“ทีเอ็มบี ซัพพลายเชน โซลูชั่น” เสริมการเติบโตทั้งซัพพลายเชน เศรษฐกิจไทยยั่งยืน - Forbes Thailand

“ทีเอ็มบี ซัพพลายเชน โซลูชั่น” เสริมการเติบโตทั้งซัพพลายเชน เศรษฐกิจไทยยั่งยืน

ข้อจำกัดในการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ของธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือ ใหญ่จะค่อยๆถูกทลายลงไป เมื่อ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบี ลุกขึ้นมาสร้างมิติใหม่ให้วงการธนาคารอีกครั้ง ด้วยการ ยกระดับ “ทีเอ็มบี ซัพพลายเชน โซลูชั่น” พัฒนาระบบซัพพลายเชนทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ เติบโตอย่างครบวงจร สร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ และ ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้า สมกับเป็นธนาคารที่ Make THE Difference ให้กับวงการธนาคารอยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกค้าได้มากกว่า (Get More with TMB) อย่างแท้จริง จับมือไว้ แล้วโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ถามว่า ทำไมธนาคารต้องเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงซัพพลายเชนทั้งระบบให้เติบโตไปด้วยกัน? คำถามนี้ ได้รับการไขปริศนาอย่างกระจ่างโดย ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทหารไทย ซึ่งได้ฉายภาพรวมให้เห็นถึงความจำเป็นในการยกระดับซัพพลายเชนว่าไม่ได้ส่งผลดีแค่กับกลุ่มธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หรือ ธนาคารแต่ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ “หากพิจารณาถึงอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยต่อปี จะพบว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไทยปัจจุบันเติบโตอยู่ที่ 3-4% เท่านั้น แถมยังเป็นการเติบโตจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ซึ่งยังถือว่าต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่มองว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะเติบโตได้สูงถึง 6%” ทั้งนี้ ปิติยังสะท้อนมุมมองอย่างน่าสนใจว่า ปัญหาหลักที่ทำเศรษฐกิจไทยเติบโตได้ไม่เต็มที่ เนื่องจาก เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตแบบกระจุกตัว ประกอบกับภาคธุรกิจไทยยังไม่มีรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กเข้าด้วยกันเพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจไทยจึงถูกขับเคลื่อนด้วยกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ซึ่งมีจำนวนกว่า 6,000 บริษัท คิดเป็นสัดส่วนของจีดีพีประมาณ 58% แต่มีการจ้างงานเพียง 18% ขณะที่ธุรกิจเอสเอ็มอีมีจำนวนผู้ประกอบการมากกว่า 3 ล้านราย แต่ทำรายได้เพียง 42% จากสัดส่วนของจีดีพี ทั้งที่มีการจ้างงานสูงถึง 82% นั่นหมายความว่า ถ้ากลุ่มเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของคนส่วนใหญ่ไปต่อไม่ได้ กำลังซื้อของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ก็หดหายไปด้วย ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในภาพใหญ่เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ทีเอ็มบีจึงมุ่งมั่นมาตลอดที่จะเข้าไปเป็นตัวกลางในการยกระดับซับพลายเชน ทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุน และทำให้ผู้ผลิต ผู้ขายมีข้อมูลร่วมกัน ทำให้ซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพ ลดการเสียโอกาสในการทำธุรกิจ ซึ่งภารกิจนี้ทีเอ็มบีมุ่งมั่นทำมาตลอดไม่ใช่เริ่มต้นวันนี้ แต่ทำมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา “วันนี้เรามุ่งโฟกัสที่ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักของประเทศที่มีความสำคัญทั้งในแง่จีดีพีและการจ้างงาน ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก มีจำนวนบริษัท กว่า 1.27 ล้านราย กลุ่มธุรกิจก่อสร้าง ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศคิดเป็นสัดส่วน 2.8% ของจีดีพี ขณะที่ภาคการเกษตรมีการจ้างงานจำนวน 12 ล้านคน เพราะเราเชื่อว่าถ้า 3 ธุรกิจหลักนี้แข็งแกร่ง เศรษฐกิจของประเทศไทยก็จะแข็งแรงขึ้น” ปิติชี้ชวนให้คิดก่อนส่งไม้ต่อถึงบทบาทของธนาคารในการเข้ามาเป็นตัวแปรเชื่อมโยงห่วงโซ่ในระบบเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน ไม่ใช่แค่คู่คิดทางการเงิน แต่สร้างอนาคตไปด้วยกัน จากข้อมูลอินไซด์ที่สะท้อนกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศนำมาสู่การเปิดตัว “ทีเอ็มบี ซัพพลายเชน โซลูชั่น” เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ลูกค้าธุรกิจของทีเอ็มบีทุกขนาดรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ด้วยการอัพเลเวลซัพพลายเชนให้แข็งแรงทั้งระบบ เสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจทีเอ็มบี อธิบายให้เห็นถึงความน่าสนใจของ “ทีเอ็มบี ซัพพลายเชน โซลูชั่น” ว่า หลายคนมองว่าธนาคารเป็นผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น แต่ทีเอ็มบีมองไปไกลกว่านั้น เรานำเสนอโซลูชั่นที่พร้อมให้บริการลูกค้าขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ในทุกช่วงของห่วงโซ่ธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน เริ่มตั้งแต่การให้แหล่งเงินทุนแก่เครือข่ายคู่ค้าซึ่งก็คือซัพพลายเออร์หรือดีลเลอร์ของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ลดข้อจำกัดเรื่องการขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยใช้เพียงบุคคลค้ำประกันเท่านั้น และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ธุรกิจกลุ่มนี้มีความแข็งแกร่งทางการเงินมากขึ้น พร้อมนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนารูปแบบการทำธุรกรรมการเงินแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ได้ครบทั้งลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ และคู่ค้าขนาดกลางและเล็ก เพื่อให้สามารถเชื่อมการชำระเงินและการส่งต่อข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่ออำนวยความสะดวกอย่างครบวงจร ตอบสนองแนวทางการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธุรกิจของลูกค้า นอกจากนี้ ธนาคารยังได้นำเสนอดิจิทัลซัพพลายเชนแพลตฟอร์มใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน โดยจะรวมผู้ซื้อ-ผู้ขายไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ทำให้ลูกค้าธุรกิจและคู่ค้าใช้งานได้สะดวก ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ผู้ซื้อสามารถสร้างใบสั่งซื้อ ผู้ขายสามารถสร้างใบแจ้งหนี้ และส่งหากันผ่านทางแพลตฟอร์มได้ทันที นอกจากนี้ ผู้ซื้อยังสามารถใช้วงเงินเบิกเกินบัญชี (OD) มาขายลดใบแจ้งหนี้ได้ และสามารถตรวจสอบหรือดูรายงานทางการเงินได้แบบเรียลไทม์ ทำให้การใช้วงเงินสินเชื่อซัพพลายเชนง่ายและรวดเร็ว โดยดิจิทัลแพลตฟอร์มนี้พร้อมให้บริการทั้งในรูปแบบเว็บไซต์และมือถือ ทั้งนี้ บริการทีเอ็มบี ซัพพลายเชน โซลูชั่น จะโฟกัสไปที่กลุ่มธุรกิจด้านการค้าปลีก การก่อสร้าง และการเกษตรก่อนที่จะขยายไปสู่กลุ่มธุรกิจอื่นๆ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ รวมไปถึงภาครัฐอย่างครบวงจร โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างให้กับภาครัฐเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ทั้งยังร่วมสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐให้เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และขานรับต่อนโยบายการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ปัจจุบัน ลูกค้าที่ใช้บริการทีเอ็มบี ซัพพลายเชน โซลูชั่น ประกอบด้วยธุรกิจรายใหญ่ประมาณ 100 ราย และธุรกิจเอสเอ็มอี กว่า 1,500 ราย ซึ่งจากนี้คาดว่าจะมีกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีเพิ่มเข้ามาอีก โดยทีเอ็มบีตั้งเป้าการเติบโตของรายได้จากการขยายกลุ่มลูกค้าธุรกิจซัพพลายเชนไว้ที่ 20% พร้อมเดินหน้าจับมือกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ ให้ตอบโจทย์ลูกค้าธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม” เสนธิป ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจด้านอุตสาหกรรมอุปโภค บริโภค วัสดุก่อสร้าง และอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยต่างให้ความสนใจนำทีเอ็มบี ซัพพลายเชน โซลูชั่น เข้าไปใช้เพื่อสร้างประสิทธิภาพทั้งซัพพลายเชน อาทิ บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับประเทศ อย่าง บุญรอดบริวเวอรี่ น้ำตาลมิตรผล ปตท. เอสซีจี ตลอดจนซี.เจ. ซูเปอร์มาร์เก็ต เชนค้าปลีกขนาดใหญ่ของคนไทยที่ล้วนเข้าใจและตระหนักถึงประโยชน์ของโซลูชันนี้ที่มีต่อคู่ค้า ทั้งสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของคู่ค้าไปจนถึงการส่งสินค้าและบริการที่มีคุณภาพไปยังผู้บริโภค “เป้าหมายสูงสุดของทีเอ็มบีจากนี้ คือ สร้างการเติบโตให้ลูกค้ากลุ่มธุรกิจรายใหญ่ ควบคู่ไปกับการสร้างการเติบโตให้ลูกค้าธุรกิจรายเล็กเติบโตไปด้วยกัน เพื่อให้ทั้งซัพพลายเชนเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีใครที่ถูกลืม หรือวิ่งไม่ทัน ไปได้ไม่เร็วเท่าคนอื่น” เสนธิปทิ้งท้าย

TAGGED ON