โอกาสของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 16 คน จากทั่วโลกกำลังเป็นโอกาสของผู้ชมรายการเรียลลิตี้ The Apprentice : ONE Championship Edition ที่ได้รับความบันเทิงและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการทำธุรกิจและถือเป็นอีกจุดเริ่มต้นของการสร้างรายการบันเทิงกีฬาอันหลากหลาย ตามที่ ชาตรี ศิษย์ยอดธง วางเดิมพันเพื่อนำการนำศิลปะการกีฬาแบบเอเชียเป็นที่นิยมยิ่งกว่าเดิม
เป็นอีกครั้งที่ Forbes Thailand ได้มีโอกาสอีกครั้งในการพูดคุยผ่านอีเมลกับ ชาตรี ศิลป์ยอดธง ผู้ก่อตั้งและประธานของ วัน แชมเปียนชิพที่ปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินราว 1.08 หมื่นล้านบาท ถึงสถานการณ์และทิศทางธุรกิจ รวมถึงอัปเดตรายการ The Apprentice “การกีฬา” เป็นหนึ่ง ถือเป็นหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่ใหญ่ที่สุด ร่วมกับ ดนตรี และความบันเทิง ที่กำหนดทิศทาง ความเป็นไปของวัฒนธรรมและสังคมบนโลกและแรงขับเคลื่อนดังกล่าวยังสะท้อนถึงหลักในการสร้างธุรกิจกีฬาบันเทิงของวันเแชมป์เปี้ยนชิพ ในการด้วยการยึดโยงกับวิถีของผู้คนและเชื่อมต่อกับผู้ชม “เป็นความฝันของผมที่ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนมีความฝันมากยิ่งขึ้นไปอีกในการใช้ชีวิต” ชาตรี กล่าวบรรยาย One Championship มีสำนักงานและสถานที่จัดเวทีแข่งขันหลักอยู่ที่สิงคโปร์ ก่อตั้งเมื่อปี 2011 จนกระทั่งปัจจุบัน สถาบันแห่งนี้สร้างนักกีฬาระดับแชมป์โลกเป็นจำนวนมาก โดยนักกีฬาจากประเทศไทยเป็นแชมเปี้ยนมากที่สุด ซึ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา หลังรัฐบาลสิงคโปร์ควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้อนุมัติให้ทาง วัน แชมเปียนชิพ สามารถจัดการแข่งขันได้ ทำให้จากสถานการณ์ที่คิดว่าโดนหมัดหนักล้มพับคาบนเวทีธุรกิจ วัน แชมเปียนชิพ อาจได้รับผลกระทบอย่างหนักแต่กลับกลายเป็นว่ารายการถ่ายทอดของเขากลับมียอดผู้ชมสูงเป็นประวัติการณ์ ตลอดปี 2020 จำนวนผู้ชมทางโทรทัศน์เพิ่มขึ้นราวเท่าตัว ส่วนยอดผู้ชมทางออนไลน์มากขึ้นถึง 300 เปอร์เซ็นต์ “ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย เพราะการถ่ายทอดสดไปทั่วโลกใน 154 ประเทศนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของเรา เราเป็นองค์กรกีฬา ไม่ใช่บริษัทจัดอีเวนต์ การถ่ายทอดสดคือราชาของเนื้อหากีฬาทั้งหมด เราโชคดีที่ยังคงเดินหน้าถ่ายทอดสดได้อยู่ในทุก สัปดาห์” ชาตรี เผย สำหรับทิศทางการจัดการแข่งขันรายการนั้น อยู่ในช่วงดูสถานการณ์ในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้นยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพในการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเรามีนักกีฬาทั้งคนไทย และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมากมาย แต่อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่มาตรการรักษาความปลอดภัย รวมไปถึงเงื่อนไขของรัฐบาลในประเทศว่าเอื้ออำนวยในการจัดการแข่งขันมากน้อยแค่ไหน อาทิ การนำนักกีฬา หรือทีมงานต่างชาติเข้าประเทศ สำหรับประเทศไทยในตอนนี้คาดว่าจัดโครงการและแนวทางการจัดการแข่งขันระดับท้องถิ่น หรือ virtual event ในรูปแบบอื่นๆ อาทิ Road to ONE การเฟ้นหานักกีฬาหน้าใหม่มาเข้าสังกัด วัน แชมเปียนชิพ หรือการแข่งขันอีสปอร์ตส์แบบ virtual event เป็นต้น รวมไปถึงการนำลิขสิทธิ์รายการ The Apprentice จากสหรัฐฯ มาสร้างเป็นรูปแบบของตนเอง The Apprentice: ONE Championship เป็นรายการเรียลลิตีทางโทรทัศน์ที่มีความนิยมระดับสูงรายการหนึ่งและมีพร้อมฐานแฟนคลับมากมายทั่วโลกมาสร้างใหม่ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องเอาตัวให้รอดจากภารกิจทั้งทางร่างกายและการแก้ปัญหาทางธุรกิจ นอกจากนี้ The Apprentice เวอร์ชันนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีผู้เข้าแข่งขัน 16 คนที่มาจากทั่วทุกมุมโลก โดยผู้ชนะ จะได้รับสัญญาการทำงานกับ ชาตรี ศิษย์ยอดธง ประธาน ONE พร้อมค่าตอบแทน 2.5 แสนเหรียญสหรัฐฯ โดยสอดแทรกสิ่งที่เป็นคุณค่าและรากเหง้าสำคัญของวัฒนธรรมเอเชียที่อยู่ในดีเอ็นเอของ วัน แชมเปียนชิพ อาทิเช่น คุณค่าทั้ง 7 ที่เรายึดถือ ซึ่งมากจากวัฒนธรรมของศิลปะการต่อสู้ กล่าวคือ ความซื่อสัตย์ ความอ่อนน้อมถ่อมตน เกียรติยศ การนับถือซึ่งกันและกัน ความกล้าหาญ ระเบียบวินัย และความมีเมตตา “เราคาดหวังว่ารายการ The Apprentice : ONE Championship Edition จะให้ความบันเทิงที่สามารถชมได้ทั้งครอบครัว และช่วยจุดประกายให้แรงบันดาลใจแก่คนรุ่นใหม่ๆ ที่มีความสนใจในการเปลี่ยนแปลงชีวิต และสร้างโอกาสไปสู่ความสำเร็จได้จากเรื่องราว และ know how ที่จะถูกถ่ายทอดในรายการ ซึ่งนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ซึ่งทางเราเองก็มีแผนที่จะสร้างรายการเอนเตอร์เทนเมนต์และคอนเทสต์ระดับโลกออกมาอีกมากมายในอนาคต” ชาตรีบรรยายทิ้งท้าย เปิดประวัติ เทียร่า กมลวัฒนาวิทย์ ผู้แข่งขันหนึ่งเดียวชาวไทย เทียร่า กมลวัฒนาวิทย์ เติบโตมาในครอบครัวหัวเก่ามีกรอบที่กําหนดการใช้ชีวิต โดยวัยเด็กเธอมีการแสดง ละครเวที เป็นความสนุกและอิสระเพราะสามารถสื่อสารสิ่งสำคัญที่ปกติคนไม่พูดกันในชีวิตประจำวัน พอเริ่มโตขึ้นได้เห็นวิถีชีวิตของคนอเมริกันในทีวี เกิดความรู้สึกอยากไปเผชิญโลกที่แตกต่างจากเมืองไทย ไปเพื่อล่าความฝันและหาตัวเองในประเทศที่มีอิสระทั้งการพูดและแสดงออก เทียร่าวัย 15 ปีจึงตัดสินใจสมัครเข้าโรงเรียนที่อเมริกา โดยไปขอให้คุณลุงสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเเรียน จนในที่สุดก็สามารถเข้าโรงเรียน Idyllwild Arts Academy และตั้งต้องใช้เวลาเป็นเดือนที่จะโน้มน้าวครอบครัวให้ยอมไปเรียนต่างประเทศ “จำได้ว่าแยมต้องใช้ power point แบบยาวและละเอียดในการอธิบายให้ครอบครัวฟัง จนในที่สุดพ่อแม่ก็อนุญาตให้ไป แต่พอไปถึงแล้วแยมได้เรียนรู้ว่าการอยู่คนเดียวมันไม่ง่ายอย่างที่เราคิด ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการเหยียดผิวอีกด้วย ทําให้ต้องทำงานหนักกว่าคนท้องถิ่นหลายเท่าตัวจึงจะประสบความสำเร็จได้” ชีวิตในต่างแดนส่วนใหญ่หมดไปกับการเรียน การซ้อมบทละคร งานแรกที่ได้รับมอบหมายในโรงละครคือซักกางเกงในให้นักแสดง แต่ไม่ว่าจะได้รับมอบหมายทํางานอะไรก็ตั้งใจทําแบบเต็มที่ จนกระทั่งปีสุดท้ายของ highschool จึงได้รับบทเป็นนางเอกละครเวทีเรื่อง The Shape of Things เป็นชาวเอเซียคนแรกที่ได้รับบทนางเอกของโรงเรียน เทียร่า เข้าเรียนมหาวิทยาลัย Emerson College ที่บอสตันก็ยังศึกษาต่อด้านละครเวทีอยู่ เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เพื่อหาเงินดูแลตัวเอง พออยู่ปีสองย้ายไปเรียนที่ Pace University ในนิวยอร์ก เพราะอยากเข้าวงการละครเวที Broadway ซึ่งหลังจากจบปริญญาตรีเกียรตินิยมและได้อยู่นิวยอร์กมาหลายปี ทำให้พบว่าวงการละครเวทีในสหรัฐฯได้ตีกรอบไว้สําหรับบทของคนเอเชียเหมือนๆ กัน บทที่ได้รับมักจะไม่ดีนัก เช่นเล่นเป็นโสเภณี, เป็นคนแปลกที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ “เคยมีคนสั่งให้ทำตาเล็กๆ เพราะตาเราโตไม่เหมือนคนเอเชีย” เธอสูญเสียความคิดที่ว่าเราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในความคิดและทัศนคติของคนดูผ่านละครเวทีได้ ถึงแม้ว่าจะเรียนด้านนี้มาก็ตาม เธอเริ่มต้นจึงหางานอย่างอื่นทำไปด้วยเช่น เซลส์, นักการตลาด, นักเขียน, ไกด์นำเที่ยว จนมาเจองานที่ชอบคือการโปรดักชั่นสารคดี จากลักษณะงานเพราะได้เล่าความจริง ถ่ายทอดสิ่งที่เราคิดว่าจะมีประโยชน์ต่อสังคม ก่อนกลับประเทศราว 3 ปีที่ผ่านมา “ย้ายกลับมาไทยเพื่อทํางานในสิ่งที่ชอบในบ้านเรา อยากจะสร้างอิมแพคต่อสังคมของเราเอง เริ่มทํางานเป็นรอง บ.ก.ของ Coconuts Media” โดยภายใน 2 ปีแรก ได้เขียนข่าวมากมายที่สำคัญต่อสังคม บุกเบิกพอดคาสต์ของบริษัท ทําข่าววิดีโอที่ชนะรางวัล Asian Academy Creative Awards ในสาขา "Best Single News Story / Report from Thailand พอออกจาก Coconuts ก็ไปบุกเบิกแผนกวิดีโอที่บริษัทสื่อใหม่ Thisrupt ซึ่งเน้นความเท่าเทียมและความยุติธรรมในสังคม ปัจจุบันเธอทำงานรับจ้างงานอิสระ มีผลงานกับสื่อต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น Vice, Sky News, Al Jazeera หรือ New Naratif พร้อมกับความมุ่งมั่นในการมีบริษัทมีเดียของตัวเองและตัดสินใจร่วมการแข่งขัน The Apprentice ONE Championship Edition “ชื่นชม ชาตรี ศิษย์ยอดธง มานานแล้ว เขาเริ่มต้นทุกอย่างจากศูนย์ แต่สามารถสร้างตัวเองจนกลายเป็นเจ้าของอาณาจักรองค์กรการต่อสู้รายใหญ่ของโลก ชื่นชมเรื่องราวการสู้ชีวิตของเขา ถึงแม้ว่าจะต้องพบอุปสรรคมากมาย ก็ต่อสู้จนประสบความสำเร็จได้” เทียร่ากล่าวถึงความประทับในตัวผู้ก่อตั้ง One Championship ความรู้สึกที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการแข่งขัน The Apprentice ONE Championship Edition รู้สึกตื่นเต้น ดีใจ และภาคภูมิใจมากที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนคนไทยไปแข่งขัน The Apprentice ONE Championship Edition ซึ่งตอนแรกไม่คิดว่าจะได้รับคัดเลือกเพราะการแข่งขันเน้นทักษะทางธุรกิจที่เรายังไม่มีประสบการณ์มากนัก คิดว่านี่เป็นประสบการณ์ล้ำค่าที่จะสอนเราในหลายๆด้าน เป็นโอกาสที่พลาดไม่ได้จริงๆ การเตรียมตัวก่อนร่วมแข่งขัน (ทั้งการเตรียมตัวทางร่างกาย และเชิงธุรกิจ) ก่อนไปแข่งขันแยมได้เตรียมตัวอย่างเต็มที่ ทั้งการออกกําลังกาย การซ้อมมวย และการเล่นโยคะเป็นประจําทุกวัน ส่วนทางด้านเชิงธุรกิจได้ปรึกษาผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจ แล้วได้ศึกษาประวัติและข้อมูลของ One Championship รวมถึงซีอีโอที่จะมาเป็น guest star สิ่งที่ตนเองได้รับจากการร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ เราได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีม จากผู้แข่งขันที่แตกต่างที่มาจากทุกมุมโลก ฝึกความอดทนและความมีวินัยในสถานการณ์ที่กดดันอย่างมาก ได้มิตรภาพและมุมมองใหม่ๆจากคนหลากหลายเชื้อชาติ ได้เรียนรู้แนวทางธุรกิจจากซีอีโอ ที่ประสบความสำเร็จโดยเฉพาะคุณชาตรี และที่สำคัญที่สุดได้ค้นพบจุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเอง ถ้ามีซีซั่นที่ 2 อะไรคือสิ่งที่อยากแนะนำให้แก่ผู้สมัครคนไทยที่สุด เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ และความรู้เชิงธุรกิจ สู้โดยไม่ต้องคาดหวังว่าเราจะแพ้หรือชนะ สู้เพื่อพัฒนาตัวเอง เพื่อเอาชนะตัวเองไม่ใช่คู่ต่อสู้ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine