Harald Link บี.กริม พลังงานเปลี่ยนโลก - Forbes Thailand

Harald Link บี.กริม พลังงานเปลี่ยนโลก

เบื้องหลังความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีทั่วโลก เกิดจากพลังงานเป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนทุกอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ให้สามารถเดินหน้าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ด้วยความเพียรพยายามสร้างความมั่นคงในพลังงานทางเลือกจากเชื้อเพลิงทดแทนเพื่อความยั่งยืนในอนาคต โดยการนำของกลุ่มบริษัท บี.กริม เจ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน

ภายใต้ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมโลกร่วมกันของนานาประเทศ ได้ทำให้ทั่วโลกต่างทุ่มเทพัฒนาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานคลื่น พลังงานความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานในอนาคตจากเชื้อเพลิงธรรมชาติที่สามารถลดมลพิษและรักษาสิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว บี.กริมทำธุรกิจบนแนวทางการพัฒนาสังคม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมุ่งมั่นเป็นผู้พัฒนาและเริ่มต้นวิธีการใหม่ตลอด เมื่อรัฐบาลเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาในธุรกิจพลังงานประมาณ 25 ปีที่แล้ว บริษัทเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีในการรวบรวมโรงงานให้อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและสาธารณูปโภคครบเพราะฉะนั้น บี.กริมจึงเข้ามาทำโรงไฟฟ้าเพราะโรงงานอุตสาหกรรมต้องใช้ทั้งไฟฟ้าและน้ำ ซึ่งหลังจากพลังงานหมุนเวียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น บี.กริมก็ขยายไปในส่วนนั้น” Harald Link ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม กล่าวถึงก้าวแรกบนเส้นทางธุรกิจพลังงาน นับตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจในปี 2421 บี.กริม ขยายอาณาจักรด้วยความมุ่งมั่น พัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม จากการริเริ่มธุรกิจปรุงยายุโรปในประเทศไทย ถึงการขุดคลองรังสิตแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นโครงการสาธารณูปโภคที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งระบบภายในอาคารและอุตสาหกรรม สุขภาพ ไลฟ์สไตล์ คมนาคม อสังหาริมทรัพย์ และเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีธุรกิจพลังงานนำทัพทำรายได้สูงสุดคิดเป็นสัดส่วนราว 75% ของรายได้รวม 4.47 หมื่นล้านบาทในปี 2562 และกำลังการผลิตประมาณ 3,019 เมกะวัตต์ ทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น กัมพูชา มาเลเซีย ลาว เวียดนาม เกาหลี ฟิลิปปินส์ โอมาน “ในธุรกิจพลังงาน บี.กริมสามารถทำได้ครบถ้วน ตั้งแต่ขอใบอนุญาตสร้างโรงไฟฟ้าและคิดแบบของโรงไฟฟ้า สร้างและบริหารตั้งแต่ต้นจนจบ เรามีพันธมิตรที่ดีในการทำธุรกิจ เช่น Amata Corporation และ WHA Corp รวมถึงคณะกรรมการบริหารที่มีความสามารถสูง และ บี.กริมยังคิดอะไรใหม่ๆ ตลอด เช่น infrastructure fund ด้านพลังงานกองแรกในประเทศ และเป็นบริษัทแรกที่ได้รับ green bonds ซึ่งออกโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย และรับรองโดย Climate Bonds Initiative
บี.กริม
Harald Link ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม
ซีอีโอฝรั่งหัวใจไทยย้ำถึงความเป็นผู้นำในธุรกิจ โดยเฉพาะการลงทุนในต่างประเทศเช่น โครงการ Dau Tieng Tay Ninh โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียนที่เมือง Tay Ninh พร้อมทั้งธุรกิจสายส่ง โดยอยู่ระหว่างสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในลาว และโรงไฟฟ้าพลังน้ำในหลายประเทศ ซึ่งเตรียมเดินหน้าขยายการลงทุนอย่างรวดเร็วหลังสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย ไม่ว่าจะเป็น ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เกาหลี มาเลเซีย บังกลาเทศ และโอมานด้วยเป้าหมายกำลังการผลิต 5,000 เมกะวัตต์ในปี 2565 และยอดขาย 1.5 แสนล้านบาท ฉลอง 150 ปี หรืออีก 8 ปีข้างหน้า พร้อมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน และสร้างประโยชน์เพื่อสังคมบี.กริมสามารถบริหารจัดการได้ดีมากในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่การติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และการวางแผนรองรับทางธุรกิจ รวมถึงการกำหนดมาตรการป้องกันหรือเฝ้าระวังพร้อมแผนดูแลสวัสดิภาพของพนักงานอย่างทั่วถึง ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือโรงพยาบาล หน่วยงานต่างๆ และผู้คนในสังคมที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 เพราะเราทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพและรักในสิ่งที่ทำ ด้วย passion ผลักดันให้ธุรกิจก้าวต่อไปและประสบความสำเร็จโดย บี.กริมยังมีธุรกิจอื่นๆ ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน รวมถึงแผนพัฒนาธุรกิจที่ดีในประเทศที่เข้าลงทุน ทำให้ บี.กริมเป็นบริษัทที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาตัวเองได้เป็นอย่างดี” สำหรับแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจพลังงานในอนาคต ยังคงนำด้วยก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเป็นหลักและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับที่อยู่อาศัยทั่วไป รวมถึงพลังงานลม และพลังงานน้ำตามลำดับ โดยในอนาคตอาจจะมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฮโดรเจน และใช้ไฮโดรเจนเดินเครื่องก๊าซ ซึ่งไฮโดรเจนและแสงอาทิตย์ถือเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่มีมลพิษเช่นเดียวกัน ขณะที่การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องยังมีความสำคัญในการสร้างการเติบโตในระยะยาว เช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำแบบไฮบริด (hydro-floating solar hybrid power) ซึ่งบี.กริมร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธรพัฒนา smart grid ระบบสายส่ง และใช้ระบบดิจิทัลด้วยการลงทุน digital transformation อย่างต่อเนื่อง รวมถึงใช้หลายเทคโนโลยีร่วมกันเป็นโรงไฟฟ้าระบบไฮบริด โดยใช้ก๊าซคอมไบน์ไซเคิลกับระบบโซลาร์แสงอาทิตย์จากธรรมชาติ ทั้งโชลาร์ฟาร์มและรูฟท็อปและระบบกักเก็บไฟฟ้า (energy storage system หรือ ESS) ร่วมกันเพื่อจ่ายไฟฟ้าให้อู่ตะเภา ซึ่งเป็นแผนพัฒนาด้านพลังงานในอนาคต สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำแบบไฮบริดโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนจากพลังงานแสงอาทิตย์ผสมผสานกับพลังงานน้ำ ทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวันร่วมกับไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อน และการนำระบบบริหารจัดการพลังงาน หรือ energy management system (EMS) บริหารจัดการพลังงานทำให้สามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง “เทคโนโลยีต้องพัฒนาทุกวัน ในอนาคตอาจจะใช้ไฮโดรเจนประมาณ 20% ของพลังงานทั่วโลก และการใช้เชื้อเพลิงเป็นพลังงานสะอาดมากขึ้น เช่น พลังงานจากต้นไม้ จากหญ้า หรือจากผลิตผลของการเกษตร ตรงนี้เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีดีแค่ไหน ราคาเป็นอย่างไร ผู้บริโภคพร้อมใช้หรือไม่ พลังงานลมและแสงอาทิตย์ไม่มีตลอด ต้องมีอะไรที่สามารถใช้ในเวลากลางคืน ซึ่ง บี.กริมก็มีโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม (industrial waste to energy) เราใช้ยางเก่า เพราะยางเก่ามีเยอะมากที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ซึ่งโรงไฟฟ้าสร้างเสร็จแล้วและกำลังอยู่ในชั้นทดสอบ” Harald ปิดท้ายถึงแนวโน้มการเติบโตด้านพลังงานที่มีโอกาสขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและสามารถลงทุนได้ในทุกประเทศทั่วโลก  
คลิกอ่านฉบับเต็ม Special Report – 7 ผู้นำธุรกิจ 7 เทรนด์เซตเตอร์ ได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนมิถุนายน 2563 ในรูปแบบ e-magazine