ระบบทุนนิยม ยังไม่พัง - Forbes Thailand

ระบบทุนนิยม ยังไม่พัง

แทบทุกวันจะต้องมีคนใหญ่คนโตจากธุรกิจหรือสถาบันการเงินสักคน ออกมาป่าวร้องด้วยหน้าตายุ่งเหยิงดูราวกับเป็นเรื่องน่าเสียใจ ว่า ระบบทุนนิยม กำลังประสบภาวะวิกฤตและต้องได้รับการสังคายนาให้สามารถอยู่รอดต่อไป รวมทั้งจะต้องไม่ถูกแทนที่ด้วยแนวทางอื่นๆ ตามวิถีสังคมนิยม ความไม่เท่าเทียม

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ผลกำไรจำนวนมหาศาลของบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ ค่าจ้างที่คงที่ ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น หนี้สินเพื่อการศึกษาที่อยู่ในปริมาณน่าตกใจ ความโลภโมโทสันของตลาดหุ้นสหรัฐฯ บริษัทไฮเทคยักษ์ใหญ่ที่ร้ายกาจ และอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่ถูกแจกแจงอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นระบบที่ไร้หัวใจและไม่สามารถตอบสนองได้ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ตรงกันข้ามปัญหาได้เกิดจากนโยบายรัฐบาลที่ไร้ประสิทธิภาพ และที่แย่ไปกว่านั้นคือความเข้าใจผิดร้ายแรงเกี่ยวกับตลาดเสรี ถึงเวลาแล้วที่ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบที่ถูกมองอย่างเสียๆ หายๆ นี้ ระบบทุนนิยม ธุรกิจการค้าเสรี ตลาดเสรี หรืออะไรก็ตามที่คุณขึ้นป้ายให้กับระบบของเรา เป็นระบบที่ถูกต้องตามหลักศีลธรรม เพราะคนๆ หนึ่งจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อสามารถเติมเต็มความต้องการและความอยากของผู้คน ผู้ประกอบการพยายามค้นหาความต้องการของผู้คนเหล่านั้น โดยที่คนพวกนั้นอาจไม่ตระหนักในความต้องการที่ว่ามาก่อนจนกระทั่งผลิตภัณฑ์หรือบริการดังกล่าวออกสู่ตลาด ลองคิดถึง Steve Jobs กับ iPhone และ iPad ของเขา นักธุรกิจพยายามชักจูงให้คุณซื้อสิ่งที่เขานำเสนอ ซึ่งเป็นไปด้วยความยินยอมพร้อมใจถ้าปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล ถ้าพวกเขาทำสำเร็จ พวกเขาอาจ (เฮ้อ!) ร่ำรวยขึ้นมา ส่วนพวกเราก็มีแต่ได้กับได้มีการเพิ่มขึ้นของห่วงโซ่อุปทานที่มีความสลับซับซ้อนกว่าที่เคย ห่วงโซ่เหล่านี้ทำงานได้เป็นอย่างดีเพราะไม่มีผู้มีอำนาจหรือคนกลางมาคอยบงการ ความผิดพลาดของรัฐบาลสหรัฐฯ คือรากของปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยุคใหม่ ไม่ใช่ข้อบกพร่องอันเป็นพื้นฐานของตลาดเสรี ความตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ มีสาเหตุมาจากกฎหมายการค้า Smoot Hawley Tariff Act ที่เข้มงวด กฎหมายดังกล่าวจัดเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าหลายพันรายการเพิ่มขึ้น นำไปสู่สงครามการค้าที่สร้างความหายนะแก่เศรษฐกิจของหลายประเทศ อัตราภาษีที่สูงคือเพชฌฆาตความเติบโต ทุกครั้งที่สหรัฐฯ ดำเนินการลดภาษีครั้งใหญ่ จะเห็นเศรษฐกิจพุ่งทะยาน เศรษฐกิจที่ดีขึ้นหลังผ่านพ้นยุค Obama เป็นผลจากการลดภาษีและผ่อนคลายกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ที่มากเกินไปเป็นผลเสีย Phillip Howard ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎระเบียบอ้างถึงตัวอย่างที่เห็นได้ชัด นั่นคือสวนแอปเปิลทางตอนเหนือของรัฐ New York ที่ต้องปฏิบัติตามกฎมากถึง 5,000 ข้อ จาก 17 โปรแกรม กฎเกณฑ์พวกนี้สร้างภาระให้กับสหรัฐฯ คิดเป็นเงินถึงราว 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ผลิตแต่ละรายจะต้องจ่ายภาษีประจำปีเป็นเงิน 2,000-4,000 เหรียญต่อคนงาน 1 คน ภาระจากกฎระเบียบคิดเป็นเงิน 20,000-35,000 เหรียญ ทีนี้ไม่แปลกใจแล้วใช่ไหมว่าภาคการผลิตต้องประสบปัญหาจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ธุรกิจการค้าเสรีไม่ใช่ต้นตอหนี้เพื่อการศึกษา ผู้ร้ายคือรัฐบาล รัฐบาลเปิดตัวโครงการที่หวังว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ที่ต้องการจ่ายค่าเล่าเรียน หลักๆ ก็คือทุน Pell Grants และเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ผลการศึกษาของธนาคารกลางรัฐ New York และผู้ทำการศึกษารายอื่นๆ ยืนยันตรงกันว่ายิ่งสถาบันการศึกษาเก็บเงินผ่านโครงการเหล่านี้มากเท่าไหร่ นักเรียนก็ต้องจ่ายเงินมากขึ้นเท่านั้นบริการด้านสุขภาพราคาแพงไม่ใช่ความล้มเหลวของทุนนิยม ทางออกของปัญหานี้คือตลาดเสรี ไม่ใช่การควบคุมจากรัฐบาล บริการสุขภาพในอเมริกาเป็นระบบบุคคลที่ 3 นั่นคือรัฐบาล (หลักๆ ได้แก่ โครงการ Medicare และ Medicaid) บริษัทประกัน ตลอดจนนายจ้างรายใหญ่ ไม่ใช่ผู้บริโภค รายได้ของโรงพยาบาลขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาจะสามารถเจรจากับบุคคลที่ 3 ได้ดีเพียงใดไม่ได้อยู่ที่ว่าพวกเขาจะสร้างความพอใจให้กับคนไข้ได้มากแค่ไหน สิ่งที่บริษัทผู้ผลิตยาคิดจากค่ายานั้นเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่คุณเห็นจากใบเสร็จโรงพยาบาล ราคาที่เราต้องจ่ายนั้น มีส่วนหนึ่งที่ถูกนำไปจ่ายให้กับองค์กรจัดการระบบยา (Pharmaceutical Benefit Manager) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนขนาดใหญ่ ถ้าอยากรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องเสียเงินเท่าไหร่ในขั้นตอนนี้คงต้องใช้ความพยายามกันอย่างหนักเลยทีเดียว ในตลาดทั่วๆ ไปนั้น ถ้าคุณสร้างผลิตภาพเหนือคู่แข่ง พวกเขาจะตามทันอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ใช่ในธุรกิจการดูแลสุขภาพหรือการศึกษาขั้นสูง
คลิกอ่านบทความทางด้านธุรกิจและการลงทุนได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนกรกฎาคม 2562 ในรูปแบบ e-Magazine