SEAC หรือ ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง เชิญ Michael Ventura ผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัท Sub Rosa บรรยายในหัวข้อสัมมนา 'The New Language of Leadership' ทางรอดขององค์กรไทยในสมรภูมิ Disruption
อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารระดับสูง กล่าวถึงงานสัมมนาด้วยต้องการให้เห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงว่า “เราต้องการปลุกให้ผู้นำลุกขึ้นมาเปลี่ยนเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้อยู่รอดและสามารถต่อกรกับความเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน และแสวงหาแนวทางให้สามารถรั้งตำแหน่งผู้นำเอาไว้ได้อย่างมั่นคง พร้อมกระตุ้นให้เกิดการสร้างภาวะผู้นำให้สามารถนำองค์กรสู่การ Transformation ที่สมบูรณ์”
จึงเกิดเป็นที่มาของงานสัมมนาระดับโลกครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “The New Language of Leadership” นำเสนอถึงเรื่องราวของ “ภาษาใหม่” ที่จะเข้ามาทลายกำแพงที่กั้นความคิดของผู้นำให้รู้ทันความเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้าน ภายใต้คำว่า "Empathy" หรือ “การเข้าใจแบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น”Michael Ventura ผู้ก่อตั้งและซีอีโอแห่ง Sub Rosa บริษัทที่ปรึกษาด้านการสร้างและบริหารแบรนด์ให้กับธุรกิจและองค์กรชั้นนำของโลกและเจ้าของหนังสือ “Applied Empathy: The New Language of Leadership” ขึ้นกล่าวเริ่มต้นในงานสัมมนา
“ปัจจุบันในองค์กรมีคนหลายเจนเนอเรชั่นอยู่ร่วมกัน และแต่ละเจนเนอเรีชั่นมีความต้องการและประสบการณ์การคาดหวังที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น ผู้นำที่ดีจะต้องมีวิธีหรือแนวทางในการโค้ชให้กับแต่ละคนไม่เหมือนกัน และผู้นำที่ดีต้องรู้จักมองตัวเองเหมือนมองกระจกสะท้อนถึงข้อดีและข้อด้อยอย่างแท้จริงเพื่อพัฒนาตัวเองต่อไป ซึ่งผู้นำต้องมีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงและยอมรับความล้มเหลวที่จะเกิดขึ้น รวมถึงพร้อมที่จะเรียนรู้จากความล้มเหลว สู่ความสำเร็จในอนาคต”
Michael Ventura กล่าวเพิ่มเติมว่า “การเข้าใจแบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกคนอื่น” มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้คนในองค์กรเพื่อก่อให้เกิดการพลวัตรของการเปลี่ยนแปลงรวมกันอย่างแท้จริง
Michael เผยด้วยว่าวิธีการของเขาในการให้คำปรึกษากับลูกค้า คือการให้ลูกค้าหาคำตอบต่อไปนี้ให้กับตัวเองให้ได้ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบริษัทเป็นอย่างไร ผู้บริโภคเป็นใครและมีบุคคลิกแบบใด และ บริบทที่เกี่ยวข้อกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ คู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม และเหตุการณ์สำคัญของโลก ซึ่งเมื่อได้ข้อมูลทั้งสามส่วนมาประมวล จะพบจุดกึ่งกลางที่เป็นโอกาสทางธุรกิจ
โดยสรุปการใช้ Empathy ในสถานการณ์ปัจจุบัน คือ ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการมองหาช่องว่างต่างๆ ให้เจอภายในทีม รู้ว่าบุคลากรเป็นอย่างไร และรู้จักใช้คนให้เหมาะสมเพื่ออุดรูรั่วขององค์กร เนื่องจากหลายองค์กรมีความยากในการเปลี่ยนแปลง เพราะในทีมผู้บริหารเองมีการแข่งขันกัน มองต่างกัน ดังนั้น ผู้นำจึงต้องเร่งสร้างวัฒนธรรมองค์กร และค่านิยมร่วมให้เกิดขึ้นให้ได้
นอกจากนี้ "Empathy" หรือ "การเข้าใจแบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น" ยังสามารถนำไปใช้เพื่อดูแลลูกค้าได้ Micheal ยกตัวอย่างกรณี GE ที่ประสบปัญหาสัดส่วนทางการตลาดที่น้อยจากคู่แข่งอื่นๆ ทำให้บริษัทต้องสร้างรูปแบบของธุรกิจใหม่ เปลี่ยนโมเดลทางธุรกิจและต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อกระตุ้นยอดขายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้ได้รับความนิยมในตลาด
Micheal ยกตัวอย่างบทเรียนเพื่อกระตุ้นยอดขายเครื่องตรวจมะเร็งเต้านมของ GE ผ่านการซักถามอย่างลึกซึ้งกับผู้ใช้งานตรงทำให้ได้พบว่ามีพบปัญหาผู้ใช้งาน 3 ข้อสำคัญคือ ความทรงจำถึงความเจ็บปวดจากการใช้เครื่องมือตรวจ เครื่องมือตรวจทำจากโลหะและห้องตรวจมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ และ คนที่ติดต่อหรือตามนัดผู้ตรวจที่มีการสื่อสารที่น่ากลัวพูดย้ำถึงความรุนแรงของการเป็นมะเร็งเต้านม
เมื่อได้ข้อสรุปเหล่านี้ GE ได้นำ “การเข้าใจแบบหยั่งรู้ถึงความรู้สึกคนอื่น” เข้าไปปรับเปลี่ยนกระบวนการตรวจใหม่ เน้นขายประสบการณ์ใหม่ในการตรวจสุขภาพ ด้วยการปรับรูปแบบการตรวจ การสื่อสาร ให้เหมาะกับผู้ตรวจแต่ละราย เน้นให้รู้สึกปลอดภัยและผ่อนคลาย ซึ่งช่วยลดความเจ็บปวดจากการใช้เครื่องมือลงได้จากเดิม และเมื่อผู้ตรวจรู้สึกผ่อนคลายทำให้ผลตรวจออกมาแม่นยำมากยิ่งขึ้น พร้อมกับตั้งศูนย์ทดสอบเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้ใช้งาน
ทั้งนี้ ภายในการบรรยายสัมมนา Micheal เผยด้วยถึง ลักษณะ 7 ประการของผู้นำ ที่ต้องมี เพื่อนำองค์กรผ่านยุคเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแข่งขัน