กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ร่วมด้วยกับสถาบันการศึกษาไทย เปิดตัวโครงการ “ฉลาดคิด ฉลาดใช้ ออมให้ได้ 20%” พร้อมเชิญนักเรียน นิสิต นักศึกษาร่วมประกวดแผนการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยเปิดรับสมัครถึง 30 กันยายน 2560 เพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีวินัยทางการเงินที่ดี หวังลดปัญหาหนี้ครัวเรือน
ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ กล่าวเปิดถึงโครงการสำคัญเพื่อกระตุ้นเตื่อนให้คนรุ่นใหม่ใส่ใจการออม โดยการเปิดโอกาสให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เสนอแนวคิดสร้างสรรค์ในครั้งนี้ถือเป็นแนวคิดสำคัญเนื่องจากเป็นการสื่อสารของกลุ่มคนรุ่นเดียวกัน สื่อสารภาษาเดียวกัน และจากสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ให้เห็นตั้งแต่ปี 2557 นั้นอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนของประเทศไทยมีอัตราสูงถึงร้อยละ 80% โดยเฉพาะ หนี้ครัวเรือนของไตรมาสแรกตั้งปี 2558 หนี้ครัวเรือนสูงเกือบ 80% โดยไตรมาสแรกของปี 2558 อยู่ที่ 79.9% ไตรมาสแรกของปี 2559 เข้าสู่หลัก 80.6 % และ ลดลงมาอยู่ที่ 78.6% เมื่อไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่มีความเสี่ยงและกระทบภาพรวมเศรษฐกิจในระยะยาว
“ทั้งนี้ จากข้อมูลของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ชี้ให้เห็นว่าคนไทยมีหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยครึ่งหนึ่งของวัยเริ่มทำงานจะมีหนี้ และเมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนหนี้ที่ผิดนัดชำระ พบว่า กลุ่มคนวัยเริ่มทำงานเป็นกลุ่มที่มีหนี้เสียสูงที่สุดถึง 1 ใน 5 ของคนกลุ่มนี้ ทั้งนี้กลุ่มคนอีกกลุ่มที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มคนวัยเกษียณที่แม้เข้าสู่วัยเกษียณแล้วแต่ปริมาณหนี้ไม่ลดลงมากนัก ทำให้กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ริเริ่มโครงการฉลาดคิด ฉลาดใช้ เพื่อเร่งส่งเสริมให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งนักศักษา และวัยเริ่มทำงาน มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบิรการการเงินส่วนลุคคลและมีวันัยทางการเงินที่ดี”
ฐากร ปิยะพันธ์ กล่าว
ทั้งนี้ภายในงานเปิดตัวโครงการยังเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการออมจากบุคคลในหลากหลายสาขา
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด,
รรินทน์ ทองมา เจ้าของแบรนด์รองเท้า O&B, และ
นุ่น ศิรพันธ์ ดารานักแสดง
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้รับไม้ต่อทางธุรกิจจากเหตุการณ์เสียชีวิตกระทันหันของบิดาเข้าบริหาร บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด ธุรกิจจากน้ำมันรำข้าว พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กล่าวสั้นๆ โดยสรุปถึงแผนการเงินของเขาว่า
“เราต้องเป็นเจ้าของเงินไม่ใช่เงินเป็นเจ้าของเรา” โดยเกริ่นถึงความไม่แน่นอนของชีวิต การต้องเสียคุณพ่อ การได้เป็นพ่อคน ทำให้ได้คิดว่าชีวิตที่มีอิสรภาพคือชีวิตที่แท้จริง แม้ว่าคุณจะมีจำนวนเงินที่อยู่ในธนาคารมากเท่าไร แต่คุณไม่มีอิสระในการใช้ชีวิตก็ไม่มีความหมาย ดังนั้นการที่เราเป็นเจ้าของเงินคือการที่เราส่งให้เงินไปทำงาน แต่หากเราเป็นทาสเงินแล้ว เราต้องไปทำงานเพื่อชดใช้หนี้สินต่างๆ ทุกวันนี้ผมใช้เงินไม่ถึง 10% ของรายได้ที่ผมได้รับและมีอิสระในการใช้ชีวิต
“ชีวิตผมเดินทางมาอายุมาเกือบ 40 แล้วเกือบครึ่งชีวิต ชีวิตครึ่งแรกเป็นครึ่งแห่งการสะสม สะสมอีโก้ สะสมสิ่งไม่จำเป็น แต่ชีวิตครึ่งหลังคือการสะสาง สะสางสิ่งที่สะสมเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ สำหรับเด็กยุคใหม่ถ้าเรายิ่งรู้เร็ว รู้ไวว่าชีวิตต้องการอะไรก็ยิ่งได้เปรียบในวัยที่ล่วงเลย” พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กล่าวโดยสรุป
ด้าน
รรินทน์ ทองมา เจ้าของแบรนด์รองเท้า O&B เปิดเผย ถึงแผนการจัดการทางด้านการเงิน เธอยอมรับที่ผ่านมาไม่ต่างกับเด็กจบใหม่ที่มีความฟุ้งเฟ้อทางการเงิน การออมเงินเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ เธอจึงคิดที่เพิ่มรายได้จากธุรกิจที่ชอบ เธอกล่าวถึงอุปสรรคและปัญหาทางด้านธุรกิจเนื่องจากเธอเองไม่มีพื้นฐานทางด้านธุรกิจปีแรกของการก่อร่างสร้างบริษัทเมื่อมีกำไรนำไปใช้จ่าย ทำให้ธุรกิจขาดเงินทุนหมุนเวียน เธอจึงเริ่มบริหารทุนหมุนเวียนโดยสะสมเงินบางส่วนเป็นเงินสดในบัญชี เพื่อรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ สำหรับ
นุ่น-ศิรพันธ์ นักแสดง กล่าวเพิ่มเติมถึงการออมเพื่อเป็นทุนในวัยเกษียณเธอและสามีตั้งเป้าเกษียญก่อนวัยโดยกระจายรายได้ที่ได้รับไปออมเงินและลงทุนในรูปแบบต่างๆ "การแก่แบบมีคุณภาพถือว่าสำคัญมากการนำเงินออมที่ได้และนำไปลงทุนจึงมีความสำคัญ"