รัฐบาลไทยอัดงบ เยียวยาเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านบาท - Forbes Thailand

รัฐบาลไทยอัดงบ เยียวยาเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านบาท

รัฐบาลไทย ไฟเขียวมาตรการ เยียวยาเศรษฐกิจ จากพิษโควิด-19 ระยะ 3 วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท ให้กระทรวงการคลังออก ...กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ขยายเวลาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ 6 เดือน รวมทั้งให้แบงก์ชาติออกซอฟท์โลนช่วยเอสเอ็มอี-เสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ 9 แสนล้านบาท

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 7 เมษายน 2563 มีมติเห็นชอบมาตรการ เยียวยาเศรษฐกิจ และผู้ได้รับผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ในระยะที่ 3 วงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นให้กระทรวงการคลังออก ...กู้เงินเพื่อการเยียวยาและดูแลเศรษฐกิจ วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ...ให้อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออก Soft Loan เพื่อดูแลภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ SMEs วงเงิน 5 แสนล้านบาท และ ...ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน วงเงิน 4 แสนล้านบาท

อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ พ...ทั้ง 3 ฉบับ จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา คาดว่า พ...จะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนเมษายนนี้

โดยกระทรวงการคลังจะดำเนินการจัดหาแหล่งเงินกู้ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป มีการตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการต่าง เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ รวมทั้งคณะกรรมการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามโครงการต่าง ที่แต่ละกระทรวงนำเสนอเข้ามา

สำหรับ ...กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท จะใช้ในแผนงานด้านเศรษฐกิจและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น การขยายเวลาจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน ถึงเดือนกันยายน 2563 (จากเดิม 3 เดือน) เยียวยาภาคเกษตร และดูแลระบบสาธารณสุขในประเทศ รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในระยะต่อไป เช่น การดูแลเศรษฐกิจในพื้นที่ การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดย พ.ร.ก.นี้จะมีระยะเวลาถึงเดือนกันยายน 2564

อุตตม กล่าวว่า ...กู้เงินจำนวน 1 ล้านล้านบาทนี้ จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นไม่มากนัก โดยจะคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 57% ในปี 2564 โดยกระทรวงการคลังจะพิจารณากู้เงินในประเทศเป็นหลักก่อน

ด้าน วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า มาตรการเยียวยาเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด-19 ในส่วนธนาคารแห่งประเทศไทย ระยะ 3 มี 4 มาตรการด้วยกัน ประกอบด้วย

มาตรการที่ 1 เลื่อนกำหนดการชำระหนี้ของผู้ประกอบการ SMEs ออกไปอีก 6 เดือน สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมทั้งให้สถาบันการเงินไปดูแลปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ผู้ประกอบการเพื่อเยียวยาผลกระทบตามแผนธุรกิจใหม่

มาตรการที่ 2 ออก Soft Loan วงเงิน 5 แสนล้านบาท ปล่อยให้สถาบันการเงินนำไปเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 500 ล้านบาท โดย ธปท.คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01% เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 โดยรัฐบาลจะรับภาระในช่วง 6 เดือนแรก รวมทั้งรัฐบาลจะเข้าไปชดเชยสินเชื่อสำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 50 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 70 และชดเชยร้อยละ 60 สำหรับวงเงินกู้ 50-100 ล้านบาท

วิรไท สันติประภพ

มาตรการที่ 3 มาตรการเสริมสภาพคล่องตลาดตราสารหนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพตลาดการเงินในประเทศไทยที่มีมูลค่า 3.6 ล้านล้านบาท ซึ่งปัจจุบันตลาดตราสารหนี้มีความเชื่อมโยงกับตลาดการเงินทั้งระบบ จึงมีความเสี่ยงและความผันผวนสูง เมื่อนักลงทุนมีความกังวลในเรื่องสภาพคล่อง ...ฉบับนี้เป็นการให้เครื่องมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยสำหรับสถานการณ์ที่จำเป็นต้องใช้ โดยการจัดตั้งกองทุนวงเงิน 4 แสนล้านบาท

...ให้อำนาจ ธปท. ดูแลตลาดตราสารหนี้ โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลตลาดการเงินไม่ให้ได้รับผลกระทบ เหมือนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เสริมระบบโรงพยาบาลของรัฐในการดูแลผู้ป่วยเพื่อดูแลสถานการณ์ไม่ให้ลุกลามบานปลาย เป็นการรักษาระบบการเงินของประเทศไม่ให้ลุกลามกลายเป็นผลกระทบลูกโซ่วิรไทกล่าว

สำหรับ มาตรการที่ 4 ให้สถาบันการเงินลดส่งเงินสมทบให้กับกองทุนฟื้นฟู โดยนำส่งในอัตราร้อยละ 0.46 เพื่อให้สถาบันการเงินไปลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ทันที

มาตรการต่าง ที่ออกมา มีความคล้ายคลึงกับมาตรการของหลายประเทศที่ออกมาเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งการช่วยเหลือเอสเอ็มอีและการดูแลตลาดตราสารหนี้ ...ที่ออกมาเป็นเครื่องมือที่ทำให้รัฐบาลเข้าร่วมชดเชียความเสียหายที่เกิดขึ้นกับประชาชนและผู้ประกอบการ จากผลกระทบของโควิด-19 ในครั้งนี้ผู้ว่าแบงก์ชาติสรุป

   
ไม่พลาดบทความด้านธุรกิจ กดติดตามได้ที่ Facebook Fanpage: Forbes Thailand Magazine