The Stanford Center for Professional Development หรือ SCPD มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เปิดตัว The Stanford Thailand Research Consortium ผนึก 3 บริษัทไทย เอพี ไทยแลนด์ AIS และ ธนาคารกสิกรไทย ภายใต้การดูแลโดยศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ฯ SEAC ตั้งเป้าหมายระยะยาว 5 ปี นำเสนอผลงานวิจัยมุ่งเป้าพัฒนาศักยภาพของประเทศและเพิ่มขีดความสามารถของบริษัท ด้าน SEAC เผยยังมีบริษัทชั้นนำในไทยเตรียมตบเท้าเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลงานวิจัย
พอล มาร์คา ผู้บริหารระดับสูง The Stanford Center for Professional Development หรือ SCPD จาก Stanford University สหรัฐฯ เผยนำทีมนักวิชาการของมหาวิทยาลัย ฝังตัวร่วมทำงานวิจัยกับบริษัทเอกชนทั้ง 3 แห่ง ในนาม
"The Stanford Thailand Research Consortium" ตั้งเป้า 5 ปีสร้างผลงานวิจัยที่ช่วยยกระดับคุณภาพประเทศไทยใน 3 ด้านสำคัญได้แก่ ด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแบ่งเป็นแนวคิดการทำงาน 2 ส่วน ที่เรียกว่า
“Doing Good” ที่เน้นศักยกาพความก้าวหน้าของประเทศ และ
“Doing Well” ที่เน้นการวิจัยที่ความต้องการของสมาชิกในการพัฒนาองค์กรของตนเอง
“หนึ่งในหัวข้อที่นักวิชาการของเราร่วมกับ 3 ธุรกิจไทยต้องมีคือการเสริมศักยภาพให้กับบุคลากรของประเทศไทย”
พอล มาร์คา ผู้บริหารระดับสูง SCPD กล่าว
อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่าในโครงการนี้ SEAC มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงและประสานความต้องการของบริษัทเอกชนไทยและดูแลทีมนักวิจัยของสแตนฟอร์ทให้เข้าใจบริบทของไทยอย่างแท้จริง เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกิดขึ้นเราจะได้รับผลงานที่ถูกต้องมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพของประเทศไทยและพัฒนาธุรกิจได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ อริญญา กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่าบริษัทที่เตรียมเข้ามาร่วมกับ The Stanford Thailand Research Consortium ได้แก่ ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TUF ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมทำงานวิจัยในเชิงลึกครั้งนี้
ด้าน
อนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า เอพี ไทยแลนด์ ทำการวิจัยร่วมกับ
ศ.ไมเคิล เลอเพ็ค คณะวิศวกรรมศาสตร์ (ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม) เป็นการศึกษาเพื่อการวิจัยเกี่ยวการก่อสร้างที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ของมนุษย์ และความยั่งยืนจากนวัตกรรม
กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เผยว่า AIS ถือว่าเป็นกลุ่มธุรกิจแรกๆ ที่ถูกดิสรัปชั่น การพัฒนาองค์กรมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการพัฒนากลุ่มคนทำงานที่มีทักษะชั้นสูง เพื่อร่วมทำงานกับทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย Standford จะช่วยเสริมทักษะโดยเฉพาะประสบการณ์การทำงานร่วมกับ
ชัค อีสลีย์ ที่ทำงานร่วมกับวงการสตาร์ทอัพอย่าง
MIT 10K และ
Clean Energy Vetures and Lux Capital
ด้าน
ขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและ Standford University โดยในส่วนของการวิจัยในการพัฒนาประเทศ (Doing Good) กสิกรไทยได้เชิญนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ 2 โครงการสำคัญที่เราได้ทำไปแล้ว คือ “รักษ์ป่าน่าน” และ โครงการ “CHULA CARE”
“การนำนักวิชาการที่ทำงานระดับโลกมาลงในพื้นที่จริงของชนบทไทยทำให้พวกเขาเข้าใจบริบทความเป็นไทยได้อย่างแท้จริง เราได้นำโครงการ “รักษ์ป่าน่าน” มาร่วมในการวิจัย “Doing Good” เพื่อย้ำถึงความจริงใจของธนาคารในเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งความสำคัญป่าไม้ของน่าน มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะป่าน่านคือต้นน้ำของแม่น้ำน่านซึ่งมีความสำคัญกับแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นอย่างยิ่งเพราะ 40 % ของแม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาจากแม่น้ำน่าน”
ขัตติยา อินทรวิชัย กล่าว
สำหรับ
“CHULA CARE” เป็นโครงการที่ กสิกรไทยร่วมกับ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเมืองไทยประกันชีวิต พัฒนาแอพพลิเคชั่นสนับสนุนงานบริการทางการแพทย์ ยกระดับการให้บริการผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย และบุคลากรของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นโมเดลสำคัญในการนำไปใช้งานในโรงพยาบาลรัฐในทั่วประเทศ และดึงดูดกลุ่มทำงานรุ่นใหม่เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับธนาคารมากยิ่งขึ้น
“โครงการต่างๆ ที่เราทำอาจดูไม่เกี่ยวข้องกับธนาคารมากนัก สิ่งสำคัญที่เรามองคือการได้มีโปรเจ็คต์ที่หลากหลายเพื่อดึงดูดคนในกลุ่มเจนเนอเรชั่น Y เป็นต้นไปเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกสิกรไทย กลุ่มคนเหล่านี้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและต้องการงานที่มีความท้าทาย ไม่จำเจ และสร้างประโยชน์ให้บริบทของการทำงานเพื่อองค์กรและสังคมโดยรวม”
เป้าหมายงานวิจัย 5 ปี ของ
The Stanford Thailand Research Consortium ระหว่าง
Doing Good และ
Doing Well แบ่งได้คือ
Doing Good “เป้าหมายที่เน้นศักยภาพความก้าวหน้าของประเทศ
-ความสามารถในการระบุและตอบสนองต่อความหมายในเชิงโครงสร้างหลักและความท้าทายที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่
-ความสามารถในการพัฒนา ขยาย และต่อยอดศักยภาพทางการศึกษาระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านนวัตกรรมและความคล่องตัว
-ความสามารถในการกระตุ้น พัฒนา และให้การสนับสนุนระบบนิเวศด้านนวัตกรรมที่ช่วยจัดการความท้าทายและโอกาสต่างๆ ในอนาคต
-ความสามารถในการสร้างและสืบทอดมรดกทางศักยภาพอันยั่งยืนของตนเอง ที่ไม่เพียงแต่รวมถึงการคิดเชิงออกแบบเท่านั้น
Doing Well “เน้นความสนใจของสมาชิกเพื่อพัฒนาความสามารถของบริษัท
-ความสามารถในการระบุความท้าทายหลักๆ ของอุตสาหกรรมและปัจจัยใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
-ความสามารถในการพัฒนาทางออกที่จะช่วยจัดการกับปัญหาและโอกาส โดยใช้องค์ความรู้ที่ได้มาจากงานวิจัยและความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย Standford
-ความสามารถในการสร้างสรรค์และสืบทอดศักยภาพและรบบความความคิดเชิงออกแบบในช่วงเวลาที่ความเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน
ทั้งนี้
SEAC เผยด้วยว่าในระยะ 5 ปี ในแต่ละบริษัทจะเกิดงานวิจัย 3-4 โครงการต่อปี และหากนับ ไทยยูเนี่ยนฯ เข้าไปแล้วนั้นเกิดงานวิจัยราว 16 โครงการที่เป็นประโยชน์และองค์รวมของประเทศไทยและธุรกิจ ถ้าเทียบกับค่าใช้จ่ายราว 1 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ถือเป็นเม็ดเงินที่คุ้มค่าเพราะนอกจากยกระดับประเทศชาติแล้ว งานวิจัยที่ทำยังสามารถพัฒนาบริษัทของตัวผู้ร่วมวิจัยอีกด้วย