'ความล้มเหลวด้านเทคโนโลยี' เป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องมีเกิดขึ้นกันบ้าง แต่ในปีนี้ โลกเทคโนโลยีกลับวุ่นวายแบบสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่รั่วไหล จนไปถึง Tesla ขับเคลื่อนเองที่เกือบพาคุณไปชนรถกระบะเข้าให้ โดย 7 เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นความเปราะบางของเทคโนโลยีมากที่สุด
สำหรับใครหลายคน ปี 2021 เป็นปีที่มีทั้งความหวังและความท้าทาย เพราะถึงแม้ว่าการเข้าถึงวัคซีนโควิดจะเป็นไปได้ง่ายขึ้น แต่ก็กลับมีระลอกใหม่ๆ มาไม่หยุดหย่อน และถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะให้ความบันเทิงและช่วยให้เรายังติดต่อกับคนอื่นๆ ได้ แต่มันก็กลับทำให้ชีวิตเรายากขึ้นเช่นกัน ในปีนี้ เราได้เห็นเทคโนโลยีพลาดพลั้ง หรือไม่บางทีก็ล้มเหลวไม่เป็นท่าไปเลย ไม่ว่าจะเป็นเหตุอินเทอร์เน็ตล่มครั้งใหญ่, Ransomware ที่โจมตีเราไม่ยั้ง และเรื่องปวดหัวมากมายสำหรับ Meta บริษัทที่รู้จักกันในชื่อ Facebook มาก่อน (มีเรื่องปวดหัวเยอะเลยล่ะ จนติดลิสต์ 'ความล้มเหลวด้านเทคโนโลยี' ตั้ง 2 รอบ) และนี่คือที่สุดแห่ง 'ความล้มเหลวด้านเทคโนโลยี' ประจำปี 2021 ที่มี CNN Business เป็นผู้รวบรวมFacebook และ LinkedIn ข้อมูลรั่วจำนวนมาก
เมื่อเดือนเมษายน ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์เผยว่า ข้อมูลส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ วันเกิด รวมไปถึงอีเมลของผู้ใช้งาน Facebook กว่า 500 ล้านรายถูกนำไปโพสต์บนเว็บไซต์ของเหล่าแฮกเกอร์
Citizen ระบุตัวนักวางเพลิงพลาด
เมื่อเดือนพฤษภาคม Citizen บริษัทสตาร์ทอัพที่แจ้งเตือนอาชญากรรมแบบ real-time ได้เสนอเงินรางวัล 30,000 เหรียญสหรัฐฯ ให้กับใครก็ตามที่สามารถระบุตัวผู้ที่ก่อเหตุไฟป่าใน Los Angeles ได้ ข้อมูล รวมถึงรูปภาพของชายคนหนึ่งถูกเผยแพร่ลงบน Signal ทำให้ตำรวจเข้าควบคุมชายผู้ต้องหาในเวลาต่อมา แต่มันก็มีปัญหา (ใหญ่มากๆ) อยู่ปัญหาหนึ่ง เพราะชายคนนั้นไม่ใช่บุคคลที่พวกเขากำลังตามหาอยู่ ทางบริษัทได้ใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่บนแอปของพวกเขาที่ชื่อว่า OnAir ในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัย แต่ดันไม่ได้ทำตามระเบียบการยืนยันตัวตนก่อนที่จะปล่อยให้ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลสาธารณะRansomware เป็นปัญหาใหญ่
ในปีนี้ จำนวนการโจมตีจาก Ransomware ซึ่งเกิดจากการที่แฮกเกอร์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และนำข้อมูลของทางบริษัทเป็นตัวประกันเพื่อเรียกค่าไถ่ ก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเหยื่อหลักคือกลุ่มธุรกิจและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ หนึ่งในการโจมตีครั้งใหญ่เมื่อเดือนพพฤษภาคมแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ เปราะบางต่ออาชญากรรมเหล่านี้ขนาดไหน โดยเหยื่อในครั้งนั้นก็คือ Colonial Pipeline Colonial Pipeline หนึ่งในท่อส่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ถูกบังคับให้ต้องหยุดการดำเนินงานต่างๆ เมื่อระบบของทางบริษัทถูกโจมตี โดยเหล่าแฮกเกอร์เข้าระบบได้เพราะพาสเวิร์ดของทางบริษัทไม่แข็งแกร่งพอ ในภายหลัง ซีอีโอของ Colonial Pipeline ออกมายอมรับว่าได้จ่ายเงินไป 4.4 ล้านเหรียญเพื่อไถ่ระบบของบริษัทคืน เมื่อเดือนมิถุนายน หน่วยงานสอบสวนจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กล่าวว่าพวกเขาได้เอาเงินจำนวน 2.3 ล้านในสกุลเงินคริปโตคืนมาจากกำมือของกลุ่มแฮกเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตี Colonial Pipeline ได้สำเร็จแล้วสองเหตุการณ์ล่มอินเทอร์เน็ต (ชั่วครู่)
เหตุการณ์ทั้งสองนี้เกิดภายในช่วงเวลาไม่ถึง 2 อาทิตย์ โลกอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบเมื่อบริษัทเทคโนโลยีที่คนส่วนมากไม่เคยแม้แต่ได้ยินชื่อมาก่อนพากันล่ม ถึงแม้ปัญหาเหล่านั้นจะถูกตรวจพบได้อย่างรวดเร็ว และล่มอยู่เพียงชั่วครู่ แต่เหตุการณ์เหล่านั้นก็แสดงให้เราเห็นว่าพวกเราพึ่งพาอินเทอร์เน็ตขนาดไหน และมันไม่มั่นคงขนาดไหน
วันที่ทั้งแย่ ทั้งห่วย และเลวร้ายมากๆ ของ Facebook
เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม บริษัทที่กำลังจะเปลี่ยนชื่อเป็น Meta นี้ก็ต้องเผชิญกับปัญหาล้นมือ ในคืนก่อนหน้าวันนั้น Frances Haugen ผู้ประท้วง Facebook ได้เปิดเผยตัวตนของเธอในรายการ '60 Minutes'โดยอ้างว่าทางบริษัทรู้ดีว่าโซเซียลเน็ตเวิร์คของพวกเขาถูกใช้ในการกระจายข้อมูลเท็จ, วาจาสร้างความเกลียดชัง และความรุนแรง (ก่อนหน้านี้ Haugen เป็นแหล่งข่าวนิรนามที่คอยปล่อยเอกสารภายในนับพันกว่าหน้าให้กับ The Wall Street Journal ส่งผลให้มีข่าวเสียหายเรื่องแล้วเรื่องเล่า หรือที่รู้จักกันในชื่อ The Facebook Files ซึ่งทุกอย่างเริ่มขึ้นในเดือนกันยายน) หลังจากนั้น เมื่อวันจันทร์มาถึง Facebook ก็เกิดการล่มครั้งใหญ่ ทำให้ทั้ง Facebook, WhatApp และ Instagram ใช้งานไม่ได้ไปหลายชั่วโมง โดยทางบริษัทโทษว่าเกิดจาก "การเปลี่ยนแปลงด้านโครงร่าง" ทำให้หุ้นของบริษัทร่วงเมื่อต้องต่อสู้กับทั้งปัญหาเรื่องระบบล่มและการที่ Haugen ไปออกทีวี อีกทั้ง ทางบริษัทก็ต้องเตรียมตัวโดนตรวจสอบมากขึ้น เมื่อ Haugen มีกำหนดให้การต่อหน้าสมาชิกรัฐสภาในวัดต่อมา อ๋อ แล้วก็อีกอย่าง ทางบริษัทยังได้ขอให้ยกคำฟ้อง Antitrust ที่ทาง Federal Tade Commission เป็นผู้ยื่นฟ้องอีกด้วย วันนั้นเหมือนเป็นรางบอกเหตุว่าต่อไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในเดือนนั้น และช่วงปลายเดือนตุลาคม สมาคมองค์กรข่าวในสหรัฐ 17 สื่อได้เริ่มเผยแพร่เรื่องราวจากเอกสารที่รวมอยู่ในรายงานที่ถูกนำส่งให้กับ Securities and Exchange Commission และถูกนำส่งให้กับรัฐสภาโดยที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ Haugen ทางสมาคม ซึ่งมี CNN อยู่ด้วย ได้ทำการพิจารณาเอกสารที่ทางรัฐสภาได้รับ โดยเรื่องราวเหล่านี้มีทั้งรายละเอียดจากเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลใช้ Facebook ในการปลุกระดมให้ใช้ความรุนแรง (เช่น เหตุจลาจลเมื่อวันที่ 6 มกราคม) และรายละเอียดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ที่ใช้โซเซียลเน็ตเวิร์คเอาเปรียบเหยื่ออีกด้วย (Facebook พยายามออกมาทำให้ Haugen ไม่น่าเชื่อถืออยู่หลายครั้ง และกล่าวว่าคำให้การและรายงานจากเอกสารของเธอแสดงให้เห็นถึงความพยายามและการกระทำได้ไม่ถูกต้อง) Zillow กับบทเรียนครั้งใหญ่ในการใช้ AI ตีราคาบ้าน เมื่อเดือนพฤศจิกายน Zillow ประกาศว่าจะปิดกิจการ Zillow Offers ซึ่งเป็นธุรกิจ Home-flipping โดยกล่าวว่า "ความคาดเดาไม่ได้ในการคาดการณ์ราคาบ้าน" ซึ่งเกินจากที่ทางบริษัทคาดการณ์ไว้ "อย่างมาก"
ระบบ 'Full Self-driving' ของ Tesla พาคนขับแตกตื่น
Elon Musk ซีอีโอแห่ง Tesla โปรโมตรถไฟฟ้าของทางบริษัทมาเป็นเวลานาน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปลายปี 2021 รถเหล่านั้นก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่กลับมีฟีเจอร์ช่วยให้คนขับที่ผู้ใช้งานต้องตกลงว่าพวกเขาจะตื่นตัวและดูพวงมาลัยไว้เสมอเพื่อเกิดเหตุอะไรขึ้นก็ตาม
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine