จุดเริ่มต้นความยิ่งใหญ่ของพีระมิดแห่งอียิปต์เริ่มต้นที่เมืองกีซ่า (Giza) แห่งนี้ เมื่อ ฮิมโฮเทป (Imhotep) อัครมหาเสนาบดีที่ปราดเปรื่องแห่งสมัย ฟาโรห์โจเซอร์ เนตเจริกเฮต (Zoser หรือ Djoser Netijerikhet) ได้สร้างปฐมแห่งพีระมิดแบบขั้นบันไดที่ซัคคารา
ซัคคารา
ซัคคารา (Saqqara) สุสานโบราณตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำไนล์ทางตอนใต้ของเมืองกีซ่า ยุครุ่งเรืองของซัคคาราอยู่ในสมัยเมมฟิส (MEMPHIS ในอาณาจักรยุคเก่าราว 2620-2600 ปีก่อนคริสต์กาล) ใช้สถานที่ตั้งของสุสานกษัตริย์และขุนนางชั้นสูง ที่เรียกว่า มัสตาบา สุสานฟาโรห์ในยุคแรกๆ และพีระมิดแบบขั้นบันได เมื่อกาลเวลาและผู้คนได้ทิ้งร้าง ซัคคาราจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองปีศาจแห่งอียิปต์เนื่องจากเป็นตั้งสุสาน
มัสตาบา (Mastaba) หรือสุสานของกษัตริย์ฟาโรห์ในยุคแรกๆ มีโครงสร้างเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมจากหินซึ่งสร้างเพื่อครอบสุสานใต้อาคารในพื้นดิน มัสตาบาที่น่าชมที่ซัคคารามีอยู่ด้วยกัน 2 แห่ง คือ มัสตาบาแห่ง คาเกมนิ (KA GEMNI) และมัสตาบาแห่ง แมรีรุคคา (MERERUKA)
เราได้มีโอกาสเข้าชมมัสตาบาแห่งคาเกมนิ (KA GEMNI) ที่ห้ามถ่ายภาพด้านในเราโดยเส้นทางภายในไม่ซับซ้อนมากนัก จากขั้นบันไดด้านบนเราเดินลงและพบโถงทางเข้าที่มีทางเดินหลักขนาดคนเดินสวนกัน ทางเดินภายในสุสานแบ่งเป็นห้องต่างๆ โดยมีไฮไลท์คือห้องซึ่งเป็นที่ตั้งสุสานซึ่งปัจจุบันไม่มีโลงหินพระศพตั้งอยู่แล้ว
แต่ยังคงมีภาพแกะสลักจารึกที่แสดงถึงวัฒนธรรมการดำรงชีวิตและการสรรเสริญ คาเกมนิ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่เจ้าของสุสานแห่งนี้ ภาพแกะสลักชุดหนึ่งภายในแสดงให้เห็นความสำคัญของวัวที่ผูกผันกับวิถีชีวิตตั้งแต่ของชาวอียิปต์ในยุคนั้น อันเป็นสาเหตุในชาวอียิปต์บางคนไม่รับประทานเนื้อจากวัว รวมไปถึงภาพแกะสลักอักษรอียิปต์โบราณ ซึ่งความความสมบูรณ์ของภาพแกะสลักของจารึกถือว่าความสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง
พีระมิดแบบขั้นบันได (Pyramid of Djoser)
จากที่เก็บพระศพของฟาโรห์ที่เดิมเป็นเพียงอาคารสีเหลี่ยมแบบธรรมดาในยุคของ ฟาโรห์โจเซอร์ เนตเจริกเฮต (Zoser หรือ Djoser Netijerikhet) แห่งราชวังที่ 2 ในอาณาจักรยุคเก่า (ผู้ครองราชย์ราว 2668-2649 ก่อนคริสต์กาล) ได้กำเนิดพีระมิดที่เก่าแก่ที่สุด โดยทรงบัญชาให้ ฮิมโฮเทป (Imhotep) อัครมหาเสนาบดีสร้างที่เก็บพระศพของพระองค์ไว้ที่ซัคคาราแห่งนี้
ด้วยความอัฉริยะของ อิมโฮเทป เขาออกแบบพีระมิดขั้นบันได ได้สร้างสิ่งก่อสร้างคลุมพื้นที่มากกว่า 413 x344 ฟุต มีลักษณะเมืองขั้นบันได 6 ขั้น แต่ร่วมเข้าไปจากขอบล่าง 6 ฟุตครึ่ง ลดหลั่นจัดเป็นความสูงทั้ง 200 ฟุต โดยเปลี่ยนวัสดุที่ใช้มาเป็นหินที่ที่ มีความแข็งแรงกว่า เกิดเป็น พีระมิดที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่เรียกว่า พีระมิดฟาห์โจเซอร์แห่งซัคคารา (The Step Pyramid of Pharoah Zoser at Saqqara) โดยน้ำหนักของที่หินที่ใช้ราว 8.5 แสนตัน เป็นสิ่งก่อสร้างจากหินขนาดใหญ่ชิ้นแรกของมนุษย์
ไม่ห่างจาก พีระมิด เราได้เดินทางสู่พิพิธภัณฑ์อิมโฮเทป (Imhotep Museum) พิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม จัดแสดงวัตถุโบราณ ประติมากรรม แบบจำลอง วัตถุในการก่อสร้างพีระมิดขั้นบันได รวมถึงประวัติความเป็นมาและแสดงวิธีสร้างพีระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์โจเซอร์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน และห้องจัดแสดงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ อิมโฮเทป เป็นที่ปรึกษาของฟาโรห์โจเซอร์ ผู้มีความรู้โดดเด่นทั้งงานปกครอง สถาปนิก และด้านการแพทย์จนถูกยกย่องให้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง
ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้แสดงวัตถุโบราณที่จุดค้นได้จากสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ โดยมีมัมมีของฟาโรห์เมเรนเร (Merenre) ฟาโรห์องค์ที่ 4 แห่งราชองค์ที่ 6 โดยเป็นมัมมี่ฟาโรห์ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งได้ถูกค้นพบ การเดินทางมาที่ ซัคคารา และสามารถชมแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 3 แห่ง และเข้าใจเรื่องราวอดีตกาลของอียิปต์ได้เป็นอย่างดี
กีซ่า
กีศ่า (Giza) เมืองใหญ่ลำดับ 3 ของอียิปต์ ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ อยู่ห่างจากศูนย์กลางของไคโรไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ราว 20 กิโลเมตร มีประชากรราว 8.8 ล้านคน
ณ ราบสูงแห่งกีซ่าเป็นที่ตั้งของมหาพีระมิดแห่งกีซ่า (The Great Pyramid of Giza) นอกจากความมหัศจรรย์แรกพบแล้วนั้น เมื่อเดินเข้าไปยืนใกล้ๆ ที่ฐานของพีระมิด โบราณสถานแห่งนี้สะท้อนถึงความศรัทธาและอุตสาหะอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์
มหาพีระมิดแห่งกีซ่า ถือเป็นความยิ่งใหญ่ของประเทศอียิปต์ สร้างในสมัยการปกครองของ ฟาโรห์คูฟู (Khufu) ราชวงศ์ที่ 4 ของการปกครองอียิปต์โบราณ ราว 2,600 ปี ก่อนคริตกาล ซึ่งแต่ละองค์พีระมิดเพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษาพระศพของกษัตริย์ ซึ่ง มหาพีระมิดแห่งกีซ่า ประกอบด้วย 3 สิ่งสำคัญ
พีระมิดคูฟู (Khufu) หรือมหาพีระมิดแห่งกีซ่า (The Grest Pyramid of Giza) มีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในหมู่พีระมิดกีซ่า ได้รับการยกย่องในเป็น 1ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกและยังเป็นเพียงหนึ่งเดียวจากเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณที่ยังคงเหลือไม่สูญสลายไปตามกาลเวลา
พีระมิดคาเฟร (Khafre) ตั้งอยู่ตรงกลางของกลุ่มพีระมิด เพราะสร้างอยู่บนตำแหน่งที่ราบซึ่งสูงกว่าทำให้หลายคนเกิดความเข้าใจผิดว่ามีขนาดใหญ่ที่สุด ทางทิศตะวันออกของพีระมิดยังเป็นที่ตั้งของมหาสฟิงซ์ (The Great Sphink of Giza)
พีระมิดเมนคูเร (Menkaure) พีระมิดขนาเล็กที่สุดและอายุน้อยที่สุดในหมู่พีระมิดแห่งกีซ่า จากตำแหน่งการก่อสร้างทีการคาดกันว่ามีความตั้งใจสร้างในมีขนาดใกล้เคียงกับอีกสองพีระมิดอีกสองแห่ง
การสร้างพีระมิดทั้งสามแห่งนี้ใช้งบประมาณ เงินคลัง และทรัพยากรเป็นจำนวนมหาศาล กล่าวกันว่าการสร้างพีระมิดไม่ใช่การใช้แรงงานทาสแต่เป็นการจ้างแรงงานจากทั่วสารทิศด้วยการแลกแรงงานกับมื้ออาหาร
บันทึกการก่อสร้างพีระมิดที่โบราณที่สุดเกิดขึ้นเมื่อ 450 ปี ก่อนคริสตกาล หรือ 2 พันปีหลังจากพีระมิดสร้างเสร็จ โดย Herodotus นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งเดินทางไปยังอียิปต์ได้บันทึกคำบอกเล่าโบราณไว้ว่า ชาวอียิปต์สร้างพีระมิดด้วยอุปกรณ์ที่สร้างจากไม้สำหรับใช้ยกหินขนาดใหญ่ บันทึกของ Herodotus จากคำบอกเล่าที่เลื่อนลางยังบอกอีกว่า การก่อสร้างพีระมิดคูฟู ทำเฉพาะช่วงฤดูน้ำหลากเพียงปีละ 3-4 เดือน ซึ่งช่วงที่ประชาชนว่างเว้นจากการเพาะปลูก
จากบันทึก Herodotus หลักฐานใกล้เคียงที่สุดคือการเคลื่อนย้ายหินจากแรงงานคนลากเข็นไปบนแคร่ไม้ โดยมีการราดน้ำเพื่อช่วยลดแรงเสียดทาน ซึ่งเป็นการสามารถสันนิษฐานเปรียบเทียบกับภาพแกะสลักนูนต่ำบนฝาผนัง ที่กำลังเคลื่อนย้ายเทวรูปขนาดใหญ่ด้วยแรงคนหลายสิบ
ทั้งนี้แม้ยังไม่ข้อสรุปถึงการลำเลียงหินในการก่อสร้าง แต่การประกบหินแต่ละชั้นเป็นการตกแต่งแบบก้อนต่อก้อน เนื่องจากหินแต่ละก้อนต้องมีขนาดและแง่มุมพอดีกับหินก้อนอื่นๆ ที่จัดเรียงไว้แล้ว หินแต่ละก้อนจะทำหน้าวางติดกันและซ้อนติดกันเพื่อรองรับน้ำหนักจากหินชั้นบนเพื่อให้ได้ระนาบที่เท่ากันในแต่ละขั้น ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องใช้ความชำนาญยิ่งจนผิวสัมผัสระหว่างหินแต่ละก้อนแต่ละก้อนห่างกันเพียง 0.02 นิ้ว
มหาสฟิงซ์แห่งกีซ่า
สฟิงซ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สฟิงซ์แห่งอียิปต์เป็นการผสมกันระหว่างมนุษย์และสิงโต ส่วนหัวที่เหมือนมนุษย์ มีสัญลักษณ์ของฟาโรห์อียิปต์คือ มีเคราที่คาง ตรงหน้าผากมีงูแผ่แม่เบี้ยและรัดเกล้า สฟิงซ์แห่งกีซ่าแกะสลักจากหินเพียงก้อนเดียว ลำตัวเป็นสิงโตมีความยาวลำตัวที่ 73.5 เมตร สูง 21 เมตร ส่วนใบหน้ามีความยาว 5 เมตร
มหาสฟิงซ์ เป็นส่วนหนึ่งของมหาพีระมิดแห่งกีซ่าโดยใกล้กับพีระมิดคาเฟร ตามความเชื่อโบราณ มหาสฟิงซ์ เป็นตัวแทนแห่งกษัตริย์ ทำหน้าที่ปกป้องพระศพและทรัพย์สมบัติภายในพีระมิด ปัจจุบันเคราและจมูกถูกลำเลียงและจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ British Museum กรุงลอนดอน สำหรับลำตัวของมหาสฟิงซ์ ความผุกร่อนจากกาลเวลาได้สร้างความเสียหาย ทั้งจากสภาพภูมิอากาศอันเลว พายุทะเลทราย และการท่วมจากแม่น้ำไนล์ในฤดูน้ำหลาก
สำหรับอีกทางเลือกในการชมมหาสฟิงซ์ คือช่วงค่ำหลังโดยสามารถเดินทางมานั่งชมโชว์ที่ลานกลางแจ้งที่มีนั่งพร้อม สำหรับชมการแสดง ผ่านรูปแบบ แสง สี เสียง โดยตั๋วเข้าชมสามารถใช้ได้จนกระทั่งบัตรหมดอายุ ซึ่งช่วงค่ำอาการเย็นจากลมที่พัดมาตลอดควรเตรียมเสื้อกันหนาวไว้ เพราะการแสดงกินเวลาราว 20 นาที
ขอบคุณการเดินทางโดย KTC