ตามรอยแห่งศรัทธา - Forbes Thailand

ตามรอยแห่งศรัทธา

FORBES THAILAND / ADMIN
14 Mar 2017 | 11:50 AM
READ 1072

คอลเล็คชั่นภาพที่นำเสนอพลังแห่งศรัทธาและการบูชาที่แผ่ซ่านครอบคลุมไปทั่วอินเดีย พลังซึ่งเป็นสุนทรีย์สำคัญในการขับเคลื่อนดินแดนแห่งนี้ แวดล้อมของผมในวัยเด็กประกอบไปด้วยสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ณ สุดริมถนนของบ้านที่ผมอาศัยอยู่ฝั่งหนึ่ง เป็นที่ตั้งของคุรุทวารา (โบสถ์ซิกข์) ส่วนถนนอีกฝั่งคือวัดหนุมานผมเข้าเรียนในโรงเรียนของมิชชันนารีคาทอลิกและเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยของคริสต์แองกลิคัน ซึ่งการเติบโตขึ้นท่ามกลางอิทธิพลของศาสนาต่างๆ ได้กลายเป็นเมล็ดพันธุ์ให้หนังสือชุดหนึ่งก่อกำเนิดขึ้นมาพิธีกรรมทางศาสนาดูแล้วคล้ายเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการแสดงดนตรีซิมโฟนี สุนทรีย์นี้แทรกซึมในทุกเมือง ทุกหมู่บ้าน ตามป่าเขาทุกซอกทุกมุม คุณจะได้เห็นการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือไม่ก็เสียงสวดอธิษฐานภาวนา ในซากหมู่บ้านอันไกลโพ้นยังคงมีเสียงจังหวะดนตรีโบราณอันศักดิ์สิทธิ์บรรเลงวนไปมา เบื้องล่างคือแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ด้านบนเป็นเทือกเขาหนาวยะเยือก เสียงประสานของบทสวดลอยค้างอยู่กลางอากาศที่หนาวเหน็บ ได้ยินเสียงสวดบูชาทุกหนทุกแห่ง เป็นการบรรเลงดนตรีที่ไม่รู้จบผมตระเวนถ่ายภาพทั่วประเทศอินเดีย ทุกๆ ที่ล้วนเหลือร่องรอยของความศรัทธา ทุกๆ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ รวมไปถึงร่องรอยของประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การเมือง อุตสาหกรรม ไปจนถึงการแสวงหาความมั่งคั่ง วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ต่างก็ถูกร้อยผ่านสายป่านแห่งความศักดิ์สิทธิ์นี้

ผมถ่ายภาพแบบพาโนรามาระยะกลาง แล้วนำส่วนต่างๆ มาปะติดปะต่อเข้าด้วยกันด้วยวิธีการแบบดิจิทัลเพื่อให้ได้ภาพถ่ายในมุมกว้างออกมาโจทย์ของผมนั้นพรั่งพรูบ่อยครั้งที่ผมถูกดึงดูดด้วยสีสันของงานเฉลิมฉลองแห่งความศรัทธา ทว่าท่ามกลางความเคลื่อนไหวรอบตัวนั้น ผมต้องพยายามหามุมที่ดีที่สุด บางทีกลายเป็นว่ามันอยู่ด้านหลัง หรือบางครั้งก็มีอุปสรรคจากการที่ผู้คนในงานเคลื่อนไหวไปมาระหว่างพิธีทำให้ภาพออกมาไม่ชัดผมต้องหัดวางแผนถ่ายภาพงานพิธีที่กำลังดำเนินการจริงไม่ได้จัดฉาก และพยายามเก็บภาพในบริเวณที่มีความเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ด้วยความสามารถในการลั่นกดชัตเตอร์ด้วยความเร็วสูงสุด มันเหมือนกับได้ฝึกเต้นรำไปในตัว หมุนตัวอย่างรวดเร็วท่ามกลางพลวัตแห่งความศรัทธา เกี่ยวกับช่างภาพ คอลเล็คชั่นภาพชุดนี้คัดเลือกจาก The Sacred India Book ผลงานหนังสือที่ได้รับรางวัลของ Amit Pasricha ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2009 Pasricha ช่างภาพใน Delhi ผู้มีชื่อเสียงจากการถ่ายภาพพาโนรามา และเพิ่งจะเปิดตัวหนังสือภาพถ่ายพาโนรามาเล่มที่ 3 คือ India at Home HANUMAN STATUE ณ เมือง DELHI รูปปั้นหนุมาน (เทพเจ้าลิงผู้โด่งดัง) ขนาดมหึมาที่สูงตระหง่านกว่าแนวสะพานรถไฟฟ้าในเมือง Delhi การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีอันทันสมัยกับเรื่องราวในตำนานเป็นความแตกต่างสุดขั้วที่พบเห็นได้ทั่วไปในอินเดีย ตามตำนานฮินดูนั้น มนุษย์ อสูร และเทวะมักปรากฏรวมในร่างเดียวกัน สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่ล้วนแล้วเป็นน้ำมือมนุษย์สร้างขึ้น   AYUDHA PUJA ณ เมืองc นักมวยปล้ำคำนับลงเบื้องหน้าพระแม่ทุรคาก่อนขึ้นสู้ในไฟท์มวยปล้ำโบราณ garadi mane แมทช์หนึ่ง ณ เมือง Mysuru ซึ่งโดยปกติแล้วเทพผู้อุปการะนักมวยปล้ำมักจะเป็นหนุมาน แต่ที่งาน Ayudha Puja ที่จัดขึ้นก่อนพิธี Dussehra นั้น เป็นการบูชาพระแม่ทุรคาด้วยอาวุธและเครื่องมือทำการค้า ฝาผนังถูกตกแต่งด้วยรูปภาพของเทพเจ้าหลากหลายองค์ ขณะที่แท่นบูชาที่ทำจากดินโคลน ตกแต่งด้วยขมิ้นและสีแดงชาด กระบองไม้และแท่งเหล็กปักลงโคนรายล้อมพระแม่ทุรคา     BARA IMAMBARA ณ เมือง LUCKNOW ชายคนหนึ่งสวดมนต์หันหน้าไปทิศนคร Mecca ในอาคารที่ Bara Imambara ณ เมือง Lucknow สำหรับ Imambara เป็นอาคารที่มีโครงสร้างแปลก ที่ไม่ใช่มัสยิดแต่เป็นโถงชุมนุมสำหรับนิกายชีอะฮ์ในเดือน มุฮัรรอมตามปฏิทินของอิสลาม ภายใน Imambara จะมีการตกแต่งภายในแตกต่างจากมัสยิดที่ไม่มีการตกแต่งใดๆ ตั้งแต่การติดโคมระย้าระยิบระยับ เชิงเทียนคริสตัลกระจกสี และ alam เงิน (รอยมือประทับอันเป็น สัญลักษณ์แทนผู้ที่อุทิศตนเพื่อศาสนา)   MUHARRAM ณ เมือง SRINAGAR สตรีมุสลิมแคชเมียร์เดินทางกลับบ้านผ่านสะพาน Saida Kadal ข้ามทะเลสาบ Dal หลังเข้าร่วมพิธีมุฮัรรอม ช่วงเดือนมุฮัรรอมชาวมุสลิมชีอะฮ์จะมีการไว้อาลัยเป็นเวลา 10 วัน ส่วนในเมือง Srinagar นั้นอนุญาตให้จัดพิธีมุฮัรรอมเป็นงานเล็กๆ เท่านั้น โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างนิกายชีอะฮ์และซุนนีมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงพิธีกรรม สำหรับชาวมุสลิมชีอะฮ์มีสัดส่วนเพียงประมาณ 10% ของชาวมุสลิมแคชเมียร์ทั้งหมดเท่านั้น   DEVOTEES ณ รัฐ RAJASTHAN ราวกับฝูงนกหลากสีสวยงาม ขบวนสตรีราชปุตเดินทางข้ามที่ราบสูงแกรนิตสีดำเพื่อมุ่งหน้าไปยังวิหารพระศิวะเจ้า วัดเก่าแก่มีอายุกว่า 12 ศตวรรษแห่งหนึ่งที่หมู่บ้าน Menal ในรัฐ Rajasthan วิหารนี้ตั้งอยู่บนสองฝั่งของหุบเขาป่าทึบ มีน้ำตกตามฤดูกาล ไหลบ่าตามหิน มันกลายเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับสตรีเหล่านี้ที่โดยปกติแล้วจะต้องสวมผ้าปกคลุมมิดชิดและแทบจะไม่มีโอกาสได้ออกจากบ้านเลย (ดัดแปลงจาก FORBES LIFE INDIA ผู้ได้รับใบอนุญาตจาก Forbes Media) เรื่องและภาพ: AMIT PASRICHA คัดสรรภาพ: MADHU KAPPARATH เรียบเรียง: ปาริชาติ ชื่นชม   คลิกเพื่ออ่านบทความทรงคุณค่าทางด้านธุรกิจและเรื่องราวในการสร้างแรงบันดาลใจ ได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับ กุมภาพันธ์ 2560