สำหรับ Jian Xiao การมีลูกคนที่สองดูไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไหร่ Xiao ในวัย 31 ปีลาออกจากอาชีพสถาปนิกเมื่อปีก่อนเพื่อเป็นแม่บ้านเลี้ยงดูลูก รายได้ที่หายไปของเธอทำให้เธอต้องประหยัดมากขึ้น และปฏิเสธการมีลูกคนที่สองเพราะไม่มีเวลาและรายได้มากพอ
Xiao ไม่ใช่คนเดียวในประเทศจีนที่ข้
อจำกัดทางอาชีพและการเงินทำให้
ต้องการมีลูกน้อยลง แม้ว่ารัฐบาลจีนจะยกเลิ
ก
นโยบายลูกคนเดียว ที่ดำเนินมา 4 ทศวรรษในปี 2016 และอนุญาตคู่รักให้มีลูกคนที่
สองได้ก็ตาม นี่ไม่ใช่สัญญาณที่ดีเลยสำหรั
บประเทศที่กำลังเผชิญปั
ญหาประชากรวัยทำงานลดลง รัฐบาลจีนจึงเริ่มพิ
จารณานโยบายการสนับสนุ
นทางการเงินเพื่อกระตุ้นการมีลู
กของคนในชาติ
หลายปากที่ต้องเลี้ยงดู
นโยบายลูกคนเดียวถูกกำหนดขึ้
นในปี 1979 เมื่อรัฐบาลจีนมองว่าประชากรที่
มากเกินไปจะทำให้ประเทศไม่เติ
บโต นโยบายนี้คือปัจจัยหลักที่ทำให้
ธนาคารโลก (World Bank) คาดการณ์ว่าประชากรวั
ยทำงานของจีนจะลดลง 10% เมื่อเข้าสู่ปี 2040 ในขณะที่ประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปีจะสูงขึ้นแตะ 350 ล้านคน สร้างความตึงเครียดให้กั
บเศรษฐกิจของประเทศ
แรงงานที่ลดลงทำให้ค่าแรงเพิ่มสูงขึ้นทำร้ายภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกของจีน ซึ่งที่ผ่านมาเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศมาตลอด 30 ปี อุปทานแรงงานที่ลดลงทำให้ขณะนี้ค่าแรงในจีนถูกกว่าในสหรัฐอเมริกาเพียง 4% ตามการวิจัยของ Oxford Economics
“ประเทศจีนควรจะให้ ‘โบนัส’ พิเศษสำหรับการคลอดบุตร และพัฒนาระบบดูแลสุขภาพ รวมถึงเงื่อนไขการลาพักสำหรับคุ
ณแม่หลังคลอดบุตร เพื่อกระตุ้นการเติบโตของอั
ตราการเกิด” คำแนะนำจาก
Xiaomei Sun ศาสตราจารย์จาก China Women’s University และสมาชิกสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งประชาชนจีน (CPPCC)
คำแนะนำของเธอสอดคล้องกับ
Pei'an Wang รองนายกรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุ
ขและการวางแผนครอบครัวแห่งชาติ ซึ่งกล่าวในการประชุมรั
ฐสวัสดิการครั้งล่าสุดว่า รัฐบาลจีนกำลังพิจารณา
"ผลตอบแทนและเงินช่วยเหลือแก่ผู้คลอดบุตร" เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีลูกเพิ่
ม
nbsp;
แต่นักวิเคราะห์กล่าวว่า
นโยบายที่อยู่ระหว่างพิจารณานี้อาจจะไม่สามารถหมุนกลับกระแสสังคมผู้สูงอายุในจีน เหตุผลส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้หญิงจีนในยุคมิลเลนเนียมที่ร่ำรวยขึ้นกำลังเดินตามรอยเท้าตะวันตก นั่นคือไม่ต้องการให้หน้าที่เลี้ยงดูบุตรมาแทนที่การเติบโตในหน้าที่การงานของพวกเธอ ถือเป็นแนวคิดที่กลับตาลปัตรจากคนรุ่นก่อนอย่างรุนแรง
"ทัศนคติของชาวจีนต่
อการให้กำเนิดลูกเกิดความเปลี่ยนแปลงในระดับฐานราก"
Yong Cai รองศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย North Carolina, Chapel Hill กล่าว "ปัจจุบันชาวจีนต้องการมีลูกช้
าลงและไม่ต้องการมีลูกมากอีกแล้
ว"
Xin Yuan ศาสตราจารย์ด้านประชากรศาสตร์
มหาวิทยาลัย Nankai ในจีนกล่าวตรงกันว่า "ปัจจัยทั้งด้านเศรษฐกิจและสั
งคมที่ทำให้อัตราการเกิด
ในประเทศพัฒนาแล้วลดลงนั้น กำลังเกิดขึ้นกับประเทศจีนด้วย จีนจะมีอัตราการเกิดต่ำเช่นนี้
ไปอีกเป็นระยะเวลานาน"
งานมาก่อนการมีบุตร
ข้อมูลจากรัฐบาลจีนรายงานว่า ปีที่ผ่านมาจีนมีทารกเกิดใหม่ถึ
ง 17.86 ล้านคน เป็นสถิติสูงสุดตั้งแต่ปี 2000 แต่ Yuan กล่าวว่าสถิตินี้จะเริ่
มลดลงในปี 2019 เป็นต้นไป หลังจากผู้หญิงจำนวนมากขึ้นเลือกการศึกษาและอาชีพการงานก่
อนการมีลูก
กระแสดังกล่าวเริ่มแสดงให้เห็
นแล้วในมณฑลใหญ่ๆ ของจีน รัฐบาลจีนรายงานว่าอัตราการเกิ
ดใน Gansu และ Guangxi เริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2016 และในมณฑล Shaanxi และ Sichuan นั้น ครอบครัวมากกว่า 60% ไม่ต้องการมีลูกคนที่สอง
Yuan สรุปผลว่า นั่นทำให้ภายในปี 2050 จีนจะมีแรงงานเข้าสู่ระบบเพียง 30 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นไม่ถึง 5% เขากล่าวว่า "เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นน้อยมาก และไม่ช่วยแก้ปั
ญหาขาดแคลนแรงงานของจีน เราอาจจะต้องรอจนถึงสิ้
นศตวรรษนี้กว่าจะได้เห็นผลลัพธ์
ที่ดีกว่านี้"
เรียบเรียงจาก Aging China Considers Incentives To Boost Child Birth -- Too Little, Too Late? โดย Yue Wang