นับตั้งแต่ถือกำเนิดขึ้นมาในเชิงทฤษฎีเมื่อ 40 ปีที่แล้ว “ควอนตัมคอมพิวติ้ง” กำลังสร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหม่อย่างต่อเนื่อง รองรับความต้องการพลังในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่เราเริ่มใช้งาน IoT, Big Data, AI กันอย่างจริงจัง
ข่าวใหญ่ในช่วงปลายปี 2019 คือ การประกาศความสำาเร็จในเทคโนโลยี "ควอนตัมคอมพิวติ้ง" ของ Google ซึ่งถือเป็นก้าวใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่อัลฟาโกะซึ่งเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ Google เคยเอาชนะ เคอ เจี๋ย แชมป์โลกหมากล้อมชาวจีนได้เมื่อปี 2017 น่าเสียดายที่การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ข่าวดังกล่าวค่อยๆ จางหายไป เพราะความสำาเร็จของ Google ในการพัฒนา ควอนตัมคอมพิวเตอร์ถือเป็นการประมวลผลขั้นสุดยอดที่เกิดจากการผสมผสานความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยความต้องการพลังในการประมวลผลเกิดขึ้นจากตัว Google เอง ที่ต้องจัดการกับข้อมูลบิ๊กดาต้าจำนวนมหาศาลเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า รวมถึงข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ในโซเชียลมีเดียต่างๆ เพราะเป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่เสพติดการใช้งาน Facebook, Instagram, Twitter ฯลฯ การลงทุนในด้านควอนตัมคอมพิวติ้งของ Google จึงเป็นการรองรับธุรกิจในอนาคตที่สมรภูมิดิจิทัลไม่อาจแข่งขันกันได้โดยใช้คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน เพราะมันไม่ได้ออกแบบไว้รองรับข้อมูลปริมาณมหาศาลในยุคโซเชียลมีเดียเช่นนี้ยิ่งวิถีชีวิตของเราผูกติดกับดิจิทัลแพลตฟอร์มเหล่านี้มากเท่าไร เราก็จะยิ่งมีจำนวนข้อมูลอีกมากมายมหาศาลให้ระบบคอมพิวเตอร์ได้นำไปประมวลผล ซึ่งแนวโน้มธุรกิจเช่นนี้มีเพียงบริษัทในยุคดิจิทัลอย่าง Microsoft, Google, Facebook, Apple, Amazon, Huawei หรือแม้แต่ Tencent ฯลฯ เท่านั้นที่มองเห็นประโยชน์ สำหรับคนวัย 25 ปีขึ้นไปจะพบว่า เวลาที่ใช้กับ Facebook เริ่มมีสัดส่วนที่มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะประชากรในวัย 25-40 ปีนิยมใช้ โซเชียลมีเดียผ่าน Facebook เป็นหลัก ซึ่งอิทธิพลของมันก็มีมากพอที่จะใช้สื่อสารทาง การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ Facebook จึงมีสถานะในการใช้งานเพื่อสร้างข่าวเป็นประเด็นหลัก เพราะตรงกับกลุ่มลูกค้า เป้าหมายที่ต้องการเสพสาระด้านข่าวสารต่างๆ กลุ่มลูกค้าของ Facebook วันนี้จึงเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ที่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์มาใช้สื่อสารผ่านโซเชียล มีเดียแทนสื่อแบบเดิม แต่ในเวลาเดียวกันระหว่างที่ Facebook กำลังเติบโตในกลุ่มผู้ใหญ่ โซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมรองลงมาอย่าง Instagram กลับเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นมากกว่า โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรวัย 18-25 ปี ที่นิยมสื่อสารด้วยภาพถ่ายและวิดีโอการใช้ Instagram ดูจะตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ได้ดีที่สุด เพราะไม่ชอบข่าวสารที่ยืดยาว และไม่ชอบเขียนความคิดออกมาเป็น ตัวอักษร การใช้รูปภาพและวิดีโอจึงสื่อสารได้ดีกว่ามากในมุมมองของวัยรุ่นเหล่านี้ การใช้โซเชียลมีเดียของคน 2 กลุ่มหลักๆ นี้จึงต่างกันโดยสิ้นเชิงความเป็นไปของ Facebook และ Instagram อาจเป็นเหมือน Yahoo กับ Google ก็เป็นไปได้ เพราะเราไม่สามารถบอกได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า ยักษ์ใหญ่ในโลกไอทีอาจไม่ใช่ Google ไม่ใช่ Facebook แต่อาจเปลี่ยนเป็น Instagram หรือบริษัทอื่นๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในวันนี้ก็มีโอกาสเป็นไปได้ทั้งนั้นเพราะตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาเราได้เห็นแล้วว่า ไม่มีใครที่จะสามารถเป็นผู้ชนะได้ตลอด แต่วัฏจักรธุรกิจที่เกิดขึ้นจะสร้างกระแสความนิยมบางอย่างขึ้น และคนที่จับกระแสเหล่านั้น ได้ถูกที่ถูกเวลา และใช้มันให้เป็นประโยชน์ทางธุรกิจกับตัวเองให้ มากที่สุดจึงจะมีโอกาสสำาเร็จสูงที่สุดระบบนิเวศทางธุรกิจจึงมีการปรับตัวเองเพื่อสร้างสมดุลอยู่ตลอดเวลา เราจึงไม่อาจยึดติดกับหน้าที่เดิมที่ทำมานานหลายปี หรือยึดติดกับธุรกิจเดิมๆ ที่เคยสร้างกำาไรมายาวนานนับสิบปี เพราะโลกเปลี่ยนแปลงทุกวันแจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ ผู้ก่อตั้ง บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน)
คลิกอ่านฉบับเต็ม และบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนตุลาคม 2564 ในรูปแบบ e-magazine