะของทีม ในองค์กรธุรกิจก็เช่นกัน หลายครั้งเรามั่นใจว่าทีมงานของเรา พนักงานของเรามีความภักดีและมุ่งมั่นทุ่มเทกับเป้าหมายองค์กร ทุกคนทำงานหนักจนแทบ burn out แต่ผลลัพธ์กลับไม่ออก อาจเพราะแต่ละคนวิ่งกันไปคนละทิศละทาง แล้วแต่ใครจะคิดออกว่า ต้องทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย แต่ไม่สอดประสานกันหรือที่เราเรียกว่าทำงานกันแบบ silo ตามแผนก ฉะนั้น สำคัญอย่างมากที่แต่ละทีมจะต้องระบุให้ได้ว่า พวกเขาแต่ละคนในทีมต้องทำอะไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และจะวัดผลความสำเร็จในแต่ละจุดอย่างไร เพื่อไม่ให้ทีมออกนอกเส้นทาง และช่วยกันปรับการทำงานให้ชกตรงเป้า ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างเหนื่อยแต่ไม่นำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ นั่นแปลว่าทีมหรือองค์กรต้องมีกลไกบางอย่างที่ทีมสามารถกลับมาคุยกันได้อย่างสม่ำเสมอเพื่อเช็กว่า แต่ละคนได้ทำอะไรไปบ้างเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนเป้าหมายสำคัญขององค์กร และจะประสานพลังหรือ synergize กันอย่างไร หรือต้องช่วยกันปรับแต่งกระบวนท่าอย่างไรเพื่อให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายในครึ่งปีหลังได้ สุดท้ายนี้ ลองกลับไปเช็กทีมของท่าน องค์กรของท่านสิว่า ในช่วงกลางปีแบบนี้ เราควรที่จะปรับเป้าหมาย กลยุทธ์ และการ execute เป้าหมายของเราอย่างไร เพื่อให้อีก 6 เดือนที่เหลืออยู่ เป็นช่วงเวลาที่เราสามารถ turn game มาสู่ชัยชนะให้ได้ แม้อยู่ท่ามกลางความยากลำบาก บทความโดย กฤตย์ ลีลาเลิศอำไพ Senior Consultant, PacRim Groupไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine