“Medical Care Innovations” นวัตกรรมพร้อมรับมือ 3 โรคร้าย - Forbes Thailand

“Medical Care Innovations” นวัตกรรมพร้อมรับมือ 3 โรคร้าย

FORBES THAILAND / ADMIN
23 Jan 2020 | 11:25 AM
READ 10085
คุณวรชัย พิจารณ์จิตร รองประธานกรรมการ บริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน)
นายเมธา ปิงสุทธิวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจธนบดีธนกิจและบริการธนาคาร ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
งานนี้ได้รับเกียรติจากเหล่าอาจารย์แพทย์มือหนึ่งของทั้ง 3 โรคร้ายคือโรคมะเร็ง หัวใจ และอัลไซเมอร์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการรักษาและการรับมือกับโรคร้ายอันดับต้นๆ ของประเทศ  โดยมีกลุ่มลูกค้า Wealth ของ TISCO มาร่วมรับฟังกว่า 200 คน
รศ.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ อาจารย์แพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์โรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์, ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
รศ.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ อาจารย์แพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์โรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์, ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นแพทย์ มือหนึ่งด้านการรักษาโรคมะเร็ง กล่าวถึงสถานการณ์โรคมะเร็งในไทยว่า น่าตกใจมากเพราะไม่ใช่แค่เป็นอันดับ 1 แต่ยังเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ขณะเดียวกันนวัตกรรมในการรักษาโรคมะเร็งก็ก้าวหน้าไปมากเช่นกัน เทคนิคในการรักษาจาก 3 วิธีที่ใช้คือ ผ่าตัด ฉายรังสี และให้ยา ปัจจุบันมีวิวัฒนาการที่ก้าวไกล โดยการผ่าตัดสามารถทำได้ด้วยแผลที่เล็กลง ส่วนการฉายรังสีปัจจุบันมีเทคโนโลยี Proton Therapy เป็นเทคโนโลยีการรักษา โรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอน ที่เจาะจงทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็งได้ตรงจุด ส่วนการรักษาด้วยยามี 3 แบบคือ ยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้า และยาภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุด
รศ.นพ.ปรัญญา สากิยลักษณ์ อาจารย์แพทย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช
รศ.นพ.ปรัญญา สากิยลักษณ์ อาจารย์แพทย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช อาจารย์หมอมือหนึ่งด้านการผ่าตัดหัวใจ กล่าวถึงสถานการณ์โรคหัวใจว่า มีความหลากหลายพอสมควร เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย ลิ้นหัวใจเสื่อม รวมทั้งภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจัวหวะ หรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์เกี่ยวกับการรักษาโรคหัวใจก้าวหน้าไปมาก บางโรครักษาได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ส่วนโรคลิ้นหัวใจ นวัตกรรมการรักษาก้าวหน้ามาก ถ้าโดยทั่วไปเมื่อลิ้นหัวใจตีบวิธีรักษาแบบดั้งเดิมใช้การผ่าตัดเปิดหน้าอกเอาลิ้นหัวใจออก แล้วใส่ลิ้นหัวใจเทียมที่เป็นโลหะ หรือลิ้นหัวใจที่เป็นเนื้อเยื่อเข้าไปแทนที่ แต่ปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า TAVI คือการเอาลิ้นหัวใจใส่เข้าไปในสายสวนแล้วยัดเข้าไปในขาหนีบไล่มาถึงลิ้นหัวใจ สะดวกและได้ผลดี
ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน อาจารย์แพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย
ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน อาจารย์แพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมแห่งประเทศไทย อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมือหนึ่ง ด้านโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ กล่าวว่า โรคสมองเสื่อมไม่ใช่สมบัติของผู้สูงอายุ ซึ่งทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นสมองเสื่อม บางคนอายุ 100 กว่าปีไม่เสื่อมก็มี บางคนอายุ 60-70 ปีเสื่อมแล้วก็มี โรคสมองเสื่อมกับอัลไซเมอร์เกี่ยวข้องกันแต่ไม่ใช่อันเดียวกัน โรคนี้ยังไม่มีการรักษาที่ได้ผล 100% แต่สามารถรักษาดูแลให้ดีขึ้นได้